การติดตามประเมินผลหลักสูตรและผู้สำเร็จจากหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติทางตา ศูนย์จักษุสาธารณสุข โรงพยาบาลมหาราชนครรราชสีมา พ.ศ. 2537
Main Article Content
Abstract
การติดตามประเมินผลหลักสูตรและผู้สำเร็จจากหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติทางตาครั้งนี้ เป็นการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรว่าเป็นตามเป้าหมายและตรงกับความต้องการของสังคมในภาวะปัจจุบันเพียงใด โดยการสอบถามความคิดเห็นของผู้สำเร็จเกี่ยวกับการได้รับความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ การนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานพร้อมกับสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้ผลผลิต คือ หัวหน้าฝ่ายการพยาบาลและจักษุแพทย์เกี่ยวกับความรู้ความสามารถและการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติทางตาที่สำเร็จการอบรมจากศูนย์จักษุสาธารณสุข โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมารุ่นที่ 13-29 จำนวน 177 คน ซึ่งกลับไปปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลต้นสังกัดในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 6 เดือน ได้รับแบบสอบถามตอบกลับจากพยาบาลเวชปฏิบัติทางตา ตามกำหนดเวลา 147 คน คิดเป็นร้อยละ 83.07 การตอบกลับจากหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลจำนวน 66 คน ร้อยละ 89.19 และได้รับการตอบกลับจากจักษุแพทย์ผู้ร่วมงานใกล้ชิดกับพยาบาลเวชปฏิบัติทางตาจำนวน 65 คน คิดเป็นร้อยละ 91.55 นำข้อมูลที่ได้มาทำการแจงนับ จัดหมวดหมู่หาค่าร้อยละ และทดสอบความแตกต่างของความรู้ความสามารถของพยาบาลเวชปฏิบัติทางตา ก่อนและหลังการอบรมซึ่งประเมินโดยหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล
ผลการประเมินสรุปว่า ความคิดเห็นของผู้สำเร็จการอบรมเกี่ยวกับการได้รับความรู้จาก 3 หมวดวิชาหลัก และ 1 หมวดวิชาเสริม มีความสอดคล้องกับการนำความรู้ไปใช้เป็นส่วนใหญ่ และมีบางส่วนที่เห็นว่าไม่สอดคล้องเนื่องจากต้องปฏิบัติงานประจำบางจุดเท่านั้น เช่นพยาบาลประจำที่หอผู้ป่วย ห้องผ่าตัดหรือห้องตรวจผู้ป่วยนอก โดยเฉพาะในโรงพยาบาลศูนย์สำหรับเนื้อหาแต่ละวิชาส่วนใหญ่เห็นว่ามีความเหมาะสมดีแล้ว ผู้เข้าอบรมร้อยละ 94.60 ได้กลับไปปฏิบัติงานในกลุ่มงานจักษุวิทยา
กลุ่มผู้สำเร็จที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทั่วไปส่วนใหญ่ได้ทำงานตามเป้าหมายของหลักสูตรโดยเฉพาะพยาบาลประจำการซึ่งมีถึงร้อยละ 94.60 ได้มีโอกาสหมุนเวียนปฏิบัติงานระหว่าง 2-3 หน่วยงานและได้ปฏิบัติกิจกรรมครอบคลุมตามเป้าหมายของหลักสูตร ทั้งยังต้องรับผิดชอบเกินกว่าหลักสูตรได้กำหนดไว้ในบางรายส่วนใหญ่ของกลุ่มนี้ร้อยละ 65.30 ได้นำความรู้ด้านการดูแลผู้ป่วยโรคตามาใช้มากรองลงมาคือได้นำความรู้ด้านการตรวจวินิจฉัยโรคตาเบื้องต้นไปใช้มากคิดเป็นร้อยละ 40.80 ด้านผู้ใช้ผลผลิตพบว่าส่วนใหญ่ของทั้ง 2 กลุ่ม มีความเห็นว่าผู้สำเร็จมีความสามารถดีและต้องการให้มีการอบรมต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ขวัญตา เกิดชูชื่น และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่องการติดตามประเมินผลหลักสูตรและผู้สำเร็จจากหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติทางตา, ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปัทมา วาจามั่น. ความสามารถทางการพยาบาล ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน ในกลุ่มงานจักษุวิทยาของประเทศไทย วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2534.
Allen Evaluation of educational programmes in nursing. World Health Organization, U.K.1977.
สุมิตร คุณานุกร. การประเมินหลักสูตร หลักสูตรและการสอน. รายงานการประชุมสัมนาเรื่องการพัฒนาหลักสูตร ภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 27 - 29 สิงหาคม โรงแรมเอเซีย กทม. ; 2529. หน้า 57 - 71.
วิชัย วงษ์ใหญ่. การพัฒนาหลักสูตรแบบครบวงจร. รายงานการประชุมสัมมนา เรื่องการพัฒนาหลักสูตร ภาควิชาสุขศึกษา และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 27 - 29 สิงหาคม โรงแรมเอเซีย กทม. ; 2529. หน้า 29 - 44.
วิลาวรรณ พันธุ์พฤกษ์ และสุนันท์ สังวรวงษ์พนา. รายงานการวิจัยเรื่อง องค์ประกอบที่มีผลต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น (15) 1, 2535. หน้า 40 - 45.
Katz, F.M. Guideline for Evaluation a Training programme for health Personnel Health Organization. Genxeva ; 1978.
ยุวดี ฤาชา และคณะ. คู่มือวิจัยทางการพยาบาล โครงการตำราภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะเเพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พิมพ์ครั้งที่ 2 กทม. : วิตอรีเพาเวอร์พอยท์. 25
คณะอนุกรรมการการศึกษาและวิจัยทางการศึกษาพยาบาล. รายงานผลการวิจัยเรื่อง สมรรถภาพของ พยาบาลวิชาชีพ. ศูนย์ประสานงานการศึกษาพยาบาล, 2529.
ทองจันทร์ หงส์ลดารมณ์. (2524) ข้อคิดในการพัฒนาหลักสูตรการแพทย์. การพัฒนาหลักสูตรระดับ อุดมศึกษา. ไพฑูรย์ สินวารัตน์ และ บุญรอด ลาภะสัมปันโน (บรรณาธิการ) กรุงเทพฯ หน่วยพัฒนาคณาจารย์ ฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2524) การประเมินหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. ไพฑูรย์ สินวารัตน์ และ บุญรอด ลาภะสัมปันโน (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : หน่วยพัฒนาคณาจารย์ฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524.
จินตนา ยูนิพันธ์. (2527) การเรียนการสอนทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1 กทม.
พนม สนิทประชากร. โครงการป้องกันตาบอดและควบคมสายตาพิการประเทศไทย ความเป็นมาผลงานและความก้าวหน้า. "จักษุสาธารณสุข ปีที่ 5 ฉบับที่ 2, 2534. หน้าที่ 119 - 130.
Konyama. K. (2533) Guideline for programme evaluation and Monitoring. WHO Geneva: p 369.
อนันต์ ศรีโสภา. (2525) การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3 กทม : บริษัทสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.