ปัจจัยที่ส่งผลต่อพยากรณ์โรค ของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียในเด็ก

ผู้แต่ง

  • กษมา พุทธิสวัสดิ์ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น
  • กนกวรรณ ธเนศพลกุล กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย, ปัจจัย, ผลการรักษา, เด็ก, พยากรณ์โรค

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียเป็นโรคติดเชื้อรุนแรงในเด็ก ซึ่งส่งผลทำาให้ผู้ป่วยเสียชีวิตและภาวะทุพพลภาพได้ ในประเทศไทยมีการศึกษาเกี่ยวกับโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียในเด็ก รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อพยากรณ์โรคไม่มากนัก

วัตถุุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพยากรณ์โรคของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียในผู้ป่วยเด็ก

วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (retrospective cohort study) ในผู้ป่วยเด็กอายุ 1 เดือน ถึง 15 ปี จำนวน 104 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลขอนแก่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 การศึกษานี้ได้ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อพยากรณ์โรคของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย โดยประเมินพยากรณ์โรคด้วย modified Rankin scale และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงต่อพยากรณ์โรค โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยเอกนามแบบลอจิสติกและการวิเคราะห์ถดถอยพหุนามแบบลอจิสติก

ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยจำนวน 104 คน ได้รับการวินิจฉัยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียโดยเชื้อก่อโรคที่พบบ่อย ได้แก่ Haemophilusinfluenzae (ร้อยละ40), Streptococcuspneumoniae (ร้อยละ 26.7) และ Salmonella spp. (ร้อยละ 13.1) อาการและอาการแสดงส่วนใหญ่ คือ อาการชัก (ร้อยละ 75) และระดับความรู้สึกตัวผิดปกติ (ร้อยละ 54.8) พบว่า ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนตามมาร้อยละ 44.2 ผู้ป่วยรอดชีวิตโดยไม่มีความผิดปกติทางระบบประสาท (ร้อยละ83.7) และมีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 1.9 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพยากรณ์โรคของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียในเด็ก ได้แก่ อาการปวดศีรษะ (OR=8.87, 95%CI 1.24-63.63, p-value <0.05) และการตรวจพบเชื้อในน้ำไขสันหลัง (OR=22.71, 95% CI 3.09-166.91, p-value <0.05)

สรุป: ผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่มีพยากรณ์โรคที่ดี และปัจจัยที่ส่งผลต่อพยากรณ์โรคของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียในเด็ก คือ การตรวจพบเชื้อในน้ำไขสันหลังและอาการปวดศีรษะ

Downloads

Download data is not yet available.

References

Kim KS.Acute bacterial meningitis in infants and children. Lancet Infect Dis. 2010;10: 32–42.

Ali M, Chang BA, Johnson KW, Morris SK. Incidence and aetiology of bacterial meningitis among children aged 1-59 months in South Asia: systematic review and meta-analysis. Vaccine. 2018 18;36: 5846–57.

Heckenberg SGB, Brouwer MC, van de Beek D. Bacterial meningitis. Handb Clin Neurol. 2014;121:1361–75.

Muangchana C, Chunsuttiwat S, Rerks-Ngarm S, Kunasol P. BACTERIAL MENINGITIS INCIDENCE IN THAI CHILDREN ESTIMATED BYA RAPID ASSESSMENT TOOL. SOUTHEASTASIAN J TROP MED PUBLIC Health. 2009;40:10.

Zainel A, Mitchell H, Sadarangani M. Bacterial Meningitis in Children: Neurological Complications, Associated Risk Factors, and Prevention. Microorganisms. 2021 Mar 5;9:535.

McCormick DW, Wilson ML, Mankhambo L, et al. Risk Factors for Death and Severe Sequelae in Malawian ChildrenWith Bacterial Meningitis, 1997–2010. Pediatr Infect Dis J. 2013;32:e54–61.

Hsu MH, Hsu JF, Kuo HC, et al. Neurological Complications in Young Infants With Acute Bacterial Meningitis. Front Neurol. 2018 24;9:903.

Lucas MJ, Brouwer MC, van de Beek D. Neurological sequelae of bacterial meningitis. J Infect. 2016;73:18–27.

de Jonge RC, van Furth AM, Wassenaar M, Gemke RJ, Terwee CB. Predicting sequelae and death after bacterial meningitis in childhood:Asystematic review of prognostic studies. BMC Infect Dis. 2010;10:232.

Singhi P, Bansal A, Geeta P, Singhi S. Predictors of long term neurological outcome in bacterial meningitis. Indian J Pediatr. 2007;74:369–74.

อนุชา เสรีจิตติมา. เยื่อหุ้มสมองอักเสบจาก เชื้อแบคทีเรียในผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา: รายงานผู้ป่วย 5 ปี (Baterial Meningitis in Children at Maharat Nakhon Ratchasima Hospital: a 5-year Review). Maharat Nakhon Ratchasima Hospital Medical Bulletin- เวชสาร โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา. 2007:11-.

Autramat C, Kijja S, Pungwa W, Pothichai P, Apiwantanagul S, Kerdsin A. A Retrospective Study of Microorganism Meningitis in Sakon NakhonHospitalBetweentheyear2012and2016: การศึกษาแบบย้อนหลังในโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จากเชื้อจุลชีพในโรงพยาบาลศูนย์สกลนครระหว่าง ปี พ. ศ. 2555–2559. Journal of Sakon Nakhon Hospital-วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2018: 64-74.

Davis LE. Acute Bacterial Meningitis. Contin Minneap Minn. 2018 Oct;24 (5, Neuroinfectious Disease):1264–83.

El Bashir H, Laundy M, Booy R. Diagnosis and treatment of bacterial meningitis. Arch Dis Child. 2003;88:615–20.

Bonita R, Beaglehole R. Recovery of motor function after stroke. Stroke. 1988;19: 1497–500.

Vasilopoulou VA, Karanika M, Theodoridou K, Katsioulis AT, Theodoridou MN, Hadjichristodoulou CS. Prognostic factors related to sequelae in childhood bacterial meningitis: Data from a Greek meningitis registry. BMC Infect Dis. 2011;11:214.

Bor M, Çokuğraş H. Factors associated with early complications in inpatients who were treated in our clinic between 1992 and 2011 with a diagnosis of acute bacterial meningitis. Turkish Archives of Pediatrics/ Türk Pediatri Arşivi. 2020;55:149.

Wee LYJ, Tanugroho RR, Thoon KC, Chong CY, Choong CT, Krishnamoorthy S, et al. A 15-year retrospective analysis of prognostic factors in childhood bacterial meningitis. Acta Paediatr. 2016;105:e22–9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-13