การประเมินผลเบื้องต้นการวิจัยและพัฒนาศูนย์แพทย์ชุมชนเมือง โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

Wichai Khattiyawitayakul
Rujira Mungkalasiri
Thanapong Jinwong

Abstract

บทคัดย่อ: ทำการประเมินผลเบื้องต้น การดำเนินงานวิจัยและพัฒนาศูนย์แพทย์ชุมชนเมืองนครราชสีมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเปิดดำเนินการเมื่อ 9 กันยายน 2536 ตำบลหัวทะเล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา รับผิดชอบประชากรราว 6,500 คน เป็นการประเมินผลเปรียบเทียบผลการดำเนินการระหว่างช่วง 1 ปีแรก (ก.ย. 36 – ส.ค. 37) กับช่วงครึ่งปีที่สอง (ก.ย. 37-มี.ค. 38) ในด้านผลงานการให้บริการ คุณภาพในการจัด บริการและการส่งต่อผู้ป่วย จากนั้นเป็นการวิเคราะห์ถึงความพึงพอใจของผู้มารับบริการ พฤติกรรมการใช้บริการสาธารณสุขของประชาชนในเขตรับผิดชอบเมื่อเกิดเจ็บป่วย และค่าใช้จ่ายในการมารับการรักษาที่ศูนย์แพทย์ในช่วงปีแรก


            พบว่า ผลงานการให้บริการของศูนย์แพทย์เพิ่มขึ้นในปีที่สอง คือ ผู้ป่วยนอกมารับบริการเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 13 ครั้ง/วัน (ในเวลาราชการ) มีอัตราการใช้บริการของประชาชนในเขตรับผิดชอบเพิ่มขึ้นจาก 0.97 ครั้ง/ปี ในปี 2537 เป็น 1.05 ครั้ง/ปี ในปี 2538 อัตราความครอบคลุมประชากรในเขตโดยนับจำนวนผู้มารับบริการรายใหม่ต่อประชากรทั้งหมดในเขตเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 30.8 เป็นร้อยละ 40.6 มีผู้ที่มีสิทธิการรักษาพยาบาลประเภทต่าง ๆ ทุกประเภท เช่น ข้าราชการ ผู้มีบัตร สปร. ผู้มีบัตรสุขภาพ และผู้ที่ไม่มีสิทธิด้านการรักษาพยาบาลใด ๆ มาใช้บริการที่ศูนย์แพทย์ในอัตราที่สูงขึ้น ศูนย์แพทย์ชุมชนเมืองนครราชสีมายังมีคลินิกโรคเรื้อรังที่ดูแลผู้ป่วยเชิงรับและเชิงรุก ไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วยดังกล่าวได้ครอบคลุมเพิ่มมากขึ้นในทุกโรคในปีที่สอง ศูนย์แพทย์ชุมชนเมืองสามารถดูแลครอบคลุมกลุ่มเสี่ยงได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ เด็ก 0-1 ปี มารดาหลังคลอด และทารกแรกเกิดได้เพิ่มขึ้นในปีที่สอง โดยเฉพาะในมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิด มารับบริการเพิ่มจนครบ 100% ของเป้าหมายในด้านความต่อ เนื่องของบริการนั้น ปริมาณของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับบริการอย่างสม่ำเสมอทั้ง 2 ช่วง มีจำนวนสูงมากมีจำนวนใกล้เคียงคือ โรคเบาหวานราวร้อยละ 97% โรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 88-89 วัณโรคร้อยละ 100 ในด้านอัตราการส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลมหาราช นั้นปรากฏว่าลดลงจากร้อยละ 86 เป็น 74 ซึ่งต้องประสานงานและปรับปรุงต่อไป ส่วนความครบถ้วนของข้อมูลและการวินิจฉัยโรคของผู้ป่วยที่ส่งต่อนั้น ปรากฏว่า ส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 90 ถูกต้องและครบถ้วนทั้ง 2 ช่วง


