ความชุกและผลลัพธ์ทางคลินิกของการใช้ยาปฏิชีวนะ ในผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี โรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • ทรงพล พงศ์พัฒนโชติ โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

การใช้ยาไม่สมเหตุสมผล, อุจจะระร่วงเฉียบพลัน, ยาปฏิชีวนะ, เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกการใช้ยาปฏิชีวนะ ผลลัพธ์ทางคลินิก และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้ยาไม่สมเหตุผลในเด็กอายต่ำกว่า 12 ปี ที่ป่วยด้วยโรคอุจาระร่วงเฉียบพลัน
วิธีการศึกษา: ใช้รูปแบบการวิจัย Prospective cohort study ในเด็กอายุต่ำกว่า 12ปี ที่ป่วยด้วยโรคอุจาระร่วงเฉียบพลันในโรงพยาบาลยโสธร เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามสร้างขึ้นโดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา t-test และหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้ยาไม่สมเหตุผลด้วย multiple logistic
regression คำเนินการในเดือนมกราคม - พฤษภากม 2564
ผลการศึกษา: ตัวอย่าง 257 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 54.9 อายุ 0-5 ปีขึ้นไป ร้อยละ 61.9 (อายุเฉลี่ย 5.1 ปี (SD 3.9) ความชุกของการใช้ยปฏิชีวนะ ร้อยละ 37.7 (95%CI 31.8 to 43.7) ผลลัพธ์ทางคลินิกของการรักษาระหว่างกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับยาปฏิชีวนะไม่แตกต่างกัน (P-value > 0.05)
ความชุกของการใช้ยาไม่สมเหตุผล ร้อยละ 60.3 (95%CI 54.3 to 66.3) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้ยาไม่สมเหตุผล ได้แก่ อายุ (OR 18 95%CI 1. 1 to 3.1) ประเภทผู้ป่วย (OR 2.1, 95%CI 1.2 to 3.9) และการมีไข้ (OR 2.5,95%CI 1.4 to 4.4)
สรุป: ความชุกการใช้ยาปฏิชีวนะอยู่ในระดับสูง ผลลัพธ์ทางคลินิกบ่งชี้ว่าการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะในโรคอุจาระร่วงเฉียบพลันอาจไม่สมเหตุผลในผู้ป่วยบางราย ปัจจัยด้านอายุ ประเภทผู้ป่วยและอาการไข้ มีความสัมพันธ์กับการใช้ยาไม่สมเหตุผล ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถนำเอาผลการศึกษานี้
ไปวางแผนดำเนินงานส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาลได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

World Health Organization (WHO). Promoting rational use of medicines [Internet]. 2021 [cited 2021 Jan 1]. Available from: https://www.who.int/activities/promoting-rational-use-of-medicines/promoting-rational-use-of-medicines.

Kleina EY, Boeckeld TP Van, Martineza EM, et al. Global increase and geographic convergence in antibiotic consumption between 2000 and 2015. Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 2018; 115: 3463-70.

Waleekhachonloet O, Rattanachotphanit T, Limwattananon C, Thammatacharee S. Effects of a national policy advocating rational drug use on decreases in outpatient antibiotic prescribing rates in Thailand. PharmPract. 2021; 19: 1-9.

คลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center [HDC]). ร้อยละการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในผู้ป่วยนอก ระดับโรงพยาบาล (AD)

เขตสุขภาพที่ 10 จังหวัดยโสธร ปีงบประมาณ 2564 [Internet]. 2021 [cited 2021 Jan 1]. Available from: https://yst.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php (in Thai)

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. สรุปรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ประจำปี 2562. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟ ิคแอนด์ดีไซน์, 2062. (in Thai)

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ. การจัดการเชิงระบบสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผลโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง [Internet]. 2562 [cited 2021 Jan 2]. Available from: https://infocenter.nationalhealth.or.th/node/27846 (in Thai)

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; คณะกรรมการประสานและบูรณาการงานดื้อยาต้านจุลชีพ; แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ.2560-2564. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข, 2560.

Cochran WG. Sampling Techniqes. New york; 1977. 428 p. (in Thai)

ภัทรนิษฐ์ อริยพสิษฐ์. การใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 5 ปี ที่ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในโรงพยาบาลอำนาจเจริญ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2553; 25: 330-42.

Sisay M, Mengistu G, Molla B, Amare F, Gabriel T. Evaluation of rational drug use based on World Health Organization core drug use indicators in selected public hospitals of eastern Ethiopia : a cross sectional study. BMC Health Serv Res. 2017; 17: 1-9.

Dessie B, Atalaye G, Diress E, Getahun A. Practice towards Rational Drug Use at Finotselam and Asirade Zewudie Hospitals Based on WHO Core Drug Use Indicators, Northwest Ethiopia. The Scientific World Journal. 2020; 1-5.

กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข, 2558.

กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข, 2559.

สมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคท้องร่วงเฉียบพลันในเด็ก. กรุงเทพฯ: สมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ; 2562.

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในร้านยา [Internet]. มหาวิทยาลัยสงขลานครนทร์, สงขลา; 2560. 12-20 p. Available from: http://www.pharmacy.psu.ac.th/images/rdu-eagle2018.pdf

อดิศักดิ์ วงศ์ใน. การสั่งใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยโรคท้องร่วงเฉียบพลันที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จังหวัดน่าน. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2554; 5: 181-6.

Kotwani A, Joshi PC, Jhamb U, Holloway K. upper respiratory tract infection in New Delhi : Qualitative study. Qualitative Study’ Indian J Pharmacol. 2017; 49: 419-311.

ปราชญา บุตรหงษ์ รฉ. การเปรียบเทียบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลระหว่างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช การเปรียบเทียบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลระหว่างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชและโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ภายหลังการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาการใช้ยาอย่างสมเหตุผล). Thai Bull Pharm Sci. 2563; 15: 109-27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31