การพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีภาวะหายใจล้มเหลวแบบเฉียบพลัน: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ชูชีพ มีศิริ, โรงพยาบาลศีขรภูมิ

คำสำคัญ:

เชื้อไวรัสโคโรนา 2019, โควิด-19, การพยาบาล, ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน

บทคัดย่อ

MEESIRIC@gmail.com

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 สามารถติดต่อได้ผ่านทางละอองของเสมหะ การไอ จาม น้ำมูก น้ำลายและการสัมผัสในบริเวณหรือวัตถุที่มีเชื้อไวรัสปนเปื้อนอยู่ การติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการทางระบบทางเดินหายใจ บางรายอาจพบอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ บางรายอาจมีอาการปอดอักเสบอย่างรุนแรง มีภาวะหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตในเวลาต่อมา

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ แนวทางการให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน กรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย

วิธีการดำเนินงาน: ศึกษาและเปรียบเทียบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีภาวะหายใจล้มเหลวแบบเฉียบพลัน ที่เข้ารับ การรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมทางเดินหายใจ โรงพยาบาลศีขรภูมิ จำนวน 2 ราย โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย แบบประเมิน ภาวะสุขภาพของ FANCAS และแบบประเมินความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโดยการบูรณาการทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงการเปรียบเทียบข้อมูลข้อมูลพื้นฐาน การวินิจฉัยโรค ประวัติการเจ็บป่วย ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ แบบแผนสุขภาพ ความต้องการการดูแลตนเอง การรักษา ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผนจำหน่ายและการดูแลต่อเนื่อง

ผลลัพธ์: กรณีศึกษาทั้ง 2 รายนี้ เป็นผู้ป่วยวัยสูงอายุ ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดอาการปอดอักเสบและมีการดำเนินโรคที่มีความรุนแรง กรณีศึกษารายที่ 1 เป็นผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 64 ปี มาด้วยอาการไอหายใจหอบ นอนราบไม่ได้ ก่อนมาโรงพยาบาล 1 ชั่วโมง มีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไตเรื้อรังระยะสุดท้ายและเก๊าท์ ขณะรับการรักษาผู้ป่วยมีภาวะน้ำเกินทำให้ต้องเฝ้าระวังและให้การพยาบาลร่วมกับจัดการภาวะหายใจลำบาก กรณีศึกษารายที่ 2 เป็นผู้ป่วยชายไทย อายุ 79 ปี มาด้วยอาการไข้หนาวสั่น พูดจาสับสน ถ่ายเหลว ก่อนมาโรงพยาบาล 5 ชั่วโมง มีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตเรื้อรังระยะที่ 2 และหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีประวัติรับประทานยาละลายลิ่มเลือดจึงต้องเฝ้าระวังภาวะเลือดออกง่ายหยุดยากร่วมกับการรักษาภาวะหายใจลำบาก กรณีศึกษาทั้ง 2 รายได้รับการให้การพยาบาลตามมาตรฐานการพยาบาล โดยมีการกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ที่คล้ายคลึงกัน ภายหลังได้รับการรักษากรณีศึกษาทั้ง 2 ราย มีอาการทุเลาจากปัญหาที่พบและอาการเจ็บป่วย สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้อย่างเหมาะสม ญาติผู้ป่วยเข้าใจแนวทางการรักษา สามารถจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลและดูแลต่อเนื่องที่บ้านได้

สรุป: พยาบาลมีบทบาทในการประเมินและเฝ้าระวังอาการ อาการแสดง และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากการติดเชื้อดังกล่าวอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการที่รุนแรงและถึงขั้นเสียชีวิตได้ พยาบาลจึงต้องมีการพัฒนาสมรรถนะในการประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วย โดยคำนึงถึงปัญหาทางการพยาบาลที่มีความแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย และมีทักษะในการจัดการอาการของผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะคุกคามต่อชีวิตของผู้ป่วยหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่อไป

Author Biography

ชูชีพ มีศิริ, , โรงพยาบาลศีขรภูมิ

พย.ม. กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอายุรกรรม

References

Castro NSR, Hernández IC, Reyes MEG, Hernández MH, Verónica AG, Paredes-Solis S, et al. Clinical Signs and Symptoms Associated with COVID-19: A Cross Sectional Study. Int J Odontostomat 2022; 16(1): 112-9. doi: 10.4067/S0718-381X2022000100112.

World Health Organization Thailand. Coronavirus disease (COVID-19) questions and answers (general) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/thailand/emergencies/

novel-coronavirus-2019/q-a-on-covid-19/q-a-on-covid-19-general

World Health Organization Thailand. Coronavirus (Thailand) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/thailand/health-topics/coronavirus

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถิติทั่วโลก รายงานสถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก [อินเทอร์เน็ต]. 2566

[เข้าถึงเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.anamai.moph.go.th/en/

อมร ลีลารัศมี. เชื้อไวรัสโอมิครอนกลายพันธุ์-สายพันธุ์ย่อย BA.2.75.2, BQ.1.1 และ XBB [อินเทอร์เน็ต]. 2565

[เข้าถึงเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://tmc.or.th/pdf/tmc_knowlege-170.pdf

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 9 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://odpc9.ddc.moph.go.th/covid/covid-19.html

กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอายุรกรรม กลุ่มการพยาบาล. สถิติผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปี พ.ศ. 2564-2566. สุรินทร์: โรงพยาบาลศีขรภูมิ; 2566.

รังสิมา ครอสูงเนิน, ณัฐฐิตา เพชรประไพ, ปภัสรา คลี่ภูษา. การพยาบาลผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีภาวะหายใจล้มเหลวแบบเฉียบพลัน ตามแนวคิดทางการพยาบาล FANCAS: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ กรกฎาคม-กันยายน 2566; 41(3): 1-16.

เยาวลักษณ์ โพธิดารา, ธัญญาสิริ ธันยสวัสดิ์. ผลของการใช้แบบประเมินผู้ป่วยภาวะวิกฤตตามแนวคิดแฟนคัสในกระบวนวิชาฝึกปฏิบัติการพยาบาล. พยาบาลสาร เมษายน-มิถุนายน 2563; 47(2): 463-75.

Orem DE, Taylor SG, Renpenning KM. Nursing: concepts of practice. St.Louis: Mosby; 2001

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01