บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์

       1. บทความที่จะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์จะต้องเป็นผลงานใหม่ ไม่เคยนำเสนอและไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
       2. ในบทความ ผู้นิพนธ์จะต้องนำเสนอรายงานข้อมูลที่เป็นจริงที่เกิดจากการทำวิจัย ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จโดยไม่  บิดเบือนข้อมูล หรือการปลอมแปลง รวมไปถึงการตกแต่ง หรือ เลือกแสดงข้อมูลเฉพาะที่สอดคล้องกับข้อสรุป
       3. ผู้นิพนธ์จะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัยหรือต้องไม่มีการละเมิดสิทธิ์ทางปัญญา เช่น คัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
       4. หากมีการนำผลงานของผู้อื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างอิงผลงานของผู้นั้นท้ายบทความ
       5. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความ จะต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัยผลงานนั้นจริง
       6. บทความที่ส่งตีพิมพ์จะต้องจัดเตรียมต้นฉบับบทความ ให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนด ในคำแนะนำของการส่งนิพนธ์ต้นฉบับของวารสาร
       7. ผู้เขียนต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน/ระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัย (หากมี)
       8. กรณีที่ผลงานเป็นการศึกษาวิจัยและทำการทดลองในคน โดยการทดลองในคนอาจส่งผลกระทบต่อศักดิ์ศรี สิทธิ ความปลอดภัย และสุขภาวะของคน ขอให้แนบหนังสือรับรองจริยธรรมจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
       9. การอนุมัติให้ลงตีพิมพ์ขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากกองบรรณาธิการวารสาร ถือเป็นที่สิ้นสุด

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร

       1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ รอบคอบ และถูกต้อง
       2. บรรณาธิการไม่ควรจะเปิดเผยข้อมูล ในช่วงเวลาของการประเมินบทความ ทั้งข้อมูลของผู้นิพนธ์หรือผู้ประเมินบทความแก่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง เว้นแต่กรณีที่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร
       3. บรรณาธิการเป็นผู้ประเมินขั้นต้นในการตัดสินใจเลือกบทความมาลงตีพิมพ์ หลังจากบทความผ่านกระบวนการประเมินแล้ว โดยใช้เหตุผลทางวิชาการร่วมด้วย
       4. บรรณาธิการต้องม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์มาแล้ว
       5. บรรณาธิการจะไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินและทีมผู้บริหาร
       6. บรรณาธิการจะตรวจสอบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) อย่างละเอียด โดยใช้โปรแกรมที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้ผลงานที่ตีพิมพ์ลงในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น
       7. หากมีการคัดลอกผลงานของผู้อื่นบรรณาธิการจะติดต่อผู้นิพนธ์หลัก เพื่อขอคำชี้แจงในการประกอบการ ตอบรับ หรือ ปฏิเสธ การตีพิมพ์บทความนั้นๆ

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
       1. ผู้ประเมินบทความไม่ควรจะเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ บทความและผู้นิพนธ์ แก่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องในตลอดระยะเวลาของการประเมิน(Confidentiality)
       2. ผู้ประเมินบทความจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้นิพนธ์ร่วม หรือมีการรู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว ที่จะทำให้ผู้ประเมินไม่สามารถประเมินและให้ข้อเสนอแนะได้อย่างอิสระได้
        3. ผู้ประเมินบทความ ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่มีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาจากเนื้อหาของบทความ และประเมินจากความสำคัญ ความชัดเจนและความสอดคล้องของเนื้อหา โดยไม่ควรที่จะใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลทางวิชาการรองรับมาเป็นเกณฑ์
ในการตัดสินบทความ
        4. ผู้ประเมินต้องระบุผลงานวิจัยที่สำคัญและสอดคล้องกับบทความที่กำลังประเมิน ในกรณีที่ผู้นิพนธ์ไม่ได้อ้างถึง เข้าไปในการประเมินบทความด้วย นอกจากนี้ หากผู้ประเมินพบว่าบทความมีความเหมือน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานของผู้อื่น ผู้ประเมินสามารถแจ้งบรรณาธิการให้ทราบ