การตายของเด็กที่รับไว้ในหอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม ที่มีการติดเชื้อในโรงพยาบาลร่วมด้วย โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
Abstract
ได้ศึกษาการตายของผู้ป่วย ที่รับไว้รักษาในหอผู้ป่วยหนักของกลุ่มงานกุมารเวชกรรมเป็นระยะเวลา 1 ปี (1 มกราคม 2534 – 31 ธันวาคม 2534) พบว่ารับผู้ป่วยเด็กหนักไว้รักษาจำนวน 253 ราย จำหน่าย 192 ราย ถึงแก่กรรม 80 ราย เป็นอัตราตายร้อยละ 31.6 มีการติดเชื้อในโรงพยาบาล (nosocomial infection) ร่วมด้วย ร้อยละ 29.7 ผู้ป่วยตายจากการติดเชื้อในโรงพยาบาลร่วมด้วยร้อยละ 43.7 ของผู้ป่วยตายทั้งหมด โรคที่ทำให้ผู้ป่วยตายมากที่สุด คือ โรคของระบบหายใจส่วนล่าง ได้แก่ pneumonia และสาเหตุตายโดยตรงที่พบมากที่สุด ได้แก่ respiratory failure ผู้ป่วยหนักทุกรายมีการใช้เครื่องช่วยหายใจ และมีการสอดใส่ endotrachial tube ดังนั้นการติดเชื้อทางเดินของระบบหายใจส่วนล่าง จึงเป็นปัญหาสำคัญ แหล่งติดเชื้อมาจากเครื่องมือ เครื่องช่วยหายใจ และขบวนการในการดูแลผู้ป่วย ควรมีการเฝ้าระวังและควบคุมการใช้อุปกรณ์ รวมทั้งพัฒนาบุคลากรด้านวิชาการและการรักษาพยาบาลให้ดีขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Somwang Danchaivijitr, Silbenja Waitayapiches:Prevalence of Nosocomial Infections in Sidral Hospital 1983-1986. J. Med Assoc Thai, July 1988; VOL.71 SUPPL3:5-9.
ลักขณา จิตรีเชื้อ;Nosocomial Infection in Troumatic Intensive Care Unit 1989-1990 Siriraj Hospital. จุลสารชมรมควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย. May - August 1991, VOL.1, 35-40.
แพทย์หญิงวรพันธุ์ พิไชยแพทย์, แพทย์หญิงวิมลมาลย์ พงษ์ฤทธิ์ศักดา, จำเนียร กองแก้ว: โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลของกลุ่มงานกุมารเวชกรรม, โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, เวชสารโรง พยาบาลมหาราชนครราชสีมา 1 มกราคม-เมษายน 2535; 16:1-7