Login or Register to make a submission.

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced, using a 12-point font for the full English manuscript and a 16-point font for the Thai manuscript. employs italics rather than underlining (except with URL addresses), and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

Research free vector icons designed by Freepik

คำแนะนำการทำงานในระบบวารสารออนไลน์  อ่านเอกสาร

คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง คลิกอ่าน(PDF)

คำแนะนำสำหรับผู้ส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์

              วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เป็นวารสารทางการแพทย์ของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ที่พิมพ์เผยแพร่ทุก 6 เดือน มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่วิชาการทางการแพทย์และศาสตร์ที่ สัมพันธ์กับการแพทย์ของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข

        วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมายินดีรับพิจารณา นิพนธ์ต้นฉบับ รายงานผู้ป่วย บทความพิเศษ บทความฟื้นวิชา ปกิณกะ และงานวิชาการในลักษณะอื่น ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ที่ยังไม่เคยเผยแพร่ผลงานมาก่อน

        ข้อความและข้อคิดเห็นต่าง ๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้น ๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการวารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

        เนื้อหาที่จะส่งลงพิมพ์ในวารสาร ถ้าเป็นภาษาไทยจะต้องมีบทคัดย่อภาษาอังกฤษและถ้าเป็นภาษาอังกฤษ จะต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาไทยด้วย

พิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับทุก 6 เดือน

        ประเภทบทความที่รับตีพิมพ์

            นิพนธ์ต้นฉบับ  (Original article)

           เป็นรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ควรประกอบด้วยลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไปนี้ ชื่อเรื่อง  ชื่อผู้นิพนธ์ บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำสำคัญ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา วิจารณ์ ข้อยุติ กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิง ความยาวของเรื่องไม่ควรเกิน 10 หน้าพิมพ์

           บทปฏิทัศน์  (Review article)

           เป็นบทความที่รวบรวมความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจากวารสารหรือหนังสือต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศประกอบ ด้วยบทนำ วิธีการสืบค้นข้อมูล เนื้อหาที่ทบทวน บทวิจารณ์ และเอกสารอ้างอิง ความยาวของเรื่องไม่ควรเกิน 10 หน้า พิมพ์

           บทความพิเศษ  (Special article)

           เป็นบทความประเภทกึ่งบทปฏิทัศน์ กับความรู้ฟื้นวิชาที่ไม่สมบูรณ์พอที่จะบรรจุเข้าเป็นบทความชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือเป็นบทความแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวโยงกับเหตุการณ์ปัจจุบันที่อยู่ในความสนใจของมวลชนเป็นพิเศษ

           บทความฟื้นวิชา  (Refresher course)

           เสนอองค์ความรู้จำเพาะเรื่องที่นำมารื้อฟื้นเพิ่มเติมความรู้ใหม่ ๆ ทำนองเดียวกับการนำเสนอในการประชุม ฟื้นวิชา หรือการจัดอบรมแพทย์เป็นคราว ๆ ไป

            รายงานผู้ป่วย  (Case report)

        เป็นการรายงานผู้ป่วยที่ไม่ธรรมดา หรือที่เป็นโรคหรือกลุ่มอาการโรคใหม่ที่ไม่เคยรายงานมาก่อนหรือพบไม่บ่อย และต้องมีหลักฐานชัดเจนอย่างครบถ้วน บางครั้งรวมบันทึกเวชกรรม (clinical note) ซึ่งเป็นบทความรายงาน ผู้ป่วยที่มีลักษณะเวชกรรม (clinical feature) และ/หรือดำเนินโรค (clinical-course) ที่ไม่ตรงแบบ ที่พบไม่บ่อย โครงสร้าง บทรายงานผู้ป่วยประกอบด้วย บทนำ พรรณนาผู้ป่วย (case description) วิจารณ์หรือข้อสังเกตและเอกสารอ้างอิง     

        ปกิณกะ  (Miscellany)

