การพยาบาลผู้ป่วยมีภาวะช็อกจากการติดเชื้อที่ได้รับยาเพิ่มความดันโลหิต: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • จำลองลักษณ์ สืบสา โรงพยาบาลน้ำยืน

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, ยาเพิ่มความดันโลหิต

บทคัดย่อ

ภาวะช็อกจากการติดเชื้อเกิดจากเชื้อโรคทำให้หลอดเลือดขยายและพลาสมารั่วออกนอกหลอดเลือด เลือดไหลเวียนเข้าสู่หัวใจได้น้อย ปริมาตรเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้ลดลง ถ้าอวัยวะขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดภาวะอวัยวะทำงานล้มเหลว เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยต้องสามารถประเมินภาวะช็อกได้ย่างรวดเร็ว

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการพยาบาลผู้ป่วยมีภาวะช็อกจากการติดเชื้อที่ได้รับยาเพิ่มความดันโลหิต โดยศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย 

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเฉพาะกรณี (Case study) โดยศึกษาผู้ป่วยมีภาวะช็อกจากการติดเชื้อที่ได้รับยาเพิ่มความดันโลหิต ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลน้ำยืน โดยผู้ป่วยรายที่ 1 เริ่มศึกษาวันที่ 4 พฤษภาคม 2566 ถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2566 ผู้ป่วยรายที่ 2 เริ่มศึกษาวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 ถึงวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน ผู้ป่วยและญาติ วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดกระบวนการพยาบาล แนวคิดการดูแบบ 7 Aspects of care การดูแลแบบองค์รวม และตั้งข้อวินิจฉัยการพยาบาลตามแนวคิดของ Carpenito Moyet

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย เป็นหญิงวัยสูงอายุ มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและไตเสื่อมระยะที่ 4 รายที่ 1 อายุ 72 ปี มาด้วยอาการปวดจุกแน่นท้องหลังรับประทานลาบปลา แรกรับไม่มีไข้ ความดันโลหิต 60/40 mmHg. SOS 3 คะแนน ตรวจ H/C พบเชื้อ Bacillus spp. ได้รับ 0.9%NSS 1,000 ml vein load x II, Levophed (4:100), Metronidazole และ Ceftriaxone ผู้ป่วยพ้นภาวะช็อกภายใน 30 นาที ควบคุมเบาหวานได้ อาการดีขึ้น แพทย์จำหน่ายกลับบ้าน โดยมีวันนอนโรงพยาบาล 4 วัน รายที่ 2 อายุ 62 ปี มาด้วยอาการถ่ายเหลวและอาเจียนเป็นน้ำ หลังเท้าบวมแดงทั้ง 2 ข้าง แรกรับมีไข้สูง ความดันโลหิต 80/50 mmHg. SOS 6 คะแนน ตรวจ H/C ไม่พบเชื้อ ได้รับ 0.9%NSS 500 ml vein load, Levophed (4:250), Metronidazole และ Ceftazidime ผู้ป่วยพ้นภาวะช็อกภายใน 1 ชั่วโมง ควบคุมเบาหวานได้ อาการบวมแดงหลังเท้าดีขึ้น วันที่ 8 พบ Hct 20 vol% ดูแลให้ PRC 1 unit หลังให้ PRC พบ Hct 27 vol% อาการดีขึ้นตามลำดับ แพทย์จำหน่ายกลับบ้าน โดยมีวันนอนโรงพยาบาล 11 วัน

สรุป: การพยาบาลผู้ป่วยมีภาวะช็อกจากการติดเชื้อที่สำคัญคือการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำอย่างเพียงพอ ให้ยาเพิ่มความดันโลหิต และให้ยาปฏิชีวนะอย่างเร่งด่วน ตามแผนการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยพ้นภาวะช็อกให้เร็วที่สุดเพื่อป้องกันการเกิดภาวะอวัยวะล้มเหลวหลายระบบ ที่จะนำไปสู่การเสียชีวิต ดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมและในระยะก่อนจำหน่ายควรส่งเสริมผู้สูงอายุโรคเรื้อรังให้ดูแลตนเองอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำอีก

Author Biography

จำลองลักษณ์ สืบสา , โรงพยาบาลน้ำยืน

แผนกผู้ป่วยใน

References

อังคณา เกียรติมานะโรจน์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลวาปีปทุม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ตุลาคม-มีนาคม 2564; 5(9): 27-43.

รัชนี ผิวผ่อง. การพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่แบบองค์รวมที่มีภาวะสุขภาพเบี่ยงเบนเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด [เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่]. บุรีรัมย์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์; 2564.

Rhodes A, Evans LE, Alhazzani W, Levy MM, Antonelli M, Ferreret R, et al. Surviving Sepsis Campaign: International Guidelines for Management of Sepsis and Septic Shock: 2016. Intensive Care Med 2017; 43(3): 304–77. doi: 10.1007/s00134-017-4683-6. PubMed PMID: 28101605.

Vincent JL, Jones G, David S, Olariu E, Cadwell KK. Frequency and mortality of septic shock in Europe and North America: a systematic review and meta-analysis. Crit Care 2019; 23(1): 196.

doi: 10.1186/s13054-019-2478-6. PubMed PMID: 31151462.

Mehta Y, Paul R, Rabbani R, Acharya SP, Withanaarachchi UK. Sepsis Management in Southeast Asia: A Review and Clinical Experience. J Clin Med 2022; 11(13): 3635. doi: 10.3390/jcm11133635. PubMed PMID: 35806919.

คณะอนุกรรมการกุมารเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย และรักษาผู้ป่วยเด็กติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง และแบบที่มีภาวะช็อก พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็กแห่งประเทศไทย; 2562.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 12 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://data.ptho.moph.go.th/inspec/2561/inspec1/doc22dec/...pdf

สลิล ศิริอุดมภาส. ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis/Septicemia) [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 12 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://haamor.com/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด#article105

สมาคมเวชบําบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย Severe sepsis และ Septic shock (ฉบับร่าง) พ.ศ. 2558 [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 12 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ayhosp.go.th/ayh/images/HA/miniconf/5.pdf

แสงสม เพิ่มพูน. การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะช็อก (Septic shock). ใน: ประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12; วันที่ 9-10 กรกฎาคม 2563; นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม; 2563.

กัญญมน บุญเหลือ. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Septic shock). Thai Nursing time พฤศจิกายน-ธันวาคม 2561; 11(119): 1-12.

โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะ Sepsis และ Septic shock โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 12 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://49.231.15.21/deptw1/upload/files/medF256210231554379030.pdf

นนทรัตน์ จำเริญวงศ์, สุพรรณิการ์ ปิยะรักษ์, ชยธิดา ไชยวงษ์. การประเมินและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ มกราคม-เมษายน 2563; 7(1): 319-30.

วรพงศ์ เรืองสงค์. ยาบีบหลอดเลือดและยากระตุ้นหัวใจ. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล พฤษภาคม-สิงหาคม 2562; 29(2): 167-180.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01