ข้อมูลวารสาร (Information)

       วารสารการสาธารณสุขทุติยภูมิ จัดทำขึ้นโดยงานพัฒนาวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม โรงพยาบาลราษีไศล เพื่อเป็นช่องทางการเผยแพร่ตีพิมพ์ผลงานการจัดการองค์ความรู้ ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข ของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เป็นสื่อกลางเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านระบบสุขภาพกับภาคีองค์กร รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เปิดรับบทความวิชาการทั้งภายในและภายนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมผลงานวิชาการและผลงานวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข โรงพยาบาลราษีไศลและหน่วยงานสาธารณสุขภายนอกองค์กร
  2. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยของนักวิชาการ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
  3. เพื่อจัดให้มีวารสารวิชาการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
  4. เพื่อประชาสัมพันธ์ผลงานของงานพัฒนาวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม โรงพยาบาลราษีไศลและหน่วยงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร

คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์

 วารสารวารสารการสาธารณสุขทุติยภูมิ พิมพ์เผยแพร่บทความทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยรับบทความเป็นภาษา ไทยหรือภาษาอังกฤษ

1.ประเภทบทความ

วารสารวิชาการสาธารณสุขเปิดรับบทความทางวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยแบ่งเป็น ประเภทต่างๆ ดังนี้

นิพนธ์ต้นฉบับ (original article) เป็นรายงานผลการศึกษา ค้นคว้าวิจัย ควรประกอบ ด้วยลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไปนี้ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ คำย่อ ปริญญา สถานที่ทำงาน บทคัดย่อ และคำสำคัญ ทั้งภาษา ไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา วิจารณ์ กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง  ความยาวของเรื่องไม่ควรเกิน 10 หน้าพิมพ์

บทความฟื้นวิชา (review article) เป็นบทความที่ทบทวนหรือรวบรวมความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจากวารสารหรือหนังสือต่างๆทั้งในและต่าง ประเทศ ลักษณะของบทความประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อ ผู้นิพนธ์ คำย่อปริญญา สถานที่ทำงาน บทคัดย่อและคำสำคัญ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษบทนำ วิธีการสืบค้นข้อมูลเนื้อหาที่ทบทวนบทวิจารณ์และเอกสารอ้างอิงอาจมีความเห็นของผู้รวบรวมเพิ่มเติมด้วยก็ได้ความยาวของเรื่องไม่ควรเกิน 10 หน้าพิมพ์

บทความพิเศษ (special article) เป็นบทความแสดงข้อคิดเห็นหรือประสบการณ์ด้านการแพทย์และสาธารณสุขเกี่ยวโยงกับเหตุการณ์ปัจจุบันที่อยู่ในความสนใจของนักวิชาการบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไปลักษณะของบทความประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ คำย่อปริญญา สถานที่ทำงาน  บทคัดย่อ และคำสำคัญ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ เนื้อหา ข้อคิดเห็นที่นำเสนอ และเอกสารอ้างอิง  ความยาวของเรื่องไม่ควรเกิน 10 หน้าพิมพ์

รายงานผู้ป่วย (case report) เป็นการรายงานผู้ป่วยที่ไม่ธรรมดาหรือที่เป็นโรคหรือกลุ่มอาการโรคใหม่ ที่ไม่เคยรายงานมาก่อนหรือพบ ไม่บ่อยและต้องมีหลักฐานชัดเจนอย่างครบถ้วนบางครั้ง รวมบันทึกเวชกรรม (clinical note) ซึ่งเป็นบทความ รายงานผู้ป่วยที่มีลักษณะเวชกรรม (case description) 

หรือการดำเนินโรค (clinical course) ที่ไม่ตรงแบบที่พบไม่บ่อย โครงสร้างบทรายงานผู้ป่วยประกอบด้วย ชื่อเรื่อง  ชื่อผู้นิพนธ์ คำย่อปริญญา สถานที่ทำงาน บทคัดย่อและคำสำคัญ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ รายละเอียดที่พรรณนาผู้ป่วย วิจารณ์ หรือข้อสังเกตและเอกสารอ้างอิง ความยาวของเรื่องไม่ควรเกิน 10 หน้า พิมพ์

ปกิณกะ (miscellany) เป็นบทความขนาดเล็กที่เนื้อหาอาจเข้าข่าย หรือไม่ เข้าข่ายบทความต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เช่น บันทึก เวชกรรม เวชกรรมทันยุค บทปริทัศน์ รายงานผลศึกษา วิจัยโดยสังเขปหรือรายงานเบื้องต้นก็ได้

จดหมายถึงบรรณาธิการ (letter to the editor) หรือ จดหมายโต้ตอบ (correspondence) เป็นการติดต่อตอบโต้ระหว่างนักวิชาการผู้อ่านกับเจ้าของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารในกรณีผู้อ่านมีข้อคิดเห็นแตกต่างต้องการชี้ให้เห็นความไม่สมบูรณ์หรือข้อผิดพลาดของรายงานและบางครั้งบรรณาธิการอาจวิพากษ์นับสนับหรือโต้แย้งวารสารวิชาการสาธารณสุขได้เผยแพร่คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับแนวทางการเขียนเอกสารอ้างอิงและการส่งต้นฉบับในวารสารฉบับที่ 1 ของทุกปีและยังเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของวารสาร