ประสิทธิผลการใช้ Sepsis Six Bundle Protocol เป็นแนวทางในการพยาบาลผู้ป่วย ภาวะพิษเหตุติดเชื้อในงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลทรายมูล

ผู้แต่ง

  • จันทร์ทิพย์ แก้วคำจันทร์ โรงพยาบาลทรายมูล
  • ฤทัยรัตน์ พรมชาติ โรงพยาบาลทรายมูล
  • จารุวรรณ พละมาตย์ โรงพยาบาลทรายมูล

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, Sepsis Six bundle Protocol, ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ

บทคัดย่อ

ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (Sepsis) เป็นภาวะที่ร่างกายมีการตอบสนองต่อการติดเชื้อในร่างกายทำให้เกิดการสูญเสียการทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเป็นภาวะคุกคามและเป็นอันตรายต่อชีวิต การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้ Sepsis Six bundle Protocol เป็นแนวทางในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะพิษเหตุติดเชื้อในงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลทรายมูล วิธีการวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลอง โดยกลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะพิษเหตุติดเชื้อที่เข้ารับบริการ ที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลทรายมูล จำนวน 45 ราย และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย Sepsis Six bundle Protocol และชุดให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะพิษเหตุติดเชื้อ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกประสิทธิผลการใช้ Sepsis Six bundle Protocol แบบวัดความรู้พยาบาลเกี่ยวกับภาวะพิษเหตุติดเชื้อ แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้ Sepsis Six bundle Protocol

ผลการศึกษาด้านผู้ป่วยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 57.8 เป็นเพศชาย และมีอายุเฉลี่ย 64.47 ปี ช่วงอายุที่พบมากที่สุดคือ 60-69 ปี โรคที่ได้รับการวินิจฉัยร่วมกับภาวะพิษเหตุติดเชื้อมากที่สุดคือ Pneumonia ร้อยละ 37.8 ในด้านผลลัพธ์ 1) กลุ่มตัวอย่าง ที่แผนการรักษาให้เจาะเลือดส่งเพาะเชื้อพบว่ากลุ่มตัวอย่างได้รับการเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อก่อนให้ Antibiotic ร้อยละ 100 และ 2) ระยะเวลาที่ได้รับ Antibiotic ภายหลังได้รับการวินิจฉัย เฉลี่ย 16.73 นาที เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าความดันเลือดแดง เฉลี่ย (MAP) ระหว่างก่อนกับหลัง Resuscitation พบว่าภายหลัง Resuscitation ค่าความดันเลือดแดงเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ p-value < 0.05 (p-value=0.000) ในด้านพยาบาลพบว่าภายหลังให้ความรู้พยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนให้ความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.05 (p-value=0.000) และเมื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ Sepsis Six bundle Protocol เป็นแนวทางในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะพิษเหตุติดเชื้อในงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชพบว่าพยาบาลส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับ มากถึงมากที่สุด ข้อเสนอแนะคือควรมีการติดตามประเมินผลและทบทวนการใช้ Sepsis Six bundle Protocol อย่างต่อเนื่อง

Author Biographies

จันทร์ทิพย์ แก้วคำจันทร์, โรงพยาบาลทรายมูล

พย.บ. งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช

ฤทัยรัตน์ พรมชาติ, โรงพยาบาลทรายมูล

พย.บ. งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช

จารุวรรณ พละมาตย์, โรงพยาบาลทรายมูล

พย.บ. งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช

References

สลิล ศิริอุดมภาส. ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis/Septicemia) [อินเทอร์เน็ต]. 2562

[เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://haamor.com/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด#article105

Nasir N, Jamil B, Siddiqui S, Talat N, Khan FA, Hussain R. Mortality in Sepsis and its relationship with Gender. Pak J Med Sci 2015; 31(5): 1201–6. doi: 10.12669/pjms.315.6925. PubMed PMID: 26649014.

Rudd KE, Johnson SC, Agesa KM, Shackelford KA, Kievlan DR, Colombara DV, et al. Global, regional, and

national sepsis incidence and mortality, 1990-2017: analysis for the Global Burden of Disease Study. Lancet 2020; 395(10219): 200–11. doi: 10.1016/S0140-6736(19)32989-7. PubMed PMID: 31954465.

Healthkpi. KPI กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงวันที่ 10 กันยายน 2566].

เข้าถึงได้จาก: https://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index2/?kpi_year=2562

Healthkpi. KPI กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงวันที่ 10 กันยายน 2566].

เข้าถึงได้จาก: https://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index2/?kpi_year=2563

Healthkpi. KPI กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงวันที่ 10 กันยายน 2566].

เข้าถึงได้จาก: https://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index2/?kpi_year=2564

Healthkpi. KPI กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงวันที่ 10 กันยายน 2566].

เข้าถึงได้จาก: https://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index2/?kpi_year=2565

Healthkpi. KPI กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงวันที่ 10 กันยายน 2566].

เข้าถึงได้จาก: https://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index2/?kpi_year=2566

วีรพงศ์ วัฒนาวนิช. แนวทางการรักษาภาวะ severe sepsis และ septic shock (Surviving sepsis campaign 2012) [อินเทอร์เน็ต]. 2552 [เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://medinfo.psu.ac.th/nurse/CoP/Sepsis/sepsis_2.pdf

Prescott HC, Ostermann M. What is new and different in the 2021 Surviving Sepsis Campaign guidelines. Med Klin Intensivmed Notfmed 2023 Jun 7: 1–5. doi: 10.1007/s00063-023-01028-5. PubMed PMID: 37286842.

จันทร์ทิพย์ แก้วคำจันทร์. สถิติผู้ป่วยที่เข้ารับบริการโรงพยาบาลทรายมูล ปี 2563-2564. ยโสธร: โรงพยาบาลทรายมูล; 2566.

จันทร์ทิพย์ แก้วคำจันทร์. สรุปผลการทบทวนกระบวนการพยาบาลดูแลผู้ป่วย Sepsis ที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลทรายมูล. ยโสธร: โรงพยาบาลทรายมูล; 1 กันยายน 2566.

Evans L, Rhodes A, Alhazzani W, Antonelli M, Coopersmith CM, French C, et al. Surviving sepsis campaign: international guidelines for management of sepsis and septic shock 2021. Intensive Care Med 2021; 47(11): 1181–1247. doi: 10.1007/s00134-021-06506-y. PubMed PMID: 34599691.

United Kingdom Sepsis Trust. THE SEPSIS MANUAL 6th ed [Internet]. 2022 [cited 2023 Sep 4]. Available from: https://sepsistrust.org/wp-content/uploads/2022/06/Sepsis-Manual-Sixth-Edition.pdf

นิภาภรณ์ พรหมประสิทธิ์. ผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ในแผนกผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิและสาธารณสุข พฤษภาคม-สิงหาคม 2566; 1(2): 31-42.

สุทธิชัย แก้วหาวงค์, ดลวิวัฒน์ แสนโสม. ผลของการใช้โปรแกรมการพยาบาลระยะ 1 ชั่วโมงแรกต่อผลลัพธ์ที่คัดสรรในผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดที่แผนกงานฉุกเฉิน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ มกราคม-มีนาคม 2563; 38(1): 196-206.

นิลปัทม์ พลเยี่ยม, ภูริกา สิงคลีประภา, มยุรา แสนสุข. การใช้ Six bundle sepsis protocol ในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรง แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลกุมภวาปี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี พฤษภาคม-สิงหาคม 2561; 26(2): 189-200.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01