ศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาเทคนิคการย้อมสไลด์สเมียร์เลือดและไขกระดูกด้วยสี Wright’s stain
คำสำคัญ:
สเมียร์เลือด, Wright’s stain, การย้อมด้วยสีบทคัดย่อ
ความเป็นมา : การย้อมสเมียร์เลือดและสเมียร์ไขกระดูกด้วยสี Wight's Sain เป็นสิ่งสำคัญในการวินิจฉัยโรคทางโลหิตวิทยา เพื่อดูความผิดปกติรูปร่าง ขนาดและการติคสีของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพและระยะเวลาในการย้อมสีย้อมสเมียร์เลือดและสเมียร์ไขกระดูก ด้วยสี wright's stain สูตรปรับปรุงเปรียบเทียบกับสูตรปัจจุบัน เพื่อให้เกิดการวินิจฉัยและรักษาโรคทางโลหิตวิทยาได้อย่างรวดเร็ว
วัสดุและวิธีการ : มีการปรับความเข้มข้นของสีย้อมสเมียร์ให้มีอัตราส่วนที่เหมาะสมและการติดสีของเซลล์เม็ดเลือดและเซลล์ไขกระดูกเป็นตามมาตรฐาน โดยมีผู้เชี่ยวชาญโรคเลือดและมะเร็งเด็กจำนวน 6 ท่าน เป็นผู้ประเมินและให้คะแนนประสิทธิภาพการติดสีสูตรปรับปรุงเปรียบเทียบกับสูตรปัจจุบัน
ผลการศึกษา : จากการประเมินลักษณะเซลล์สเมียร์เลือดจำนวน 50 แผ่น และสเมียร์ไขกระดูกจำนวน 25 แผ่น พบว่าสีย้อมสเมียร์สูตรปรับปรุงที่ความเข้มข้น 0.36% มีความเหมาะสมและนำมาใช้ปฏิบัติงานได้จริงในห้องปฏิบัติการ ทำให้นักเทคนิคการแพทย์สามารย้อมสีเสมียร์ได้รวดเร็วขึ้น โดยเสมียร์เลือดใช้เวลาการย้อม 4 นาที จากระยะเวลาเดิม 8 นาที และสเมียร์ใขกระดูกใช้เวลาการย้อม 12 นาที จากระยะเวลาเดิม 18 นาที ส่วนประสิทธิภาพการติดสีงคงเดิมไม่แตกต่างจากการย้อมด้วยสีสูตรปัจจุบัน
สรุป : การปรับสูตรความเข้มข้นของสีย้อม wright's Stain ที่เพิ่มขึ้น มีผลให้ระยะเวลาในการย้อมสีลดลง โดยยังคงประสิทธิภาพการติดสีเทียบเท่าวิธีมาตรฐานที่ใช้ในปัจจุบัน
Downloads
References
Shiro Miwa. Atlas of Blood Cells. 1th ed. Tokyo: Bunkodo; 1998.
Supinun Speek-Saichua.Hematology. 3rd ed. Bangkok: KRUNGSIAM PRINTING GROUP; 1991.
Dhurba Giri.Wright’s Stain[internet].2019[cited 2021 Aug 13], Available from:http://laboratorytests.org/wrights-stain.
Dhurba Giri. May Grunwald-Giemsa Stain[internet].2022[cited 2022 May 9],Available from: http://laboratorytests.org/wrights-stain.
Judith Marcin. Bone Marrow Aspiration[internet].2018 [cited 2022 May 24], Available from: http://healthline.com/health/bone-marrow-aspiration.
วิชัย ประยูรวิวัฒน์, แสงสุรีย์จูฑา, ถนอมศรี ศรีชัยกูล. ตำ ราโลหิตวิทยา-การวินิจฉัยและการรักษาโรคเลือดที่ พบบ่อยในประเทศไทย.พิมพ์ครั้งที่3.กรุงเทพฯ : นำอักษรการพิมพ์:2550.3-4.
จุฬาลักษณ์ ผุดผาด, สุภัสสร จิรัตน์ฐิกุล, อรอุมา เฮ้านนท์, อรทัย ตั้งวรสิทธิชัย. การย้อมสเมียร์เลือดด้วยสีไรท์-จิมซ่า โดยวิธีจุ่มผสม. NU Science Journal2009;6:66-73.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.