            ด้านความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการที่ศูนย์แพทย์ในช่วงปีแรกนั้น จากการสัมภาษณ์ที่ศูนย์แพทย์พบว่า พึงพอใจต่อผลการรักษาร้อยละ 96 โดยเหตุผลส่วนใหญ่ว่า เพราะความเป็นกันเองและรวดเร็ว ขณะเดียวกันเมื่อไปสุ่มสัมภาษณ์จากชาวบ้านในเขตรับผิดชอบก็พบว่า ผู้ที่เคยมาใช้บริการแล้วถึงร้อยละ 96.4 จะมาใช้บริการอีก ขณะที่ผู้ที่ไม่เคยมาถ้าเจ็บป่วยจะมาใช้บริการร้อยละ 75 ด้านพฤติกรรมการใช้บริการเมื่อเจ็บป่วย ประชาชนในชุมชนนั้นร้อยละ 46 มาใช้บริการที่ศูนย์แพทย์ ขณะที่ไปใช้บริการที่คลินิกเอกชน, ร้านขายยา, โรงพยาบาลเอกชนและโรง-พยาบาลมหาราช ร้อยละ 17, 10, 11, 10 ตามลำดับ เหตุผลของผู้ป่วยที่ไม่มาใช้บริการที่ศูนย์แพทย์นั้นส่วนใหญ่ที่ออกความเห็นให้เหตุผลว่า เนื่องจากไม่สะดวกเรื่องเวลา จึงทำให้มีการจัดให้บริการตรวจรักษาที่ศูนย์แพทย์นอกเวลาในปีที่สอง ประเด็นสุดท้ายคือ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ปรากฏว่า ค่าเฉลี่ย ค่าบริการที่เก็บจากผู้มารักษาโรคทั่วไปคือ 61.00 บาท ขณะที่ทุน unit cost ของบริการทุกประเภทคือ 72 บาท แสดงว่า ศูนย์แพทย์ให้บริการในราคาต่ำกว่าทุน การให้บริการของศูนย์แพทย์ชุมชนเป็นโครงการวิจัย เพื่อให้ศูนย์แพทย์เป็นด่านแรกที่ดูแลรักษาขั้นต้น (primary care) แก่ประชาชนในพื้นที่เขตเมือง เพื่อลดความคับคั่งของผู้ป่วยที่มาที่โรงพยาบาลมหาราช และทำให้เกิดการบริการสาธารณสุขที่เบ็ดเสร็จ ผสมผสานเป็นองค์รวม ต่อเนื่องทั้งเชิงรุกและเชิงรับ อันจักต้องพัฒนารูปแบบการดำเนินการต่อไป

Article Details

How to Cite
Khattiyawitayakul, W., Mungkalasiri, R., & Jinwong, T. (2024). การประเมินผลเบื้องต้นการวิจัยและพัฒนาศูนย์แพทย์ชุมชนเมือง โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. Maharat Nakhon Ratchasima Hospital Journal, 19(2), 237–258. retrieved from https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/2299
Section
Articles

References

รายงานประจำปี 2537 ศูนย์แพทย์ชุมชนเมืองโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

รายงานโครงการวิจัยและพัฒนาศูนย์แพทย์ชุมชนเมือง โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา (ตุลาคม 2537-มีนาคม 2536)

ดร.สมชาย ดุรงค์เดช, นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล รายงานการประเมินผลกิจกรรมการให้บริการของศูนย์แพทย์ชุมชนเมือง โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

เวชปฏิบัติทั่วไปกับระบบบริการสาธารณสุขที่พึงประสงค์ ศูนย์ประสานงานการแพทย์และสาธารณสุข สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

องค์รวมแห่งสาธารณสุข : ภูมิปัญญาจากการวิจัยระบบสาธารณสุข โครงการวิจัยอยุธยาและสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข