ผลการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเร่งด่วน แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • เสริมศิริ ทองวรรณ์ โรงพยาบาลยโสธร
  • พัทยา งามหอม โรงพยาบาลยโสธร
  • วรวุฒิ แก้วหาญ โรงพยาบาลยโสธร
  • พัทธินันท์ สิ้นโศรก โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

รูปแบบการพยาบาล, ความดันโลหิตสูงเร่งด่วน

บทคัดย่อ

การเกิดความดันโลหิตสูงเร่งด่วน จะมีผลกระทบต่ออวัยวะสำคัญ คือ สมอง หัวใจ ไตและตา ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ที่รุนแรงมากขึ้นถ้าไม่ได้รับการรักษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการพยาบาลความดันโลหิตสูงเร่งด่วน กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 17 คน ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเร่งด่วน จำนวน 70 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 35 ราย กลุ่มทดลอง 35 ราย คือผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเร่งด่วนที่มารับบริการที่งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลยโสธร ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย คือ 1) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเร่งด่วน 2) วีดิโอให้ความรู้ 3) Line Application 4) แบบบันทึกข้อมูลเฝ้าระวังอาการ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 1) แบบประเมินความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงเร่งด่วน 2) แบบประเมินการปฏิบัติตามรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเร่งด่วนของพยาบาลวิชาชีพ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน โดยแบบประเมินความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงเร่งด่วนใช้ค่า Kr-20 ได้ค่า 0.52 แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติ Paired t-test, Independent t-test และ Chi-square

                ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามรูปแบบการพยาบาลความดันโลหิตสูงเร่งด่วนมีระดับความรู้แรกรับและก่อนจำหน่ายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P<0.05 (P=.000) ค่าความดันโลหิตที่ลดลงใน 1 ชั่วโมงและค่าความดันหลอดเลือดแดงที่ลดลงในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกัน ไม่มีอุบัติการณ์เกิดภาวะแทรกซ้อน ไม่มีอุบัติการณ์กลับมารักษาซ้ำใน 48 ชั่วโมง และผู้ป่วยมาตรวจตามนัดเพิ่มมากขึ้น บุคลากรในหน่วยงานปฏิบัติตามรูปแบบในภาพรวมอยู่ในระดับมากและมีความพึงพอใจในระดับมาก

สรุป การมีรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเร่งด่วน ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่องและมีความรู้เรื่องโรคและการปฏิบัติตัว ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา ไม่กลับมารักษาซ้ำใน 48 ชั่วโมง มีการมาตรวจตามนัดเพิ่มมากขึ้น และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจ

Author Biographies

เสริมศิริ ทองวรรณ์, โรงพยาบาลยโสธร

พย.บ. งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

พัทยา งามหอม, โรงพยาบาลยโสธร

พย.บ. งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

วรวุฒิ แก้วหาญ, โรงพยาบาลยโสธร

พย.บ. งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

พัทธินันท์ สิ้นโศรก, โรงพยาบาลยโสธร

พย.บ. งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

References

ธาริณี พังจุนันท์, นิตยา พันธุเวทย์. ประเด็นสารรณรงค์ วันความดันโลหิตสูงโลก 2556. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 12 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/file/download/leaflet/ประเด็นสารความดันโลหิตสูง56.pdf

สำรวย อาญาเมือง. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองด้านการรับประทานยาต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการรับประทานยาและค่าความดันโลหิตในผู้ป่วยผู้ใหญ่โรคความดันโลหิตสูงหลังเกิดภาวะความดันโลหิตสูงเร่งด่วน [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2561.

สมบัติ วงค์เตจา. การพัฒนาแนวทางปฏิบัติสำหรับการดูแลพระภิกษุอาพาธที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเร่งด่วน แผนกห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสงฆ์. วารสารกองการพยาบาล ธันวาคม 2564; 48(3): 103-13.

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ. จำนวนและอัตราตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ ปี 2559-2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 14 สิงหาคม 2566] เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=14220&tid=32&gid=1-020

จุฑารัตน์ ศิริพัฒน์, สุทธีพร มูลศาสตร์, ฉันทนา จันทวงศ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในบุคคลที่เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ มกราคม-มีนาคม 2562; 37(1): 42-51.

อินทนนท์ อิ่มสุวรรณ. การดูแลรักษาภาวะความดันโลหิตสูงในห้องฉุกเฉิน. ธรรมศาสตร์เวชสาร มกราคม-มีนาคม 2556; 13(1): 109-23.

ข้อมูลระบบสารสนเทศ. รายงานผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเร่งด่วน ปี 2563-2565. ยโสธร: โรงพยาบาลยโสธร; 2565.

Bloom BS. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

ประคอง กรรณสูต. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์; 2542.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์; 2562.

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

ณัฏฐิรา ประสาทแก้ว, แสงทอง ธีระทองคำ, วันทนา มณีศรีวงศ์กูล. ผลของโปรแกรมการเยี่ยมบ้านร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์ ต่อความเชื่อด้านสุขภาพ และค่าความดันโลหิตของผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ กันยายน-ธันวาคม 2555; 42(3): 19-31.

เนาวรัตน์ จันทานนท์, บุษราคัม สิงห์ชัย, วิวัฒน์ วรวงษ์. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2554; 16(6): 749-58.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01