ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยเด็กที่มีการติดเชื้อ ทางเดินหายใจส่วนล่างจากเชื้ออาร์เอสวี ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
คำสำคัญ:
RSV, ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง, อาการ, การหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน, ผู้ป่วยเด็กบทคัดย่อ
บทนำ : เชื้อ Respiratory Synoyial Virus (RSV) เป็นสาเหตุของการเกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจในด็ก มักส่งผลทำให้เกิดอาการรุนแรงจนต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล โดยเฉพาะในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี
วัตถุประสงค์ของการศึกษา : เพื่อศึกษาดูลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยที่ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างจากเชื้อ RSV และปัจจัยเกี่ยวข้องที่มีผลต่อความรุนแรงของอาการในกลุ่มผู้ป่วยที่มีการหายใจล้มเหลวเฉียบพลันที่ใส่ท่อช่วยหายใจ
วิธีการศึกษา : ทำการศึกษาแบบย้อนหลังเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ผลการศึกษา : จากการเก็บข้อมูลผู้ป่วย 1,227 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจและได้มีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาเชื้อ RSV พบว่ามีผู้ปวยติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างจากเชื้อ RSV ทั้งหมด 160 คน ส่วนใหญ่จะพบการติดเชื้อในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคมของทุกปีมีค่ามัธยฐานของอายุ 11 (5-19.5) เดือน แบ่งเป็นเพศชาย 89 คน (ร้อยละ 55.6) เพศหญิง 77 คน (ร้อยละ44.4) เคยมีประวัติเป็นทารกแรกเกิดคลอดก่อนกำหนด 20 คน (ร้อยละ 60 โรคปอคเรื้อรัง 10 คน (ร้อยละ30) โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด 8 คน (ร้อยละ 24.2) โรคหอบหืด 5 คน (ร้อยละ 15.1) โดยมีอาการแสดง
ที่พบมากที่สุดคืออาการไอ 157 คน (ร้อยละ 98.1) รองลงมาคือมีไข้ 153 คน (ร้อยละ 95.6) ในระหว่างการรักษามีผู้ป่วยที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจทั้งหมด 37 คน (ร้อยละ 23.1) เสียชีวิตทั้งหมด 7 คน (ร้อยละ 4.4) ซึ่งผู้เสียชีวิตทุกคนมีโรคประจำตัวทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาะทายใจล้มเหลว
เฉียบพลัน ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (OR 9.1. P-0013) ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติเป็นทารกแรกเกิดคลอดก่อนกำหนด (OR 6.1. P-0.028) และผู้ป่วยที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มอาการรุนแรงมากตามการประเมิน PRESS เมื่อแรกรับ (OR 46 5.P-0.001)
สรุปผลการศึกษา : โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างจากเชื้อ RSV พบมากในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม อาการแสดงที่พบมากที่สุดคืออาการไอและมีไข้ ปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันคือการมีโรคประจำตัวเป็นหัวใจพิการแต่กำเนิด เคยมีประวัติเป็นทารกแรกเกิดคลอดก่อนกำหนด และผู้ป่วยที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มอาการรุนแรงมากดามการประเมิน PRES เมื่อแรกรับ
Downloads
References
ชนเมธ เตชะแสนศิริ. วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสพาราอินฟลูเอนซาและอาร์เอสวี [อินเทอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 20 ธค.2560]; เข้าถึงได้จาก: http://pidst.
or.th/userfiles/39_วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสพาราอินฟลูเอนซาและอาร์เอสวี.pdf
Naorat S, Chittaganpitch M, Thamthitiwat S, et al. Hospitalizations for acute lower respiratory tract infection due to respiratory
syncytial virus in Thailand, 2008-2011. J Infect Dis 2013;208:S238-45.
นงค์นุช สุขยานุดิษฐ. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะการหายใจล้มเหลวแบบเฉียบพลันในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบทางเดินหายใจส่วนล่างจากเชื้อ
อาร์เอสวี [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ20 ธ.ค.2560]; เข้าถึงได้จาก: www.thaipediatrics.org/thesis/pdf/ChulalongkornHospital/id4.pdf
Marcone DN, Ellis A, Videla C, et al. Viral etiology of acute respiratory infections in hospitalized and outpatient children in Buenos Aires, Argentina. Pediatr Infect Dis J 2013;32:e105-10.
Hall CB, Weinberg GA, Iwane MK, , et al. The Burden of Respiratory Syncytial Virus Infection in Young Children. N Engl J Med 2009;360:588-98
พรอำภำ บรรจงมณี, อมรรัตน์ โรจน์จรัสไพศาล, อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์. ระบาดวิทยาอาการและอาการแสดง ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อ respiratory syncytial virus ในเด็กที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2559;3:370-8.
ปราณี สิตะโปสะ. โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างที่เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่และอาร์เอสวีในเด็กทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี. กุมารเวชสาร 2552;16:121-2.
อัจจิมาวดี พงศ์ดารา. อาการแสดงทางคลินิกและปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ respiratory syncytialvirus ในผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง.กุมารเวชสาร 2552;16:124-7.
สุรสิทธิ์ สากระแสร์.ความชุกของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างจากไวรัสเรสไปราตอรีย์ซินซัยเทียลในผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 ธค.2560];เข้าถึงได้จาก: http://www.thaipediatrics.org/abstract/51/04.doc
Rodríguez DA, Rodriguez-Martinez CE, Cárdenas AC, et al. Predictors of Severity and Mortality in Children Hospitalized With Respiratory Syncytial Virus Infection in a Tropical Region. Pediatr Pulmonol. Author manuscript; Available in PMC 2014 April 28
Chan PW, Lok FY, Khatijah SB. Risk factors for hypoxemia and respiratory failure in respiratory syncytial virus bronchiolitis. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2002;33:806-10.
Miyaji Y, Sugai K, Nozawa A, et al. Pediatric Respiratory Severity Score (PRESS) for Respiratory Tract Infections in Children. Austin Virol and Retrovirology 2015;2:1-6.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.