การศึกษาระบาดวิทยาคลินิกของผู้ป่วยโรคลมชัก ที่มารับการรักษาที่คลินิกผู้ป่วยนอกอายุรกรรม โรงพยาบาลมหารารารราชสีมา จำนวน 375 ราย

Main Article Content

ธนินทร์ อัศววิเชียรจินดา

Abstract

ได้ทำการศึกษาผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชัก ที่มารับการรักษาที่คลินิกผู้ป่วยนอกอายุรกรรม รพ.มหาราช จังหวัด นครราชสีมา ตั้งแต่ เดือน มกราคม-ธันวาคม พ.ศ. 2538 จำนวน 375 ราย พบว่า เป็นผู้ป่วยโรคลมชักจริง โดยอาศัยการซักประวัติ และการสังเกต 360 ราย เป็นผู้ป่วยที่เกิด จากเป็นลมหมดสติ 9 ราย เป็นผู้ป่วยทางด้านจิตใจที่มีอาการหายใจหอบ 6 ราย ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชักจริง ส่วนใหญ่เป็นชาย (ร้อยละ 65 ) อายุตั้งแต่ 15-81 ปีอายุเฉลี่ย 33 ปี อายุที่เกิดอาการชักครั้งแรกส่วนใหญ่อายุน้อยกว่า หรือเท่ากับ 25 ปี (ร้อยละ67 ) ความถี่ของการชักพบได้ตั้งแต่ 1 ครั้งปี ถึง 10 ครั้ง/ วัน (เฉลี่ย 13 ครั้ง/เดือน ) ระยะเวลาในการรักษาตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 50 ปี (เฉลี่ย 6.3 ปี) ประวัติไข้สูง แล้วชักในเด็ก พบได้ ร้อยละ 11 และส่วนใหญ่สัมพันธ์กับการชักครั้งแรกที่อายุน้อยกว่า 15 ปี ชนิด ของการชักร้อยละ 63 เป็นชักทั้งตัว ร้อยละ 37 เป็นชักบางส่วน สาเหตุของการชัก ร้อยละ 91 ไม่ทราบสาเหตุ ร้อยละ 20 ถูกวินิจฉัยชนิดของการชักผิด ได้ตรวจวินิจฉัยโดยคลื่นไฟฟ้า ร้อยละ 7.5 และตรวจด้วยคอมพิวเตอร์สมอง ร้อยละ 2.7 การรักษา ร้อยละ 82 ได้รับยากันชักเพียงตัวเดียว ร้อยละ 66 สามารถควบคุมการชักได้

Article Details

How to Cite
อัศววิเชียรจินดา ธ. (2025). การศึกษาระบาดวิทยาคลินิกของผู้ป่วยโรคลมชัก ที่มารับการรักษาที่คลินิกผู้ป่วยนอกอายุรกรรม โรงพยาบาลมหารารารราชสีมา จำนวน 375 ราย. Maharat Nakhon Ratchasima Hospital Journal, 20(3), 277–284. retrieved from https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/2639
Section
Articles

References

Senanayake N ,& Roman G.C. Epidemiology of epilepsy in developing counties.WHO Bulletin OMS 1993 ; 71 ( 2) : 247-258 .

Chadwick D . Epilepsy Journal of Neurology, Neurosurgery, and Psychiatry 1994 ; 57 264-277.

Hauser W.A. & Kurland L.T. Epidemiology of epilepsy in Rochester, Minnesota, 1935-1967. Epilepsia 1975 ; 16:1-66

Keranen T, & Riekkinen P, Severe epilepsy : Diagnostic and epidemiological aspects. Acta Neurol Scand 1990 ; 7-14 .

กัมมันต์ พันธุมจินดา , ลมชัก ใน : หนังสือการอบรมอายุรศาสตร์ระยะสั้น เรื่อง Rationale and roversy in Medical Management กทม ภาควิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย 2532 1-12

Haerer A.F. et al. Prevalence and Clinical Features of Epilepsy in a Biracail United States Population . Epilepsia 1986;27(1):66-75

Osuntokun B.O. et al Prevalence of the Epilepsies in Nigerian Africans: A Community-Based Study . Epilepsia 1987 : 28 ( 3 ) : 272-279

Lesser R. P. The role of epilepsy centers in delivering care to patients with intractable epilepsy . Neurology 1994 ; 44 : 1347-1352.