มดลูกแตก : ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

เรืองศักดิ์ ตั้งชีวินศิริกุล
นิภาภรณ์ ลิ้มพงศานุรักษ์
สมชาย ธนารักษ์

Abstract

สภาวะมดลูกแตกในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2521 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2531 พบ 26 ราย จากการคลอดทั้งหมด 103,971 ราย คิดเป็นอุบัติการ 1 : 4,000 การคลอด ค้นประวัติผู้ป่วยได้ 15 ราย ทั้ง 15 ราย อายุมากกว่า 25 ปี, ร้อยละ 80 อายุมากกว่า 30 ปี ทั้ง 15 ราย เป็นผู้ป่วยครรภ์หลัง, ร้อยละ 66.7 ตั้งครรภ์ตั้งแต่ครรภ์ที่ 4 ขึ้นไป, ร้อยละ 40 ไม่เคยได้รับการตรวจครรภ์ในการตั้งครรภ์ครั้งนี้ สาเหตุของสภาวะมดลูกแตกมากที่สุด คือการทำสูติศาสตร์หัตถการ; สาเหตุอื่นได้แก่ ขนาดของทารกโตหรือขนาดของมดลูกโตมากผิดปกติ ร่วมกับความผิดปกติของส่วนนำหรือท่าของทารกในครรภ์, Placenta increta, Rupture uterus, bicornis unicollis, และการให้ Oxytocin ตามลำดับ ทำการรักษาโดยแก้ไขสภาวะช๊อคและตัดมดลูกด้วยวิธี Total หรือ Subtotal hysterectomy. ผู้ป่วยมดลูกแตกมาจากบ้านหรือส่งต่อมาจากโรงพยาบาลชุมชนได้เลือดอย่างน้อย 3µ ต่อราย เมื่อเทียบกับผู้ป่วยมดลูกแตกในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ได้เลือดน้อยกว่า 3µ ต่อราย ผู้ป่วยพักรักษาในโรงพยาบาล 7 วันต่อราย ไม่พบมารดาเสียชีวิต อัตราของทารกร้อยละ 73.3

Article Details

How to Cite
ตั้งชีวินศิริกุล เ., ลิ้มพงศานุรักษ์ น., & ธนารักษ์ ส. (2024). มดลูกแตก : ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. Maharat Nakhon Ratchasima Hospital Journal, 12(2), 75–86. Retrieved from https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/2323
Section
Articles

References

Pritchard, Macdonald, Gant. Williams obstetrics ; Seventeenth edition, Appleton - Century - Crorts : 1985 , P 098

P.R. Myerscough. Munro Kerr's operative obstetrics ; Tenth edition, Bailliere Tindall, London : 1982 , P. 441

Denis Cavanagh , Ralpme. Woods. Hemorrhage in late pregnancy. Obstetric Emergencies; Third edition 1982 , P.200

David B. Cotton , M.D. Infant survival with prolonged uterine rupture. Am J obstet gynecol 1982 April ; Vol 142 (No 8): P 1059-60

Clamanp , Carpenter RJ , Reiter A. Uterine rupture with the use of vagina prostaglandin E2 for induction of laeor. Am. J. obstet gynecol.1984 Dec 1;150(7): p889-90

Stepmen H. Cruikshank . M.D. Management of postpartum and pelvic Hemorrhage. Clinical obstetrics and gynecology , June 1986 ; Vol 29, No 2 P. 213

Warrer M.Crosby , M.D. Traumatic injuries during pregnancy. Clinical obstet gynecol 1983 ; Vol 26 : No 4 , P 902

แผนพัฒมาการสาธารณสุข ตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ฉบับที่ พ.ศ. 2530 - 2534 ; โดยคณะกรรมการวางแผนสาธาธารณสุข

U.Ezem , J.A. Otubu , and B. Barnes, Rupture of the Pregnant uterus. Asia - oceania J. obstet gynecol ; Vol No 9 : 2 : 163 - 167 June 1983

Laura J. Zuidema , M.D. , Jomn W. Goldkrand . M.D., and bruce A. Work , Jr., M.D. Uterine contractility of ter rurture of the Gravid uterus :a case report. Am J obstet gynecol ; No 15 , P 783 - 784 , 1984.

G Molloy , O Sheil , N M Duignan. Delivery after caesarean section : Review of 2176 Consecutive cases. British medical journal : Vol 294 : P 1645 , 27 June 1987

Warren C., Plauche , William von almen , Robert muller Catastrophic uterine rupture, Obstet. Gynecol ; Vol. 64 No. 6 : December 1984.

Daniel C.Schrinsky , Ralph C., Benson. Rupture of the pregnant uterus : A review. Obstet. Gynecol survey ; VoI 33 , No 4 : P 217-232 Copyright 1978 by the Williams & Wilicins co.