ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
คำสำคัญ:
ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรม, เด็กปฐมวัย, ผู้ปกครองบทคัดย่อ
ความเป็นมา: ช่วงปฐมวัยเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการหล่อหลอมคุณลักษณะที่ดีให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัย ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมที่ดีของผู้ปกครองจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ปกครองต่อการดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัยและเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ปกครองต่อการดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัย
วิธีการศึกษา: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากแบบสอบถามที่สำรวจไว้แล้ว ซึ่งเป็นแบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลเด็กปฐมวัยโดยลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยในตำบล กุฎโง้ง อำเภอ พนัสนิคม จังหวัด ชลบุรี เป็นส่วนหนึ่งของโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล (U2T) ตำบลกุฎโง้ง
ผลการศึกษา: มีกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามทั้งหมด 210 คน (จาก 210 ครอบครัว) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ในระดับน้อย มีทัศนคติในระดับสูง และมีพฤติกรรมในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 43.3, 67.1 และ 60.3 ของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมดตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัวและความถี่ในการฝากบุตรหลานที่สถานเลี้ยงเด็ก ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อค่าเฉลี่ยคะแนนทัศนคติ ได้แก่ สถานภาพการทำงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว ความถี่ในการฝากบุตรหลานที่สถานเลี้ยงเด็ก และพื้นอารมณ์เด็ก กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัวต่ำกว่า 10,000 บาทมีโอกาสที่จะมีระดับความรู้น้อยและพฤติกรรมในระดับต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่มรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัวมากกว่า 20,000 บาท ค่า odds ratios (OR) 4.78 (95% CI 2.18-10.48) และ 5.14 (95%CI 1.48-17.83) ตามลำดับ
สรุป: ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความรู้ในระดับน้อย มีพฤติกรรมในระดับสูง และมีทัศนคติในระดับสูงต่อการดูแลเด็กปฐมวัย การส่งเสริมการดูแลเด็กปฐมวัยจึงควรเน้นการให้ความรู้เป็นสำคัญ โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท
Downloads
References
สำนักงานเทศบาลตำบลกุฎโง้ง. ข้อมูลพื้นฐานตำบล [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 เม.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://kudngong.go.th/public/location/data/index/menu/24.
สุปราณี การพึ่งตน. ความรู้และทัศนคติในการดูแลเรื่องอาหารเด็กเล็กของผู้ปกครองและครูพี่เลี้ยงเด็ก. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2557;26:52-63.
อุดมพร รักเถาว์, จารุวรรณ วงษ์เวช. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ปกครองต่อการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2558;2:52-64.
สมนึก เลิศสุโภชวณิชย์, มัลลิกา ผดุงหมาย, วรยุทธ นาคอ้าย ,พรศักดิ์ อยู่เจริญ. การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในเด็ก ของผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองเด็ก ปี 2560. วารสารควบคุมโรค 2561;44:207-16.
Matta P, Mouallem RE, Akel M, Hallit S, Khalife MF. Parents' knowledge, attitude and practice towards children's vaccination in Lebanon: Role of the parent-physician communication. BMC public health. 2020;20:1439.
Thac D, Pedersen FK, Thuong TC, Lien le B, Ngoc Anh NT, Phuc NN. South Vietnamese rural mothers' knowledge, attitude, and practice in child health care. Biomed Research International. 2016;2016:9302428.
Bloom BS, Hastings T, Madaus GF. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: Mcgraw-hill; 1971:61-86.
Best JW, Kahn JV. Methods and tools of research. In: Best JW, Kahn JV, editors. Research in education. 10rd ed. New Jersey: Prentice-Hall; 1997:295-358.
Begum T. Parental knowledge, attitudes and practices in early childhood development among low income urban parents. Universal Journal of Public Health. 2019:214-26.
Gershoff ET, Aber JL, Raver CC, Lennon MC. Income is not enough: Incorporating material hardship into models of income associations with parenting and child development. Child Development. 2007;78:70-95.
Kalil A, Ryan R. Parenting practices and socioeconomic gaps in childhood outcomes. The Future of Children. 2020;30:29-54.
Lee C-YS, Anderson JR, Horowitz JL, August GJ. Family income and parenting: The role of parental depression and social support. Family Relations. 2009;58:417-30.
Weinberg BA. An incentive model of the effect of parental income on children. Journal of Political Economy. 2001;109:266-80.
Mishra A, Sharma D, Tripathi GM, Khan TA. Rural-urban disparities in knowledge, attitude, and practice toward child oral health among mothers of 9-36-month-old children. JRM. 2023;18:175-81.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.