พัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • niparat audkhumpan

บทคัดย่อ

          ความสำคัญของปัญหา : โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคพันธุกรรม ที่พบมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นปัญหาสำคัญทางสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม เพราะผู้ป่วยเด็กเหล่านี้ต้องมาให้เลือดและรับยาต่อเนื่องทุกเดือน  พบความเสี่ยงจากการเกิดปฏิกิริยาจากการให้เลือด ในปี 2561- 2563  ร้อยละ 10.66% ,5.34 % และ 6.25 %  จากการทบทวนกระบวนการดูแลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียพบว่ามีรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียเป็นระบบที่ไม่ชัดเจน ผู้วิจัยสนใจพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียโรงพยาบาลยโสธร ให้เป็นแนวทางเดียวกันทั้งระยะก่อนให้เลือด ขณะให้เลือดและหลังให้เลือด ควบคู่กับการใช้โปรแกรมการให้ความรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมียเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนไข้สูงสุดไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

          วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลยโสธร

          วิธีการศึกษา : การวิจัยนี้เป็นวิจัยและพัฒนา ศึกษาระหว่าง เดือนมกราคม 2565 – ธันวาคม 2565 ดำเนินการ 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์  ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการพยาบาล ระยะที่ 3 ทดลองใช้  ระยะที่ 4 ประเมินผล กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ 1) ผู้ใช้บริการ ได้แก่ ผู้ดูแลเด็กป่วยธาลัสซีเมียและผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย จำนวน  60 ราย 2) ผู้ให้บริการ ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่  1) มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย ตรวจสอบคุณภาพโดยความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่ (1) แบบบันทึกบันทึกตัวชี้วัดการให้การพยาบาลระยะก่อนให้เลือด ขณะให้เลือดและหลังให้เลือด (2) แบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากร (3) แบบวัดความรู้ของผู้ดูแลเด็กธาลัสซีเมีย (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเชิงเปรียบเทียบ ความแตกต่างโดยใช้ สถิติ pair t- test 

          ผลการศึกษา : พบว่า 1) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียประกอบด้วย มาตราฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียและวิดิโอสอนสุขศึกษาโรคธาลัสซีเมีย 2) ประสิทธิผลของระบบ ประกอบด้วย ผลลัพธ์ด้านผู้ให้บริการ ได้แก่ ความพึงพอใจของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก ( = 4.74, S.D. = 0.13) และการปฏิบัติตามมาตรฐานการพยาบาล อยู่ช่วงร้อยละ 88.7 – 100 ผลลัพธ์ด้านผู้ใช้บริการ ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือด ความรู้ของผู้ดูแลเด็กหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา (ก่อน = 13.17, หลัง = 17.83) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของผู้ป่วย ภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก ( = 4.66, S.D. = 0.14)

          สรุป : ผลการพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี คือรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยเป็นระบบที่ชัดเจน ผู้ดูแลมีความรู้เพิ่มขึ้นผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ได้เลือดตามกำหนดเวลา มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพยาบาลทั้งผู้ให้ และผู้รับบริการ

เผยแพร่แล้ว

2024-06-21