การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักทารกแรกเกิดที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะตัวเหลือง

ผู้แต่ง

  • นันทิยา ภูพงษ์พานิช กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

ทารกแรกเกิด, ภาวะตัวเหลือง , ภาวะตัวเหลืองจากได้รับนมไม่เพียงพอ, ร้อยละน้ำหนักที่ลดลง

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดเป็นปัญหาที่พบเจอได้บ่อยในทารกที่ได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียวมีโอกาสเกิดตัวเหลืองและน้ำหนักลดลงได้มากกว่า ในโรงพยาบาลสิงห์บุรีซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่สนับสนุนการให้นมแม่ มีผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่ต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากภาวะตัวเหลือง ทำให้มีระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลที่นานขึ้น

วัตถุประสงค์: เพื่อหาความสัมพันธ์ของร้อยละน้ำหนักที่ลดลงและจุดตัดน้ำหนักที่ลดลงเพื่อทำนายภาวะตัวเหลืองและศึกษาความชุกของการเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

วิธีการศึกษา: ศึกษาเก็บข้อมูลย้อนหลังทารกแรกเกิดที่รับการรักษาในโรงพยาบาลสิงห์บุรีจากเวชระเบียนในช่วง 1 มกราคม พ.ศ. 2565 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ.2566 โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยพื้นฐาน ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะตัวเหลือง ร้อยละน้ำหนักที่ลดลง ค่าบิลิรูบิน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ใช้สถิติ independent t-test และหากปัจจัยใดมีค่า p value <0.05 จะนำไปวิเคราะห์ multiple logistic regression และหาค่าร้อยละน้ำหนักลดที่มีผลต่อการเกิดภาวะตัวเหลืองของทารกแรกเกิดโดยหาจุดตัด และนำเสนอด้วยกราฟโค้ง reciever operating characteristic curve (ROC curve)

ผลการศึกษา: จากการศึกษามีผู้ป่วยทารกแรกเกิดในงานวิจัยรวมทั้งหมด 707 คน เป็นเพศชาย 364 คน และเพศหญิง 343 คน พบผู้ป่วยภาวะตัวเหลือง 64 คน คิดเป็นร้อยละ 9.1 พบปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะตัวเหลืองคือ ร้อยละน้ำหนักที่ลดลงมากกว่า 4 ที่อายุ 24 ชั่วโมง [p=0.0014,Odds ratio; OR 2.09, AUC 0.559 (95%CI 0.481-0.637)]           

สรุป: งานวิจัยนี้สามารถนำไปพัฒนาแนวทางเพื่อป้องกันการเกิดภาวะตัวเหลือง โดยการดูแลเรื่องการให้นมบุตรของมารดาให้มีประสิทธิภาพและสำเร็จมากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

Ansong-Assoku B, Shah SD, Adnan M, Ankola PA. Neonatal Jaundice. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2023 [cited 2023 May 24]. Available from: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK532930/

Kemper AR, Newman TB, Slaughter JL, Maisels MJ, Watchko JF, Downs SM, et al. Clinical Practice Guideline Revision: Management of hyperbilirubinemia in the newborn infant 35 or more weeks of gestation. Pediatrics. 2022;150(3):e2022058859.

Gartner LM. Breastfeeding and jaundice. J Perinatol Off J Calif Perinat Assoc. 2001;21:S25-9; discussion S35-39.

Diala UM, Usman F, Appiah D, Hassan L, Ogundele T, Abdullahi F, et al. Global prevalence of severe neonatal jaundice among hospital admissions: A systematic review and meta-analysis. J Clin Med. 2023;12.3738.

Prasarnphanich T, Somlaw S. The value of routine bilirubin screening to detect significant hyperbilirubinemia in Thai healthy term newborns. J Med Assoc Thail Chotmaihet Thangphaet. 2007;90:925–30.

วรรณพร วาณิชยเศรษฐกุล . ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดคลอดครบกำหนด ในโรงพยาบาลปทุมธานี. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2022;41:633–44.

Chen CF, Hsu MC, Shen CH, Wang CL, Chang SC, Wu KG, et al. Influence of breast-feeding on weight loss, jaundice, and waste elimination in neonates. Pediatr Neonatol. 2011;52:85–92.

Chang RJ, Chou HC, Chang YH, Chen MH, Chen CY, Hsieh WS, et al. Weight loss percentage prediction of subsequent neonatal hyperbilirubinemia in exclusively breastfed neonates. Pediatr Neonatol. 2012;53:41–4.

Yang WC, Zhao LL, Li YC, Chen CH, Chang YJ, Fu YC, et al. Bodyweight loss in predicting neonatal hyperbilirubinemia 72 hours after birth in term newborn infants. BMC Pediatr. 2013;13:145.

อรภัทร วิริยอุดมศิริ. การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักที่อายุ 24, 48 ชั่วโมงหลังคลอดสำหรับทำนาย ภาวะ breast feeding jaundice ในกลุ่มทารกแรกเกิดครบกำหนด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2018;33:11–21.

Prachukthum S, Tanprasertkul C, Intarakhao S. Does weight loss predict hyperbilirubinemia requiring readmission for phototherapy in term infants? Sci Technol Asia. 2020;25:11–8.

Eidelman AI, Schanler RJ, Johnston M, Landers S, Noble L. Breastfeeding and the Use of Human Milk. Pediatrics. 2012;129:e827–41.

Kellams A, Harrel C, Omage S, Gregory C, Rosen-Carole C. ABM Clinical Protocol #3: Supplementary feedings in the healthy term breastfed neonate, Revised 2017. Breastfeed Med Off J Acad Breastfeed Med. 2017;12:188–98.

Subcommittee on Hyperbilirubinemia. Management of hyperbilirubinemia in the newborn infant 35 or more weeks of gestation. Pediatrics. 2004;114:297–316.

Flaherman VJ, Maisels MJ, Brodribb W, Noble L, Brent N, Bunik M, et al. ABM Clinical Protocol #22: Guidelines for management of jaundice in the breastfeeding infant 35 weeks or more of gestation—Revised 2017. Breastfeed Med. 2017;12:250–7.

Flaherman VJ, Schaefer EW, Kuzniewicz MW, Li SX, Walsh EM, Paul IM. Early weight loss nomograms for exclusively breastfed newborns. Pediatrics. 2015;135:e16-23.

Salas AA, Salazar J, Burgoa CV, De-Villegas CA, Quevedo V, Soliz A. Significant weight loss in breastfed term infants readmitted for hyperbilirubinemia. BMC Pediatr. 2009;9:82.

Indriyani SAK, Retayasa IW, Surjono A, Suryantoro P. Percentage birth weight loss and hyperbilirubinemia during the first week of life in term newborns. Paediatr Indones. 2009;49:149-54.

Maisels MJ, Gifford K. Normal serum bilirubin levels in the newborn and the effect of breast-feeding. Pediatrics. 1986;78:837–43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30