        เป็นบทความขนาดเล็กที่เนื้อหาอาจเข้าข่าย หรือไม่เข้าข่ายบทความต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เช่น บันทึกเวชกรรม เวชกรรมทันยุค บทปริทรรศน์ รายงานผลการศึกษาวิจัยโดยสังเขป หรือรายงานเบื้องต้นก็ได้

        จดหมายถึงบรรณาธิการ (Letter to the editor) หรือจดหมายโต้ตอบ (Correspondence)

        เป็นเวทีใช้ติดต่อตอบโต้ระหว่างนักวิชาการ ผู้อ่านกับเจ้าของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ในกรณีผู้อ่านมีข้อ คิดเห็นแตกต่าง ต้องการชี้ให้เห็นความไม่สมบูรณ์ หรือข้อผิดพลาดของรายงานและบางครั้งบรรณาธิการอาจวิพากย์ สนับสนุนหรือโต้แย้ง

  1. การเตรียมต้นฉบับ

           2.1 ปกชื่อเรื่อง  (Title page)

                 ประกอบด้วย

                 2.1.1  ชื่อเรื่อง ควรสั้น กะทัดรัด และสื่อเป้าหมายหลักของการศึกษา ไม่ใช่คำย่อ ความยาวไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษร พร้อมช่องไฟ ถ้าชื่อยาวมากตัดเป็นเรื่องรอง (subtitle) ชื่อเรื่องต้องมีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ต้อง ใส่วลีน่าเบื่อ เช่น “การศึกษา…” หรือ  “การสังเกต…”

                 2.1.2  ชื่อผู้นิพนธ์ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ไม่ใช้คำย่อ) พร้อมทั้งอภิไธยสูงสุดที่ได้รับ ต่อท้ายชื่อ ไม่ใส่ตำแหน่งวิชาการ

                 2.1.3  หน่วยงานหรือสถาบันที่ผู้นิพนธ์ทำงาน

                 2.1.4  ชื่อและที่อยู่ของผู้นิพนธ์ ที่ใช้ติดต่อเกี่ยวกับต้นฉบับและบทความที่ตีพิมพ์แล้ว

                 2.1.5  แหล่งทุนสนับสนุนการศึกษา

            2.2  บทคัดย่อ (Abstract)

                 เป็นเนื้อความย่อตามลำดับโครงสร้างของบทความ ได้แก่ บทนำ วัสดุและวิธีการศึกษา ผลการศึกษาและ สรุปผลการศึกษาไม่เกิน 250 คำหรือ 15 บรรทัด ใช้ภาษารัดกุมเป็นประโยคสมบูรณ์ มีความหมายในตัวเองไม่ต้องหาความหมาย ต่อ ต้องเป็นประโยคอดีต (เฉพาะภาษาอังกฤษ) ไม่ควรมีคำย่อ ต้องเขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

                 บทคัดย่อภาษาไทยของบทความภาษาอังกฤษให้ใส่ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์เป็นภาษาไทย ไว้เหนือเนื้อความย่อ สำหรับบทคัดย่อภาษาอังกฤษของบทความภาษาไทยก็เช่นเดียวกัน ให้ใส่เรื่อง ชื่อเต็มของผู้นิพนธ์ ไว้เหนือเนื้อความย่อ

           2.3  คำสำคัญ หรือคำหลัก  (Key words)

                 ใส่ไว้ท้ายบทคัดย่อเป็นหัวข้อเรื่องสำหรับทำดัชนีเรื่อง (subject index) ของปีวารสาร (volume) และดัชนีเรื่อง สำหรับ Index Medicus โดยใช้ Medical Subject Headings (MeSH) terms ของ U.S. National Library of Medicine เป็นแนวทางการให้คำสำคัญหรือคำหลัก

           2.4  บทนำ (Introduction)

                 เป็นส่วนของบทความที่บอกเหตุผลนำไปสู่การศึกษา แต่ไม่ต้องทบทวนวรรณกรรมมากมายที่ไม่เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการศึกษา เป็นส่วนที่อธิบายให้ผู้อ่านรู้ว่าจะตอบคำถามอะไรและให้รวมวัตถุประสงค์การศึกษาเป็นร้อยแก้วในส่วนท้ายของบทนำ ไม่นิยมใส่ผลการศึกษาและสรุป

