ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรุนแรงของโรคเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และโรคหืดในเด็กในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง, โรคหืดในเด็ก, โรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ในเด็กบทคัดย่อ
ความเป็นมา: โรคหืดและโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้เป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยในเด็กทั่วโลก รวมถึงเด็กไทย พบได้ทั้งเด็กที่อาศัยในชุมชนเมือง และชุมชนชนบท โดยปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของโรคในแต่ละการศึกษามีแตกต่างกัน
วัตถุประสงค์: ศึกษาปัจจัยทีมีผลต่อความรุนแรงของโรคหืดและโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และลักษณะของผลการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังด้วยการสะกิดผิว (skin prick test) รวมถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของการทดสอบ ในผู้ป่วยโรคหืดและเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบ cross sectional study โดยเก็บข้อมูลแบบ multicenter จำนวน 4 สถานพยาบาลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยประชากรคือผู้ป่วยโรคหืดและเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ที่วินิจฉัยโดยกุมารแพทย์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันคนเดียวกัน โดยใช้เกณฑ์การวินิจฉัยเดียวกัน
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยในงานวิจัยนี้รวมทั้งสิ้น 274 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ 159 ราย ผู้ป่วยโรคหืด 54 ราย และผู้ป่วยโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ร่วมกับโรคหืด 61 ราย เพศชาย 173 ราย เพศหญิง 101 ราย ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ คือการมีผลทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังเป็นบวกต่อรังแคแมว (p< 0.001, IRR = 1.42 (1.15 - 1.76)) ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของโรคหืด คือการมีผลทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังเป็นบวกต่อไรฝุ่น Dermatophagoides farinae (p=0.049, IRR = 1.68 (1.01 - 2.8)) และกลุ่ม Indoor allergen (p=0.025, IRR = 1.71 (1.07 - 2.74)) ปัจจัยเกี่ยวกับถิ่นที่อยู่อาศัยด้านชุมชนเมืองกับชุมชนชนบท หรือชุมชนอุตสาหกรรมกับชุมชนที่ไม่ใช่อุตสาหกรรม ยังไม่มีความสัมพันธ์กันทางสถิติ ส่วนผลการทดสอบภูมิแพ้ด้วยการสะกิดผิวพบว่าผู้ป่วยมีการแพ้สารก่อภูมิแพ้กลุ่มไรฝุ่น แมลงสาบ รังแคแมว หญ้าขน และรังแคสุนัขเป็น 5 อันดับแรก และแนวโน้มการสะกิดผิวเป็นบวกในงานวิจัยนี้ ผลของการทดสอบสารก่อภูมิแพ้นอกบ้านมีแนวโน้มสูงขึ้น
สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และโรคหืดในเด็กจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขึ้นกับปัจจัยด้านการมีผลทดสอบภูมิแพ้ด้วยการสะกิดผิวเป็นบวก ส่วนปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมนอกบ้านหรือที่อยู่อาศัยยังไม่มีความสัมพันธ์ชัดเจน
Downloads
References
Bousquet J, Schunemann HJ, Togias A, Bachert C, Erhola M, Hellings PW, et al. Next-generation Allergic Rhinitis and Its Impact on Asthma (ARIA) guidelines for allergic rhinitis based on Grading of Recommendations Assessment, Development and Evaluation (GRADE) and real-world evidence. J Allergy Clin Immunol. 2020;145:70-80.
Global Initiative for Asthma. Global strategy for asthma management and prevention [Internet]. 2023 [cited 2023 Jul 10]. Available from: https://ginasthma.org/wp-content/uploads/2023/07/GINA-2023-Full-report-23_07_06-WMS.pdf
Teague WG, Iqbal A, Ding Y, Chipps BE, Zazzali JL. The added burden of allergen sensitization among children with severe or poorly controlled asthma. J Allergy Clin Immunol Pract. 2021;9853-61.
Arrais M, Lulua O, Quifica F, Rosado-Pinto J, Gama JMR, Brito M, et al. Sensitisation to aeroallergens in relation to asthma and other allergic diseases in Angolan children: A cross-sectional study. Allergol Immunopathol (Madr). 2020;48:281-9.
Sritipsukho P. Aeroallergen sensitivity among Thai children with allergic respiratory disease: A hospital based study. Asian Pac J Allergy Immunology. 2004 ;22:91-5.
Visitsunthorn N, Chaimongkol W, Visitsunthorn K, Pacharn P, Jirapongsananuruk O. Great flood and aeroallergen sensitization in children with asthma and/or allergic rhinitis. Asian Pac J Allergy Immunol. 2018;36:69-76.
Tantilipikorn P, Pinkaew B, Talek K, Assanasen P, Triphoon Suwanwech TS, Bunnag C. Pattern of allergic sensitization in chronic rhinitis: A 19-year retrospective study. Asian Pac J Allergy Immunol. 2021;39:156-62.
Yuenyongviwat A, Koonrangsesomboon D, Sangsupawanich P. Recent 5-year trends of asthma severity and allergen sensitization among children in southern Thailand. Asian Pac J Allergy Immunol. 2013;31:242-6.
Lejeune S, Bouazza N, Nicaise PR, Jolaine V, Roditis L, Marguet C, et al. COBRAPed cohort: Do sensitization patterns differentiate children with severe asthma from those with a milder disease? Pediatr Allergy Immunol. 2024;35:e14112.
Di Cicco M, Del Tufo E, Fasola S, Gracci S, Marchi MG, Fibbi L, et al. The effect of outdoor aeroallergens on asthma hospitalizations in children in north-western Tuscany, Italy. Int J Environ Res Public Health. 2022;19:3586.
Lee E, Song DJ, Kim WK, Suh DI, Baek HS, Shin M, et al. Associated factors for asthma severity in Korean children: A Korean Childhood Asthma Study. Allergy Asthma Immunol Res. 2020;12:86-98.
Lezmi G, Lejeune S, Pin I, Blanchon S, Bouazza N, Jolaine V, et al. Factors associated with asthma severity in children: Data from the French COBRAPed Cohort. J Allergy Clin Immunol Pract. 2021;9:1969-79.
Mendes AP, Zhang L, Prietsch SO, Franco OS, Gonzáles KP, Fabris AG, et al. Factors associated with asthma severity in children: A case-control study. J Asthma. 2011;48:235-40.
Mock K, Palma AM, Wu J, Billimek J, Lu KD. Breathing Room: Industrial zoning and asthma incidence using school district health records in the city of Santa Ana, California. Int J Environ Res Public Health. 2022;19:4820.
Ripabelli G, Tamburro M, Sammarco ML, de Laurentiis G, Bianco A. Asthma prevalence and risk factors among children and adolescents living around an industrial area: A cross-sectional study. BMC Public Health. 2013;13:1038.
กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสภาพอากาศตามภูมิภาค [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 10 เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://air4thai.pcd.go.th/webV3/#/Home
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.