การคลอดบุตรก่อนมาถึงโรงพยาบาลป่าตอง : อุบัติการณ์ ปัจจัยสัมพันธ์ และภาวะแทรกซ้อน

ผู้แต่ง

  • เกศินี กิ่งแก้ว กุมารแพทย์โรงพยาบาลป่าตอง

คำสำคัญ:

การคลอดบุตรก่อนมาถึงโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : การคลอดบุตรก่อนมาถึงโรงพยาบาลมักทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาและทารกเพราะเป็นการคลอดในสภาวะที่ขาดบุคคลากรผู้ชำนาญ อุปกรณ์ช่วยคลอดและอุปกรณ์กู้ชีพ อย่างไรก็ตามการศึกษาเรื่องการคลอดบุตรก่อนมาถึงโรงพยาบาลในประเทศไทยยังมีข้อมูลไม่มาก
วัตถุประสงค์ : ศึกษาความชุก ปัจจัยสัมพันธ์ และภาวะแทรกช้อนของการคลอดบุตรก่อนมาถึงโรงพยาบาลในโรงพยาบาลป่าตอง ข้อนหลัง 3 ปี
วิธีศึกษา : ศึกษาแบบย้อนหลังเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบ (Retrospective analyic study) โดยศึกษามารดาและทารกทุกรายที่มีการคลอดบุตรก่อนมาถึงโรงพยาบาลป่าตอง ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2560 ถึง 30 มิถุนายน2563 เปรียบเทียบกับมารคาและทารกที่มีการคลอดบุตรในโรงพยาบาล ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน
ผลการศึกษา : การคลอดบุตรก่อนมาถึงโรงพยาบาลป่าตอง มีความชุกร้อยละ 2.4 มารดาส่วนใหญ่มีอายุในช่วง 21-25 ปี มีระดับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ ป.ว.ช. ตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 และเป็นครรภ์ครบกำหนด พบมารดาไม่ได้ฝากครรภ์ร้อยละ 46.4 ปัจจัยด้านมารดาที่สัมพันธ์กับการคลอดบุตรก่อนมาถึง
โรงพยาบาล ได้แก่ อายุครรภ์ การมาฝากครรภ์ จำนวนครั้งที่ฝากครรภ์น้อยกว่า 4 ครั้ง สถานภาพ การสูบบุหรี่/การดื่มแอลกอฮอล์/การใช้สารเสพติด การมีผลตรวจซิฟิลิสเป็นบวก และภาวะชีด ภาวะแทรกซ้อนของมารดาที่พบบ่อย คือฝีเย็บและช่องทางคลอดฉีกขาดในระดับ 1 degree พบร้อยละ 67.9ในทารกพบว่ามีน้ำหนักในช่วง 1500 กรัม ถึง 2500 กรัม ร้อยละ 35.7 และน้อยกว่า 1000 กรัม ร้อละ 7.1ภาวะแทรกช้อนของทารกที่สัมพันธ์กับการคลอดบุตรก่อนมาถึงโรพยาบาล ได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ การติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะหายใจลำบาก ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลที่นานขึ้นการต้องได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤติ และการเสียชีวิตของทารกภายใน 28 วัน
ข้อสรุป : ความชุกของการคลอดบุตรก่อนมาถึงโรงพยาบาลป่าตอง ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาที่ผ่านมาในประเทศไทย โดยมีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกร้อนต่อมารดาและทารกที่มากขึ้นกว่าการคลอดบุตรในโรงพยาบาล การทราบปังจัยสัมพันธ์และภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นทำให้สามารถกำหนดแนวทางป้องกันการคลอดบุตรก่อนมาถึงโรงพยาบาลและให้การดูแลรักยาหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงและทารกอย่างเหมาะสม

Downloads

Download data is not yet available.

References

Wattanaruangkowit W. Birth Before Arrival (BBA) at Yasothon Hospital, 5 Year Descriptive and Retrospective Analytic Study. Journal of Health Science 2008; 17:SII369-78.

Kaewkiattikun K. Birth before Arrival at Faculty of Medicine Vajira Hospital. Vajira Medical Journal: Journal of Urban Medicine; 2018;62:267-80

Sibunruang S. Maternal and Newborn Complications of Birth before Admission to Taksin Hospital, Bangkok Metropolitan Administration. Vaj Medl J. 2005; 49153-8.

Thornton CE, Dahlen HG. Born before arrival in NSW, Australia (2000–2011): a linked population data study of incidence, location, associated factors and maternal and neonatal outcomes BMJ Open 2018;8:e019328.

Titapant V, Sirimai K, Roongphornchai S. Risk factors for birth before arrival at Siriraj Hospital. J Med Assoc Thai. 2002;85:1251-1257.

Lazić Z, Takač I. Outcomes and risk factors for unplanned delivery at home and before arrival to the hospital [published correction appears in Wien Klin Wochenschr. 2011 Feb;123(3-4):132]. Wien Klin Wochenschr. 2011;123(1-2):11-14.

Gunnarsson B, Smarason AK, Skogvoll E, Fasting S. Characteristics and outcome of unplanned out-of-institution births in Norway from 1999 to 2013: a cross-sectional study. Acta Obstet Gynecol Scand. 2014; 1-8.

McMahon SA, Chase RP, Winch PJ, et al. Poverty, partner discord, and divergent accounts; a mixed methods account of births before arrival to health facilities in Morogoro Region, Tanzania. BMC Pregnancy Childbirth. 2016;16:284. Published 2016 Sep 27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30