           2.5  วิธีการศึกษา  (Material and methods)

                 เขียนชี้แจงแยกเป็น  2  หัวข้อใหญ่ คือ วัสดุ และวิธีการศึกษา

                 หัวข้อวัสดุ ให้บอกรายละเอียดของสิ่งที่นำมาศึกษา อาทิ ผู้ป่วย คนปกติ สัตว์ พืช ฯลฯ รวมถึงจำนวนและ ลักษณะเฉพาะของตัวอย่างที่ศึกษา เช่น เพศ อายุ น้ำหนัก ฯลฯ  ต้องบอกถึงการขออนุญาตจากผู้ที่เข้ารับการศึกษา และผ่านการยอมรับจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมในการศึกษาสิ่งมีชีวิต ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการ ศึกษา

                 หัวข้อวิธีการศึกษา เริ่มด้วยรูปแบบ แผนการศึกษา (study design, protocol) เช่น randomized, double blind, descriptive หรือ quasi-experiment การสุ่มตัวอย่าง เช่น การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย แบบหลายขั้นตอน เป็นต้น วิธีหรือ มาตรการที่ใช้ศึกษา (interventions) เช่น รูปแบบการศึกษา การรักษา ชนิดและขนาดของยาที่ใช้ ถ้าเป็นมาตรการที่ รู้จักกันทั่วไปในเอกสารอ้างอิง ถ้าเป็นแบบใหม่อธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจแล้วนำไปใช้ต่อได้ วิธีการเก็บข้อมูล วิธีการ วิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้

           2.6  ผลการศึกษา (Results)

                 แจ้งผลที่พบตามลำดับหัวข้อของแผนการศึกษาอย่างชัดเจน ดูได้ง่าย   ถ้าผลไม่ซับซ้อนไม่มีตัวเลขมากบรรยาย เป็นร้อยแก้ว แต่ถ้าตัวเลขมาก ตัวแปรมาก ควรใช้ตารางหรือแผนภูมิโดยไม่ต้องอธิบายตัวเลขในตารางซ้ำอีกในเนื้อเรื่อง แปลความหมายของผลที่ค้นพบหรือวิเคราะห์ และสรุปเปรียบเทียบกับสมมติฐานที่วางไว้

           2.7  วิจารณ์  (Discussion)

                 เริ่มด้วยการวิจารณ์ผลการศึกษาตรงกับวัตถุประสงค์ สมมติฐานของการวิจัยหรือแตกต่างไปจากผลงานที่มี ผู้รายงานไว้ก่อนหรือไม่อย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น วิจารณ์ผลที่ไม่ตรงตามที่คาดหวังอย่างไม่ปิดบัง แล้ว จบบทความด้วยข้อยุติ บางวารสารแยกข้อยุติเป็นหัวข้อต่างหาก

           2.8    สรุปผลการศึกษา (Conclusion)

                 ผลที่ได้ตรงกับวัตถุประสงค์การวิจัยหรือไม่ ให้ข้อเสนอแนะที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ หรือให้ประเด็น คำถามการวิจัยต่อไป สรุปผลการศึกษาอาจใส่ไว้ในหัวข้อเดียวกันกับวิจารณ์ก็ได้

           2.9 ตาราง ภาพ และแผนภูมิ  (Table, illustration and diagram)

                 ควรแยกพิมพ์ต่างหากไม่ควรสอดแทรกไว้ในเนื้อเรื่อง  แต่ในเนื้อเรื่องควรเว้นที่ว่างไว้พอเป็นที่เข้าใจพร้อม กับเขียนแจ้งไว้ในกรอบว่า                                                                                                                                                                

ตารางที่ 1

หรือ

ตารางที่ 2

            2.10 กิตติกรรมประกาศ  (Acknowledgments)

