การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • Rungngarmdee Aiamsaard

บทคัดย่อ

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นความผิดปกติในการตอบสนองของปอดต่อสารหรือก๊าซที่มากระตุ้นระยะโรคสงบผู้ป่วยจะหายใจไม่หอบ เมื่ออาการกำเริบผู้ป่วยจะมีอาการไอมีเสมหะและหายใจหอบมีความผิดปกติของหัวใจอาจเกิดหัวใจซีกขวาวายและอาจเสียชีวิตได้พยาบาลที่ให้การพยาบาลผู้ป่วยต้องตระหนักเสมอว่าผู้ป่วยจะต้องได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ให้ยาพ่นขยายหลอดลมและยาต้านการอักเสบเพื่อลดบวม เมื่ออาการดีขึ้นพยาบาลต้องวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยเพื่อให้สามารถปฏิบัติตัวเพื่อฟื้นฟูสภาพปอดและการบริหารร่างกายและเพื่อทำให้โรคสงบ

วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาผลของการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน โดยศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย

วิธีการศึกษา:เลือกกรณีศึกษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลน้ำขุ่น ระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน ผู้ป่วยและญาติ วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดกระบวนการพยาบาล และการดูแลแบบองค์รวม

ผลการศึกษา:ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย เป็นชายวัยสูงอายุมีโรคประจำตัวเป็น COPD มาโรงพยาบาลด้วยอาการนำ ไอมีเสมหะและหายใจหอบเหนื่อยพ่นยา 3 ครั้งที่บ้านไม่ดีขึ้น รายที่ 1 อายุ 62 ปี อาการนำเพิ่มคือไข้สูงฟัง Lungมีเสียง Crepitation+Wheezing, Chest x-ray พบ Infiltration both lungได้รับยา Ceftriaxone IV, Roxithromycin มีระดับความดันเลือดสูง ดูแลให้ยา Amlodipine รายที่ 2 อายุ 79 ปี มีโรคประจำตัวเพิ่มคือ Asthma และ HT ขณะรับการรักษามีภาวะ AF with tachycardiaดูแลให้ Amiodarone IV, Warfarin, Amlodipine, Enalapril, Chest x-ray พบ Cardiomegaly, Infiltration both lung ดูแลให้ยาCeftriaxone IV, Azithromycin และผู้ป่วยทั้ง 2 ได้รับ O2 cannula, Berodual NB และ Bromhexine ผู้ป่วยได้รับการดูแลออย่างถูกต้องตามปัญหา อาการต่าง ๆ ดีขึ้นตามลำดับ แพทย์จำหน่ายกลับบ้าน วันนอนโรงพยาบาล3 วัน เท่ากันทั้ง 2 ราย

สรุป:ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบเฉียบพลันจะต้องได้รับยาพ่นขยายหลอดลมและยาต้านการอักเสบเพื่อทำทางเดินหายใจให้โล่ง การให้ออกซิเจนเพื่อบำบัด และให้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดสาเหตุของการเกิดมีอาการกำเริบ รวมถึงการดูแลภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย และสิ่งสำคัญคือการเตรียมจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านเพื่อให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันอาการกำเริบได้ 

เผยแพร่แล้ว

2024-06-21