ผลการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน ชนิดลิมฟอยด์ในกลุ่มผู้ป่วยเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

ผู้แต่ง

  • ลักษิกา เศรณียานนท์ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • ศรัญญา สุวรรณสิงห โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นโรคมะเร็งที่มีอุบัติการณ์มากที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ (Acute ymphoblastic leukemia) ร้อยละ 60-75 ซึ่งโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์มีการรักษาตามแนวทางของ Thai Pediatric Oncology Group
National protocol (ThaiPOG)
วัตถุประสงค์ : ศึกษาอัตรารอดชีวิตต่อปีของผู้ป่วยเด็กมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2556-มกราคม 2562 รวมถึงอัตราโรคสงบ อัตราการเป็นกลับ และถึงภาวะแทรกซ้อนหลังได้รับการรักษาตาม ThaiPOG protocolปี 2008 เป็นต้นไป
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบพรรณนา ผู้ป่วยเด็กมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์
ผลการศึกษา : 1 year survival, 3 year survival และ 5 year survival อยู่ที่ 92.30% , 83.33% และ 66.67% ตามลำดับ ส่วนอัตราโรคสงบ Standard risk 90.91% High risk 81.82% และ Very high risk 100 % และอัตราการเป็นกลับช้ำ Standard risk 13.64% High risk 81.82% และ Very high risk ไม่พบ
การเป็นกลับช้ำ ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดคือ Febrile neutropenia


สรุป : การรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์รักษาตามแนวทางของ Thai POG protocol พบว่ามีอัตราการรอดชีวิตที่สูงกว่าของประเทศไทยเด็กน้อยในช่วงแรก แต่เท่าๆ กันในโอกาสรอดชีพที่ 5 ปีและ อัตราการเป็นกลับซ้ำที่ไม่แตกต่าง เมื่อเปรียบเทียบ
กับโอกาสรอดชีพของโรงพยาบาลอื่นๆ ในประเทศไทย เพื่อการรักษาผู้ป่วยที่ดีขึ้นจึงคิดว่าควรมีการจัดทำแนวทางการดูแล febrile neutropenia ที่เป็นแนวปฏิบัติของสถาบันเพิ่มเติม รวมทั้งติดตามผลการรักษาต่อเนื่องต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

Wiangnon S, Veerakul G, Nuchprayoon I, et al. Childhood cancer incidence and survival 2003-2005, Thailand: study from the Thai Pediatric Oncology Group. Asian Pac J Cancer Prev. 2011;12:2215-20

สุรพล เวียงนนท์, สามารถ ภคกษมา, กลีบสไบ สรรพกิจ&และคณะ.2561.คู่มือแนวทางการรักษาโรคมะเร็งในเด็ก พ.ศ. 2561 เพื่อขอเข้ารับบริการสาธารณสุขในระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ.กรุงเทพ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

Panya Seksarn, Surapon Wiangnon, Gavivann Veerakul & et al. 2015. Outcome of Childhood Acute Lymphoblastic Leukemia Treated Using the Thai National Protocols . Asian pacific journal of cancer prevention 16: 4609-4614.

Walaithip Bunyatisa, BongkotJaimahasup&ImjaiChitapanarux.2019. Treatment Outcomes of Acute Lymphoblastic Leukemia in both children and adults using the Thaipog at CMU hospital . มะเร็งวิวัฒน์วารสารสมาคมรังสีและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย25:12-28

จักรพันธุ์ศิริบริรักษ์& เกษวดีลาภพระ. 2560. คำแนะนำ ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีภาวะ febrile neutropenia เปรียบเทียบระหว่างสมาคมโรคมะเร็งและสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา.

Rasmy A, Amal A, Fotih S, Selwi W F e b r i l e N e u t r o p e n i a i n C a n c e r Patient: Epidemiology, Microbiology, Pathophysiology and Management. J Cancer Prev Curr Res.2016:5(3): 00165.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31