                 มีเพียงย่อหน้าเดียวแจ้งให้ทราบว่า   มีการช่วยเหลือที่สำคัญจากที่ใดบ้าง เช่น ผู้บริหาร ผู้ช่วยเหลือทางเทคนิค บางอย่าง และผู้สนับสนุนทุนการวิจัย แต่การใส่ชื่อคนช่วยมาก ๆ ทำให้บทความด้อยความภูมิฐาน เพราะผู้อ่าน จะอนุมานว่างานส่วนใหญ่มีคนช่วยทั้งหมด

           2.11  เอกสารอ้างอิง  (References)

                   ดูในหัวข้อการเขียนเอกสารอ้างอิง

  1. การเขียนเอกสารอ้างอิง

           การเขียนเอกสารอ้างอิงในระบบแวนคูเวอร์ (Vancouver style) โดยใส่ตัวเลขในวงเล็บหลังข้อความหรือหลัง ชื่อบุคคลเจ้าของข้อความที่อ้างถึง โดยใช้หมายเลข 1 สำหรับเอกสารอ้างอิงอันดับแรก และเรียงต่อไปตามลำดับ ถ้าต้อง การอ้างอิงซ้ำให้ใช้หมายเลขเดิม ห้ามใช้คำย่อในเอกสารอ้างอิง ยกเว้นชื่อต้นและวารสาร บทความที่บรรณาธิการรับ- ตีพิมพ์แล้วยังไม่เผยแพร่ ให้ระบุ “กำลังพิมพ์” บทความที่ไม่ได้ตีพิมพ์ให้แจ้ง “ไม่ได้ตีพิมพ์” หลีกเลี่ยง “ติดต่อส่วนตัว” มาใช้อ้างอิง เว้นแต่ข้อมูลสำคัญมากที่หาไม่ได้ทั่ว ๆ ไป ให้ระบุชื่อและวันที่ติดต่อในวงเล็บท้ายชื่อเรื่องที่อ้างอิง

           ชื่อวารสารในการอ้างอิง ให้ใช้ชื่อย่อตามรูปแบบของ U.S National Library of Medicine ที่ตีพิมพ์ใน Index Medicus ทุกปีหรือในเว็บไซต์ http://www.nlm.nih.gov/tsd/serials /liji.html

           การเขียนเอกสารอ้างอิงในวารสารวิชาการ มีหลักเกณฑ์  ดังนี้

           3.1  วารสารวิชาการ

                 ลำดับที่.  ชื่อผู้นิพนธ์.  ชื่อเรื่อง.  ชื่อวารสาร  ปีที่พิมพ์; ปีที่: หน้าแรก-หน้าสุดท้าย.

                 วารสารภาษาไทย ชื่อผู้นิพนธ์ให้ใช้ชื่อเต็มทั้งชื่อและชื่อสกุล ชื่อวารสารเป็นชื่อเต็ม ปีที่พิมพ์เป็นปีพุทธศักราช วารสารภาษาอังกฤษใช้ชื่อสกุลก่อน ตามด้วยอักษรย่อตัวหน้าตัวเดียวของชื่อตัว และชื่อรอง ถ้ามี ผู้นิพนธ์มากกว่า 6 คน ให้ใส่ชื่อเพียง 6 คนแรก แล้วตามด้วย et al. (วารสารภาษาอังกฤษ) หรือ และคณะ (วารสารภาษาไทย) ชื่อ วารสารใช้ชื่อย่อตามแบบของ Index Medicus หรือตามแบบที่ใช้ในวารสารนั้น ๆ เลขหน้าสุดท้ายใส่เฉพาะเลขท้าย ตามตัวอย่างดังนี้

                 3.1.1 เอกสารจากวารสารวิชาการ

  1. วิทยา  สวัสดิวุฒิพงศ์, พัชรี  เงินตรา, ปราณี  มหาศักดิ์พันธ์, ฉวีวรรณ เชาวกีรติพงศ์, ยุวดี  ตาทิพย์. การสำรวจความครอบคลุมและการใช้บริการตรวจหามะเร็งปากมดลูกในสตรี  อำเภอแม่สอด  จังหวัดตาก ปี  2540. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2541; 7: 20-6.
  2. Parkin DM, Clayton D, Black RJ, Masuyer E, Friedl HP, Ivanov E, et al. Childhood Leukaemia in Europe after Chernobyl: 5 year follow-up. Br J Cancer 1996; 73: 1006-12.

