การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ที่ได้รับการส่งต่อแบบช่องทางด่วน : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • จิราลักษณ์ กลางถิ่น โรงพยาบาลน้ำยืน

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ภาวะฉุกเฉิน, โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, การส่งต่อแบบช่องทางด่วน

บทคัดย่อ

หลอดเลือดหัวใจที่มีการอุดตันหรือตีบรุนแรงจากลิ่มเลือด ทำให้หัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันแบบ ST-segment elevated (STEMI) อาการสำคัญที่นำมา ได้แก่ เจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม ใจสั่น เหนื่อย เหงื่อแตก อาจหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เป็นภาวะฉุกเฉินและอันตรายแก่ชีวิต พยาบาลห้องฉุกเฉินต้องสามารถประเมินผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาเป็นนาที เพื่อให้ยาละลายลิ่มเลือดให้ทันเวลา พร้อมทั้งเตรียมส่งต่อผู้ป่วยอย่างเร่งด่วนไปยังโรงพยาบาลแม่ข่าย เพื่อรับการสวนหัวใจและเพื่อให้ผู้ป่วยรอดชีวิต

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ที่ได้รับการส่งต่อแบบช่องทางด่วน โดยศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย 

วิธีการศึกษา: เลือกกรณีศึกษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลน้ำยืน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนกรกฎาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน จากผู้ป่วยและญาติ วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดกระบวนการพยาบาล การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน และการส่งต่อ

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย เป็นผู้ชาย มีอาการนำเจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม เหนื่อย เหงื่อแตก ผู้ป่วยรายที่ 1 และรายที่ 2 มีอายุ 50 และ 60 ปี ตรวจ EKG พบ ST elevated at II, III, aVF, V3-V6, V3R, V4R และ at aVF, V2-V3 เจ็บแน่นหน้าอก 6/10 และ 10/10 คะแนน ปรึกษาแพทย์เชี่ยวชาญด้านหัวใจและวินิจฉัย STEMI ภายใน 42 และ 65 นาที ดูแลให้ยา Streptokinase ภายใน 50 และ 70 นาที ตามลำดับ ผู้ป่วยรายที่ 1 หลังให้ยา Streptokinase มีเจ็บแน่นหน้าอก 2/10 รายที่ 2 ขณะให้รับยา Streptokinase มีความดันโลหิตต่ำ ดูแลให้ 0.9%NSS 500 ml. และ Dopamine (2:1) (1:1 start rate 5ml/hr.) ความดันโลหิตเป็นปกติ ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ได้รับการส่งต่อแบบช่องทางด่วนไปโรงพยาบาลแม่ข่าย ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด หลังทำผู้ป่วยรายที่ 1 อาการดีขึ้น รายที่ 2 อาการซึมลงและภายหลังอาการดีขึ้น

สรุป: การพยาบาลผู้ป่วย STEMI พยาบาลต้องประสานโรงพยาบาลแม่ข่าย เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และให้ยา Streptokinase เพื่อละลายลิ่มเลือดโดยเร็วที่สุด การเฝ้าระวังอาการข้างเคียงของยา ระยะส่งต่อแบบช่องทางด่วน พยาบาลต้องใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการดูแลและประเมินผู้ป่วยในรถฉุกเฉินตลอดเวลา เพื่อให้การช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที จนกระทั่งถึงโรงพยาบาลแม่ข่าย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสม

Author Biography

จิราลักษณ์ กลางถิ่น, โรงพยาบาลน้ำยืน

พย.บ. แผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

References

Tsao CW, Aday AW, Almarzooq ZI, Anderson CAM, Arora P, Avery CL, et al. Heart disease and stroke statistics 2023 update: A report from the American Heart Association. Circulation 2023; 147(8): e93–e621. doi: 10.1161/CIR.0000000000001123. PubMed PMID: PMID: 36695182.

American Heart Association. 2022 Heart disease & stroke statistical update fact sheet Asian Pacific Islander Race [Internet]. 2023 [Cited 2023 Oct 10]. Available from: https://professional.heart.org/-/media/PHD-Files-2/Science-News/2/2022-Heart-and-Stroke-Stat-Update/2022-Stat-Update-factsheet-Asian-Pacific-lslander-Race-and-CVD.pdf

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน พ.ศ. 2563. สมุทรปราการ: เนคสเตป ดีไซน์; 2563.

วชิราภรณ์ สุมนวงศ์, อาภรณ์ ดีนาน, สงวน ธานี, สมสมัย รัตนกรีฑากุล, ชัชวาล วัตนะกุล. รายงานการวิจัย การลดปัจจัยเสี่ยง และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (ระยะที่ 2) [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://buuir.buu.ac.th/ bitstream/1234567890/1670/1/2559_028.pdf

ทิพย์สุดา พรหมดนตรี, จินตนา ดำเกลี้ยง. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น: การทบทวนวรรณกรรมแบบบูรณาการ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ กรกฎาคม-กันยายน 2564; 41(3): 99-108.

ถนอม นามวงศ์, นริศรา อารีรักษ์. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ในผู้สูงอายุ จังหวัดยโสธร. วารสารวิชาการสาธารณสุข กรกฎาคม-สิงหาคม 2565; 31 ฉบับเพิ่มเติม 2: S260-8.

วลัยพร ปานรัตน์. การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในห้องผู้ป่วยหนัก: กรณีศึกษา. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร มกราคม-มิถุนายน 2564; 2(1): 36-47.

สลิล ศิริอุดมภาส. โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction). หาหมอ.com แนะแนวทุกโรค แนะนำทุกหมอ [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566].

Available from: https://haamor.com/กล้ามเนื้อหัวใจตาย

อาสา พิชญ์ภพ. กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566]. Available from: https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/sirirajonline2021/Article_files/ 1446_1.pdf

Sinha A, Lewis O, Kumar R, Yeruva SL, Curry HB. Amphetamine Abuse Related Acute Myocardial Infarction. Case Rep Cardiol 2016; 2016: 7967851. doi: 10.1155/2016/7967851. PubMed PMID: 26998366.

Anderson JL, Morrow DA. Acute Myocardial Infarction. N Engl J Med 2017; 376(21): 2053-64.

doi: 10.1056/NEJMra1606915. PubMed PMID: 28538121.

Toluey M, Ghaffari S, Tajlil A, Nasiri B, Rostami A. The impact of cigarette smoking on infarct location and in-hospital outcome following acute ST-elevation myocardial infarction. J Cardiovasc Thorac Res 2019; 11(3), 209-15. doi: 10.15171/jcvtr.2019.35. PubMed PMID: 31579461.

กมลทิพย์ แซ่เล้า, ธานินทร์ โลเกศกระวี, สมจินตนา เอี่ยมสรรพางค์. การปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล Interfacility Patient Transfer. นนทบุรี: อัลทิเมท พริ้นติ้ง; 2557

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01