ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุ ที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยต่อพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อชะลอการเกิดโรคสมองเสื่อม อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • อารยา เจริญรัตน์ โรงพยาบาลยโสธร
  • วิราภรณ์ พราวศรี โรงพยาบาลยโสธร
  • กรกวรรษ ดารุนิกร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ

คำสำคัญ:

โปรแกรมการจัดการตนเอง, สมรรถภาพสมอง, พฤติกรรมการออกกำลังกาย, พฤติกรรมการรับประทานอาหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยต่อสมรรถภาพสมอง พฤติกรรมการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร คำนวณขนาดตัวอย่างด้วยการทดสอบทางสถิติแบบค่าเฉลี่ย ได้ขนาดตัวอย่างกลุ่มละ 30 คน รวม 60 คน ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น และแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสมรรถภาพสมอง พฤติกรรมการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการรับประทานอาหารในผู้สูงอายุ โดยเปรียบเทียบภายในกลุ่มด้วยสถิติทดสอบ Paired samples t-test และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วยสถิติทดสอบ Independent samples t-test

            ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 70-79 ปี มีดัชนีมวลกายอยูในเกณฑ์อ้วน เป็นโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับโรคไขมันในเลือดสูง จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ไม่ได้ประกอบอาชีพ และมีรายได้ที่เพียงพอ ภายหลังการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีสมรรถภาพสมอง (MMSE) ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) โดยพบปัจจัย 5 ด้าน ที่มีคะแนนสูงขึ้น (p-value<0.05) ได้แก่ ด้าน Orientation (time), Orientation (place), Attention, Recall และ Verbal command ขณะที่ด้านพฤติกรรมการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการรับประทานอาหาร พบว่ามีค่าเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p-value<0.001) ดังนั้น โปรแกรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย สามารถส่งเสริมและกระตุ้นศักยภาพของสมอง ชะลออาการสมองเสื่อม ทำให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตโดยพึ่งพาตนเองและอยู่ในสังคมได้นานขึ้น

Author Biographies

อารยา เจริญรัตน์, โรงพยาบาลยโสธร

พย.บ. โรงพยาบาลยโสธร

วิราภรณ์ พราวศรี, โรงพยาบาลยโสธร

พย.บ.  โรงพยาบาลยโสธร

กรกวรรษ ดารุนิกร, มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ

ส.ด.

References

Ferri CP, Prince M, Brayne C, Brodaty H, Fratiglioni L, Ganguli M, et al. Global prevalence of dementia: a Delphi consensus study. Lancet 2005; 366(9503): 2112-7. doi: 10.1016/S0140-6736(05)67889-0.

PubMed PMID: 16360788.

บรรลุ ศิริพานิช. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2559.

Smith T, Gildeh N, Holmes C. The Montreal Cognitive Assessment: validity and utility in a memory clinic setting. Can J Psychiatry 2007; 52(5): 329-32. doi: 10.1177/070674370705200508.

PubMed PMID: 17542384.

ปิยะภร ไพรสนธิ์, พรสวรรค์ เชื้อเจ็ดตน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงราย. วารสารสภาการพยาบาล มกราคม-มีนาคม 2560; 32(1): 64-80.

กรวรรณ ยอดไม้. บทบาทครอบครัวกับการดูแลผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมในชุมชน. วารสารพยาบาลสาธารณสุข มกราคม-เมษายน 2560; 31(1): 189-204.

ภาวดี เหมทานนท์, นพรัตน์ ไชยชำนิ, สมสุข สมมะลวน, ก สินศักดิ์ สุวรรณโชติ, วิภาวรรณ ชะอุ่ม เพ็ญสุขสันต์.

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุสมองเสื่อม. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต กันยายน-ธันวาคม 2565; 36(3): 141-156.

ชลิต เชาว์วิไลย, วินัย พูลศรี, ธีรนันท์ ตันพาณิชย์. แนวทางการป้องกันผู้สูงอายุจากภาวะสมองเสื่อม. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน เมษายน-มิถุนายน 2565; 8(2): 8-15.

กรมอนามัย. แอปพลิเคชันสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ (Blue Book Application). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2566.

Creer LT. Self-management of chronic illness: Handbook of self-regulation. California: Academic; 2000.

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. คู่มือการพัฒนาศักยภาพสมองในผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยสำหรับบุคลากรสุขภาพ. กรุงเทพ: สินทวีการพิมพ์; 2563.

Folstein MF, Folstein SE, McHugh PR. “Mini-mental state”. A practical method for grading the cognitive state of patients for the clinician. J Psychiatr Res 1975; 12(3): 189-98. doi: 10.1016/0022-3956(75)90026-6. PubMed PMID: 1202204.

Spector A, Thorgrimsen L, Woods B, Royan L, Davies S, Butterworth M, et al. Efficacy of an evidence-based cognitive stimulation therapy programme for people with dementia: randomised controlled trial. Br J Psychiatry 2003; 183: 248-54. doi: 10.1192/bjp.183.3.248. PubMed PMID: 12948999.

ณิชาภัทร มณีพันธ์, ศรินรัตน์ จันทพิมพ์, ณรงค์กร ชัยวงศ์. การพัฒนาชุดกิจกรรมภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้านต่อการป้องกันภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ กันยายน-ธันวาคม 2565; 15(3): 85-98.

จรรเพ็ญ ภัทรเดช. ผลการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพสมองผ่านการสนทนากลุ่มไลน์ต่อความสามารถการทำงานของสมองในผู้สูงอายุชมรมผู้สูงอายุเพื่อนช่วยเพื่อนโรงพยาบาลสงขลา จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ มกราคม-มิถุนายน 2565; 5(1): 62-74.

Gheysari F, Mazaheri M. Effect of Cognitive Rehabilitation on Cognitive State and Depression of Older Men with Mild Cognitive Impairment Living in Nursing Homes. Iranian Journal of Ageing 2023; 17(4): 522-35. doi: 10.32598/sija.2022.3272.1.

Quinn C, Toms G, Anderson D, Clare L. A Review of Self-Management Interventions for People with Dementia and Mild Cognitive Impairment. J Appl Gerontol 2016; 35(11): 1154-88.

doi: 10.1177/0733464814566852. PubMed PMID: 25608870.

ศศินี อภิชนกิจ, อาภาพรรณ นเรนทร์พิทักษ์, อุไรลักษณ์ หมัดคง, ปิลันธนา อเวรา, ภัคณัฏฐ์ ผลประเสริฐ, อริศรา พิชัยภูษิต. ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาศักยภาพสมองในผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องระยะแรก ของศูนย์สุขภาพชุมชนเครือข่ายโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี พฤษภาคม-สิงหาคม 2562; 27(2): 138-49.

รินดา เจวประเสริฐพันธุ์. ผลของโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดในผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย. พุทธชินราชเวชสาร พฤษภาคม-สิงหาคม 2562; 37(2): 217-25.

ปิ่นมณี สุวรรณโมสิ, จิราพร เกศพิชญวัฒนา. ผลของโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดต่อความจำของผู้สูงอายุในชุมชนที่มีการรู้คิดบกพร่อง. วารสารพยาบาลตำรวจ กรกฎาคม-ธันวาคม 2559; 8(2): 45-57.

ภาฤดี พันธุ์พรม, ยุวดี รอดจากภัย, กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน. ผลของโปรแกรมควบคุมน้ำหนักโดยประยุกต์แนวคิดการกำกับตนเองต่อดัชนีมวลกายของประชาชนที่มีน้ำหนักเกินในอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข มกราคม-เมษายน 2560; 31(1): 44-59.

อิงใจ จันทมูล. ความชุกของโรคสมองเสื่อมและโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุจังหวัดร้อยเอ็ด [วิทยานิพนธ์แพทยศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงภรณ์มหาวิทยาลัย; 2539. 215 หน้า.

รัตติยา ฤทธิช่วย, อนุสรณ์ จิตมนัส, อรอุมา รักษาชล, วลิษา อินทรภักดิ์, ณัฏฐิณีย์ คงนวล, หทัยรัตน์ ตัลยารักษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้ มกราคม-มิถุนายน 2563; 13(1): 56-64.

สายสุนีย์ เลิศกระโทก, สุธรรม นันทมงคลชัย, ศุภชัย ปิติกุลตัง. ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลอรพิมพ์ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มกราคม-เมษายน 2556; 43(1): 42-54.

Yusufov M, Weyandt LL, Piryatinsky I. Alzheimer’s disease and diet: a systematic review. Int J Neurosci 2017; 127(2): 161-75. doi: 10.3109/00207454.2016.1155572. PubMed PMID: 26887612.

Papatsimpas V, Vrouva S, Papadopoulou M, Papathanasiou G, Bakalidou D. The Effects of Aerobic and Resistance Exercises on the Cognitive and Physical Function of Persons with Mild Dementia: A Randomized Controlled Trial Protocol. Healthcare (Basel) 2023; 11(5): 677.

doi: 10.3390/healthcare11050677. PubMed PMID: 36900682.

มาลี คำคง, มาริสา สุวรรณราช, สกุนตลา แซ่เตียว. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการของผู้สูงอายุโดยใช้ “แนวทางอาหารของแม่” ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา: กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ กันยายน-ธันวาคม 2561; 5(3): 53-68.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01