                 3.1.2 องค์กรเป็นผู้นิพนธ์

  1. คณะผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย.เกณฑ์การวินิจฉัยและแนวทางการประเมินการ สูญเสียสมรรถภาพทางกายของโรคระบบการหายใจเนื่องจากการประกอบอาชีพ.  แพทยสภาสาร  2538; 24: 190-204.

                 3.1.3 ไม่มีชื่อผู้นิพนธ์

  1. Cancer in South Africa (editorial). S Afr Med J 1994; 84: 15.

                 3.1.4 บทความในฉบับแทรก

  1. วิชัยตันไพจิตร.  สิ่งแวดล้อมโภชนาการกับสุขภาพ. ใน: สมชัย บวรกิตติ, จอห์น  พี  ลอฟทัส, บรรณาธิการ. เวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม. สารศิริราช 2539; 48 (ฉบับผนวก): 153-61.

                 3.1.5 ระบุประเภทของบทความ

  1. บุญเรือง  นิยมพร, ดำรง  เพ็ชรพลาย,  นันทวัน  พรหมผลิน,  ทวี  บุญโชติ, สมชัย  บวรกิตติ, ประหยัด ทัศนาภรณ์. แอลกอฮอล์กับอุบัติเหตุบนท้องถนน (บทบรรณาธิการ). สารศิริราช 2539; 48: 616-20.
  2. Enzensberger W, Fischer PA. Metronome in Parkinson‘s disease (letter). Lancet 1996; 347: 1337.

           3.2  หนังสือ ตำรา หรือรายงาน

                 3.2.1 หนังสือหรือตำราผู้นิพนธ์เขียนทั้งเล่ม

                         ลำดับที่. ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์; ปีที่พิมพ์.

                         -   หนังสือแต่งโดยผู้นิพนธ์

  1. ธงชัย สันติวงษ์. องค์การและการบริหารฉบับแก้ไขปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช; 2535.
  2. Ringsven MK, Bond D. Gerontology and leadership skills for nurses. 2nd ed. Albany (NY): Delmar Publishers; 1996.

                         -   หนังสือบรรณาธิการ

  1. วิชาญ วิทยาศัย, ประคอง วิทยาศัย, บรรณาธิการ. เวชปฏิบัติในผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์. พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิเด็ก; 2535.
  2. Norman IJ, Redfern SJ, editors. Mental health care for elderly people. New York:Churchill Livingstone; 1996.

                 3.2.2 บทหนึ่งในหนังสือหรือตำรา

                         ลำดับที่.  ชื่อผู้นิพนธ์.  ชื่อเรื่องใน: ชื่อบรรณาธิการ.  ชื่อหนังสือ.  ครั้งที่พิมพ์.  เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์; ปีที่พิมพ์. หน้า  (หน้าแรก-หน้าสุดท้าย).

  1. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. การให้สารน้ำและเกลือแร่. ใน: มนตรี  ตู้จินดา, วินัย  สุวัตถี, อรุณ วงษ์จิราษฎร์, ประอร  ชวลิตธำรง, พิภพ   จิรภิญโญ, บรรณาธิการ.  กุมารเวชศาสตร์.  พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการ     พิมพ์; 2540. หน้า 424-7.
  2. Phillips  SJ,  Whisnant  JP.  Hypertension  and  stroke.  In:  Laragh  JH,  Brenner BM, editors. Hypertension: pathophysiology, diagnosis, and management. 2nd ed. New York: Raven Press; 1995. p.465-78.

           3.3  รายงานการประชุม สัมนา

                 ลำดับที่. ชื่อบรรณาธิการ, บรรณาธิการ. ชื่อเรื่อง.  ชื่อการประชุม; วัน เดือน ปี ประชุม; สถานที่จัดประชุม. เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์; ปีที่พิมพ์.

