ผลของโปรแกรมเตรียมความพร้อมของหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับการผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้อง ในโรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • ณัฐนันท์ เสถียรธนรัตน์ โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

โปรแกรมเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด, ความวิตกกังวล, การผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้อง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเตรียมความพร้อมของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับการผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้อง ในโรงพยาบาลยโสธร กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและได้รับยาระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง (Spinal Block) ในช่วงเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน 2566 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ควบคุมและกลุ่มทดลองอย่างละ 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยคือ โปรแกรมเตรียมความพร้อมของหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับการผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้อง ซึ่งประกอบด้วย วีดิทัศน์ การให้ข้อมูล อธิบายและให้คำแนะนำ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความวิตกกังวล (State-Trait Anxiety) แบบประเมินการปฏิบัติตัวและแบบประเมินภาวะตื่นตระหนก เครื่องมือดังกล่าวผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้ค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.89 และผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือด้วยวิธีคอนบาคอัลฟ่า ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.758 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สถิติที่ใช้ในการพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ในใช้ในการทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลระหว่างกลุ่มคือ Independent t -test และใช้ dependent t-test ในการทดสอบความแตกต่างของการปฏิบัติตัวระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมใช้ chi-square test

ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมเตรียมความพร้อม มีคะแนนเฉลี่ยภายหลังได้รับโปรแกรมต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.05 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการปฏิบัติตัวระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมก่อน ขณะ และหลังฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง พบว่ากลุ่มทดลองปฏิบัติตัวได้ถูกต้องมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.05 เมื่อเปรียบเทียบภาวะตื่นตระหนกของทั้งสองกลุ่มพบว่ากลุ่มควบคุมมีภาวะตื่นตระหนกร้อยละ 8.57ในขณะที่กลุ่มทดลองไม่เกิดภาวะตื่นตระหนกเลย

Author Biography

ณัฐนันท์ เสถียรธนรัตน์, โรงพยาบาลยโสธร

พย.บ. กลุ่มงานวิสัญญี  

References

กองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. อัตราการผ่าท้องคลอด ปี 2563-2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2566

[เข้าถึงเมื่อ 5 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://cmi.moph.go.th/isp/sp_obs/index?menu_id=6

อมรรัตน์ หลิ่มวิรัตน์, จุฬาลักษณ์ บารมี. ผลของการให้ความรู้อย่างมีแบบแผนต่อความรู้และการปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์เมื่อได้รับยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนเพื่อการผ่าตัดคลอด โรงพยาบาลอินทร์บุรี. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2554; 19 ฉบับเพิ่มเติม 2: S96-106.

ฐิตารีย์ อิงไธสง. ผลของการใช้โปรแกรมการเตรียมความพร้อมระงับความรู้สึกแบบฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังต่อความรู้และพฤติกรรมการปฏิบัติตนของหญิงตั้งครรภ์ครรภ์แรกนัดผ่าคลอดที่ โรงพยาบาลหนองคาย. วารสารการพยาบาลสุขภาพ และการศึกษา พฤษภาคม-สิงหาคม 2564; 4(2): 15-24.

อรลักษณ์ รอดอนันต์. ตำราฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา. กรุงเทพฯ: ธนาเพลส; 2555.

พิชัย จันทศิลป์, ชยาวรักษ์ สัจจวาณิชย์. ผลลัพธ์การเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยก่อนได้รับยาระงับความรู้สึก

เพื่อทำการผ่าตัดข้อเข่าเทียม โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม เมษายน-กันยายน 2564; 5(10): 127-42.

ระพีพัชร หิรันย์ณรงค์, มลิวัลย์ ออฟูวงศ์, ปัณณวิชญ์ เบญจวลีย์มาศ. การรับรู้ของผู้ป่วยเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนและการปฏิบัติตัวเมื่อได้รับการระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร พฤษภาคม-มิถุนายน 2565; 37(3): 218-24.

ยุวดี ประเสริฐ. ผลของโปรแกรมการควบคุมตนเองผ่านสื่อแอปพลิเคชั่นไลน์ต่อความวิตกกังวล พฤติกรรมความร่วมมือ และระยะเวลาในการตรวจของผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องหลอดลม [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต; 2565.

Spielberger CD, Sydeman SJ. State-trait anxiety inventory and state-trait anger expressioninventory.

In: Marvish ME, editor. The use of phychological test for treatment planning and outcome assessment. Hillsdale, NJ, USA: L. Erlbaum Associates; 1994. p. 292-321.

ผุสดี บรมธนรัตน์. ผลของการให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อการลดความวิตกกังวลและการลดภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัดสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 กรกฎาคม-กันยายน 2559; 30(3): 129-37.

ศิริทิพย์ สงวนวงศ์วาน, กัลยา อุ่นรัตนะ. ประสิทธิผลของสื่อวีดิทัศน์ผสมภาพแอนนิเมชั่นให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยที่ได้ยาระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลังผสมยาแก้ปวดในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข พฤษภาคม-มิถุนายน 2562; 28(3): 488-98.

อารีย์ ธวัชวัฒนานันท์, วารินทร์ บินโฮเซ็น. ผลของการให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดต่อความวิตกกังวล ในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกแบบไม่ค้างคืน. นครศรีธรรมราชเวชสาร มกราคม-มิถุนายน 2563; 3(2): 19-29.

อัจฉรา มโนชมภู. ผลของการใช้โปรแกรมการเตรียมผู้ป่วยต่อการลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทางไขสันหลัง โรงพยาบาลป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข พฤษภาคม-สิงหาคม 2566; 3(2): 63-77.

Leventhal H, Johnson JE. Laboratory and field experiment of a theory of self-regulations. In: Wooldridge PJ, Schmitt MH, Skipper JK, Leonard RC, editors. Behavioral science and nursing theory.

St. Louis: Mosby; 1983. p. 189-262.

วรางคณา พุทธรักษ์. ผลของการเตรียมความพร้อมแบบมีแบบแผนในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปต่อความวิตกกังวลขณะเผชิญของผู้ป่วย โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย. พยาบาลสาร มกราคม-มีนาคม 2564; 48(1): 269-80.

ลุนนี จิ่มอาษา, วัลลภา ช่างเจรจา. ผลของโปรแกรมการเตรียมผ่าตัดต่อความวิตกกังวลและภาวะแทรกซ้อนในการผ่าตัดต้อกระจก แผนกจักษุ โรงพยาบาลบึงกาฬ. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ตุลาคม 2562 – มีนาคม 2563; 4(7): 75-87.

ศุภางค์ ดำเกิงธรรม, ยุพาพร หงษ์สามสิบเจ็ด, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล. ผลการใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนเข้ารับการระงับความรู้สึกต่อความรู้และความวิตกกังวลในผู้ป่วยผ่าตัดกระดูก โรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่ มกราคม-มิถุนายน 2564; 29(1): 50-64.

วรรณวิศา ปะเสทะกัง, ณิชาภัตร พุฒิคามิน. ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดเนื้องอกสมอง. วารสารสภาการพยาบาล ตุลาคม-ธันวาคม 2564; 36(4): 80-93.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01