  1. อนุวัฒน์ศุภชุติกุล, งามจิตต์  จันทรสาธิต, บรรณาธิการ. นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข  ครั้งที่  2   เรื่อง  ส่งเสริมสุขภาพ: บทบาทใหม่แห่งยุคของทุกคน; 6-8 พฤษภาคม 2541; ณ โรงแรมโบ๊เบ๊ทาวเวอร์. กรุงเทพมหานคร: ดีไซร์; 2541.
  2. Kimura J, Shibasaki H, editors. Recent advances in clinical neurophysiology. Proceedings of the 10th International  Congress of  EMG  and  Clinical  Neurophysiology; 1995  Oct 15-19; Kyoto, Japan. Amsterdam: North-        Holland; 1992. p. 1561-5.

           3.4  รายงานการวิจัย พิมพ์โดยผู้ให้ทุน

                 ลำดับที่. ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อเรื่อง.  เมืองที่พิมพ์: หน่วยงานที่พิมพ์/แหล่งทุน; ปีที่พิมพ์. เลขที่ รายงาน.

  1. ศุภชัย  คุณารัตนพฤกษ์,  ศุภสิทธิ์  พรรณารุโณชัย.  การพัฒนากลไกการจ่ายเงินที่มีประสิทธิภาพในระบบสาธารณสุขด้วยกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม. กรุงเทพมหานคร: กองโรงพยาบาลภูมิภาค/สถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย/องค์การอนามัยโลก; 2540.
  2. Smith P,  Golladay  K. Payment  for durable  medical equipment billed during skilled nursing facility stays. Final report. Dallas (TX): Dept. of Health and Human Services (US), office of Evaluation and Inspections; 1994.         Report No. HHSIGOEI 69200860.

           3.5  วิทยานิพนธ์

                 ลำดับที่. ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อเรื่อง (ประเภทปริญญา).  ภาควิชา, คณะ. เมือง: มหาวิทยาลัย; ปีที่ได้ปริญญา.

  1. ชยมัย ชาลี.  ต้นทุนในการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลรัฐบาล:  ศึกษาเฉพาะกรณีตัวอย่าง 4  โรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต). ภาควิชาเศรษฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2530.
  2. Kaplan SJ. Post-hospitol home health care: the elderly’s access and utilization [dissertation]. St.Louis (MO): Washington Univ.; 1995.

           3.6  สิ่งพิมพ์อื่น ๆ

                 3.6.1 บทความในหนังสือพิมพ์

                         ลำดับที่.  ชื่อผู้เขียน.  ชื่อเรื่อง.  ชื่อหนังสือพิมพ์ วันเดือนปีที่พิมพ์; ส่วนที่: เลขหน้า (เลขคอลัมน์).

  1. เพลินมรกต.หมอ.หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 30 สิงหาคม 2539; 23 (คอลัมน์ 5).
  2. Lee G.  Hospitalizations  tied  to ozone pollution: study estimates 50,000 admissions annually. Washington Post 1996 Jun 21; Sect. A: 3 (col. 5).

                 3.6.2  กฎหมาย

  1. พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง 2532. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 37 พ.ศ. 2532, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 106, ตอนที่ 129. (ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2532).
  2. Preventive Health Amendments of 1993, Pub L No. 103-183, 107 Stat. 2226. (Dec 14, 1993).

                 3.6.3  พจนานุกรม

  1. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์; 2538. หน้า 545.
  2. Stedman’s medical dictionary. 26th ed. Baltimore: Williams & Wilkins; 1995 Apraxia; p.199-20.

           3.7  วีดิทัศน์

                 ลำดับที่. ชื่อเรื่อง (วีดิทัศน์).  เมืองที่ผลิต: แหล่งผลิต; ปีที่ผลิต.

  1. HIV+/AIDS: the facts and the future [videocassette]. St. Louis (MO): Mosby-Year Book; 1995.

           3.8  สื่ออิเล็กทรอนิกส์

                 3.8.1 บทความวิชาการ

                 ลำดับที่. ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร (ชนิดของสื่อ) ปีที่พิมพ์ (วัน เดือน ปี ที่ค้นข้อมูล); ปีที่ (เล่มที่): [จำนวนภาพ]. แหล่งข้อมูล.

  1. Morse SS. Factors in the emergence of infectious diseases. Emerg Infect Dis [serial online] 1995 Jan-Mar [cited 1996 Jun 5]; 1(1): [24 screens]. Available from: URL: http://www.cdc.gov/ ncidod/EID/ eid.htm

                  3.8.2 รายงานวิจัยในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

  1. CDI, clinical dermatology  illustrated  [monograph on CD-ROM]. Reeves JRT, Maibach H. CMEA Multimedia Group, producers. 2nd ed. Version 2.0. San Diego: CMEA; 1995.

                 3.8.3 แฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์

  1. Hemodynamics III:  the  up  and  down  of  hemodynamics [computer program]. Version 2.2. Orlando (Fl): Computerized Educational  Systems; 1993.

  4. ตาราง ภาพ เเละแผนภูมิ

           ตาราง ภาพและ แผนภูมิ ที่จัดทำและนำเสนอได้ครบถ้วน จะกระตุ้นความสนใจผู้อ่านบทความ และทำให้ เข้าใจเนื้อหาบทความได้รวดเร็ว   ส่วนมากผู้อ่านจะอ่านชื่อเรื่อง   บทคัดย่อ  พิจารณาตาราง  และรูปภาพก่อนจะตัดสิน ใจว่าอ่านบทความต่อไปหรือไม่

           4.1  ตาราง

                 ตารางเน้นการจัดระเบียบของคำพูด ตัวเลข และเครื่องหมายต่าง ๆ บรรจุลงในคอลัมน์ เพื่อแสดงข้อมูลและ ความสัมพันธ์ของข้อมูล โดยแนวทางการจัดทำตาราง มีดังนี้

                 -  แยกแต่ละตารางออกมาจากเนื้อหาของบทความ มีคำอธิบายสั้น ๆ แต่ได้สาระครบถ้วนของเนื้อหาตาราง

                 -  หัวคอลัมน์ เป็นตัวอธิบายข้อมูลในคอลัมน์ ควรจะสั้นหรือย่อ ๆ และอธิบายรายละเอียดในเชิงอรรถ (footnote) ให้ตาราง

                 -  แถว (rows) เป็นข้อมูลที่สัมพันธ์กับคอลัมน์ หัวแถว (row headings) ใช้เป็นตัวเอียงจะทำให้เด่นขึ้น

                 -  เชิงอรรถจะเป็นคำอธิบายรายละเอียดที่บรรจุในตารางได้ไม่หมด ไม่ควรใช้เลขกำกับเพราะอาจทำให้สับสน กับเลขกำกับของเอกสารอ้างอิง ให้ใช้เครื่องหมายตามลำดับนี้ * T ∓ ¶ § II

                 -  เมื่อผู้อ่าน อ่านตารางแล้วควรเข้าใจได้สมบูรณ์ โดยไม่ต้องหาความหมายเพิ่มเติมในบทความ ดังนั้น ชื่อ ตารางควรสั้น ได้ใจความ คอลัมน์เรียงลำดับความสำคัญ (เวลาที่ศึกษา การดำเนินโรค) จากซ้ายไปขวา เรียงลำดับของ แถวจากบนลงล่าง

                 -  บทความหนึ่งเรื่องควรมีตารางไม่เกิน 3-5 ตาราง หรือเนื้อหา 1,000 คำ 1 ตาราง  ถ้ามีตารางมากจะทำให้การจัดหน้ายากลำบากใช้เวลามากและสิ้นเปลือง ถ้าผู้นิพนธ์มีข้อมูลมาก ให้เลือกเฉพาะข้อมูลที่สำคัญนำเสนอเป็น ตารางในบทความ อาจจะมีข้อมูลตารางอื่น ๆ แยกไว้ ถ้าผู้อ่านสนใจจึงจะส่งให้

                 -  ต้องขออนุญาต และแสดงความขอบคุณ กรณีนำข้อมูลในตารางมาจากบทความของผู้อื่น

           4.2  ภาพและแผนภูมิ

                 ภาพและแผนภูมิจะสื่อความหมายให้ชัดเจน เน้นจุดสำคัญ และมีประสิทธิภาพ มีแนวทางดังนี้

                 -  ภาพหรือแผนภูมิ ต้องคมชัด เป็นภาพขาว-ดำ ภาพสีไม่ควรใช้เพราะสิ้นเปลือง และภาพสีจะตีพิมพ์ไม่ชัดเจน

                 -  ขนาดทั่วไปใช้ 5x7 นิ้ว ไม่ควรใหญ่เกิน 8x10 นิ้ว ไม่ตัดขอบ ไม่ติดกับกระดาษรองไม่เขียนรายละเอียด หลังรูปภาพ ไม่ม้วนภาพ ควรทำเครื่องหมายเล็ก ๆ ไว้ที่ขอบรูปภาพ และเขียนคำอธิบายไว้ต่างหาก บรรณาธิการจะ เป็นผู้เขียนชื่อเจ้าของเรื่อง ชื่อเรื่องไว้หลังรูปภาพทันทีที่ได้รับต้นฉบับ เพื่อป้องกันการสับสน ที่ไม่แนะนำให้เจ้าของ เรื่องเขียนหลังภาพเพราะอาจเขียนมือหนักเกินไป ทำให้รอยเขียนปรากฏทางด้านหน้าภาพ และคุณภาพของรูปสีเสีย ไป

        - สำหรับตัวอักษรในภาพ ให้ใช้ขนาด 6-12 พอยต์ ด้วยฟอนต์ Univers, Arial หรือ Helvetica ที่มีการฝังฟอนต์ไว้  และไม่ควรใส่หมายเลขหรือตัวอักษรกำกับลงในภาพโดยตรงทั้งนี้เพื่อให้สามารถปรับแต่งและจัดรูปแบบไฟล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            4.3 สำหรับการส่งไฟล์กราฟิกเวคเตอร์  เช่น กราฟต่างๆ  สามารถส่งไฟล์เวกเตอร์ประเภท .eps, .pdf และ .svg  โดยแนะนำให้บันทึกจากโปรแกรมต้นฉบับโดยตรง นอกจากนี้ยังรับไฟล์จาก PowerPoint, Word หรือ Excel แต่ขอให้หลีกเลี่ยงการฝัง วางภาพ หรือแปลงภาพเวคเตอร์เป็นรูปถ่าย ส่วนกรณีภาพถ่าย ควรมีความละเอียดอย่างน้อย 300 dpi ที่ขนาดสุดท้าย (100%)

 5. การส่งต้นฉบับ

        ต้นฉบับที่ส่งให้บรรณาธิการ

        พิมพ์หน้าเดียวบนกระดาษสั้นขนาด เอ 4 ไม่เกิน 10 หน้า ใส่เลขหน้าที่หน้าปกชื่อเรื่อง เรียงตามลำดับ ที่มุมขวาหรือล่างของ ขอบกระดาษ พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word ด้วยรูปแบบอักษร TH Sarabun New ขนาด 16 ตัวอักษรต่อนิ้ว

        เมื่อบรรณาธิการได้รับต้นฉบับไว้จะแจ้งกลับให้ผู้นิพนธ์ทราบว่า ให้แก้ไขก่อนพิจารณาตีพิมพ์ รับพิมพ์โดย ไม่แก้ไข หรือไม่ได้รับพิจารณาตีพิมพ์ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน 2 ท่าน

        บทความที่ไม่ได้รับพิจารณาตีพิมพ์ จะไม่ส่งต้นฉบับคืน

        บทความที่ได้รับตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้นิพนธ์ทราบ

          ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม นางสาวอารียา ศรีคำวัง ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบบริการ ชั้น 7อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

โทร. 0-4423-5724