triage การพัฒนารูปแบบคุณภาพการคัดแยกผู้ป่วยตามความเร่งด่วนแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพุทธโสธร ฉะเชิงเทรา

การพัฒนารูปแบบคุณภาพการคัดแยกผู้ป่วยตามความเร่งด่วนแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลพุทธโสธร ฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • supanee kraikul รพ.พุทธโสธร ฉะเชิงเทรา

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบคุณภาพการคัดแยกผู้ป่วยตามความเร่งด่วนแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา

  

                                                                                                  

                                                                                                                             สุภาณี ไกรกุล  พย.บ*

บทคัดย่อ

บทนำ:           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณภาพการคัดแยกผู้ป่วยตามความเร่งด่วนแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  

                  โรงพยาบาลพุทธโสธร  จังหวัดฉะเชิงเทราให้สอดคล้องตามระบบของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข                                 ได้กำหนดแนวทางการจัดบริการห้องฉุกเฉิน ด้วยระบบMOPH ED triage ซึ่งเป็นการคัดแยกแบบ 5ระดับ                                                                                                                                                                                                               เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษาตามระดับความเร่งด่วน โดยพัฒนาแบบฟอร์มการคัดแยกผู้ป่วยเพื่อให้ง่ายต่อการซักประวัติ เนื่องจาก เจ้าหน้าที่พยาบาลประจำจุดคัดแยกผู้ป่วย1คน ได้เปลี่ยนไปตามเวรเช้า เวรบ่ายและเวรดึก ต่ออัตราผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการจำนวนมาก

วัตถุประสงค์:      เพื่อพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยห้องฉุกเฉินให้รับบริการตามระดับความเร่งด่วนได้ตรงตามแนวทางอย่างมี                       

                       ประสิทธิภาพโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน

วิธีการศึกษา:      เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยศึกษาแบบย้อนหลัง ปี พ.ศ.2564 ก่อนการใช้แบบฟอร์มการคัดแยกที่พัฒนาขึ้น   

                       อย่างมีรูปแบบ โดยเปรียบเทียบกับปี พ.ศ.2565 หลังการใช้แบบฟอร์มที่พัฒนาในการคัดแยกแล้ว ประชากร คือ    

                    จำนวนผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้ารับบริการ ณ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  โรงพยาบาลพุทธโสธร  จังหวัดฉะเชิงเทรา

                    วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและปริมาณ ด้วยความถี่ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ Two sample      

                    Assuming Unequal variances ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการศึกษา:   รูปแบบฟอร์มการคัดแยกผู้ป่วยตามความเร่งด่วน ได้มาจำแนกผู้ป่วยเป็น 5ประเภท โดยพบว่าประชากรปี

                    พ.ศ.2564 ที่ยังไม่มีแบบฟอร์มการคัดแยกที่มีรูปแบบอย่างชัดเจนพบว่ามีผู้ป่วยทั้งหมดเข้าบริการแผนกอุบัติ

                   เหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพุทธโสธรจังหวัดฉะเชิงเทรา มีจำนวน 37,768 คน แบ่ง 5 ประเภท ประเภทที่1

                   สีแดง คือผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต3,879  คน ร้อยละ10.27 ประเภทที่2  สีชมพู คือ ผู้ป่วยฉุกเฉินจำนวน 8,798 คน

                   ร้อยละ29.29 ประเภทที่3 สีเหลือง คือ ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน จำนวน 13,676 คน ร้อยละ36.21 ประเภทที่ 4 สี

                   เขียว คือผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง จำนวน8,291คน ร้อยละ 21.95 ประเภทที่5  สีขาว คือผู้ป่วยทั่วไป จำนวน

                  3,124 คน ร้อยละ 8.27 แล้วนำการคัดแยกทั้ง 5ประเภท มาประเมินระดับคุณภาพการคัดแยก ออกเป็น

                  3 ระดับ ระดับ คือประเมินผู้ป่วยได้ถูกต้อง(proper triage) จำนวน30,987 คน ร้อยละ 82.05 ระดับที่ 2 คือ

                   ประเมินต่ำกว่าเกณฑ์(Under triage) จำนวน 2,816 คน ร้อยละ 7.46 ระดับที่ 3 คือ ประเมินผู้ป่วยได้สูงกว่า

                  เกณฑ์ (Over triage) จำนวน 3,965 คน ร้อยละ 10.5 โดยเปรียบเทียบกับประชากรการคัดแยกปีพ.ศ.2565

                  ที่มีการพัฒนาแบบฟอร์มการคัดแยกอย่างมีรูปแบบได้นำใช้กับผู้ป่วย ทั้งหมดที่เข้ารับบริการ จำนวน 43,205

                  คน ประเภทที่1 สีแดง คือ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต 5,768 คน ร้อยละ13.35 ประเภทที่2 สีชมพู คือ ผู้ป่วยฉุกเฉิน

                   จำนวน 7,966คน ร้อยละ 18.43 ประเภทที่ 3 สีเหลือง คือ ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน จำนวน 14,599 คนร้อยละ

                  33.8  ประเภทที่ 4 สีเขียว คือผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง จำนวน 8,792 คน ร้อยละ 20.35 ประเภทที่ 5 คือ

                  สีขาว คือผู้ป่วยทั่วไป จำนวน 6,080 คน ร้อยละ 14.07แล้วนำการคัดแยกทั้ง 5ประเภทของปี พ.ศ.2565

ผลการศึกษา:   ออกเป็น 3 ระดับ ระดับที่1 คือประเมินผู้ป่วยได้ถูกต้อง(proper triage)  จำนวน35,787คน ร้อยละ 82.8

                    ระดับที่ 2 คือ ประเมินผู้ป่วยได้ต่ำกว่าเกณฑ์(Under triage) จำนวน 5,343 คน ร้อยละ12.37 ระดับที่ 3

                     คือ ประเมินผู้ป่วยได้สูงกว่าเกณฑ์(Over triage) จำ2,075นวน คน ร้อยละ4.8

                    จากประชากรสองกลุ่มไม่เท่ากัน จึงใช้สถิติ t-test Two sample Assuming Unequal variances

                    จากค่า t-stat= -0.12817 เปรียบเทียบกับค่า t Critical two-tail= 2.776445 พบว่าค่า t-stat

                   (โดยไม่พิจารณาเครื่องหมายลบ) น้อยกว่าค่า Critical two-tail จึงยอมรับสมมติ นั่นคือ แบบฟอร์ม

                   การคัดแยกอย่างเดียวไม่สามารถปรับระดับคุณภาพการคัดแยกได้

สรุป:             แบบฟอร์มการคัดแยกที่มีรูปแบบชัดเจนอย่างเดียวไม่สามารถช่วยปรับระดับคุณภาพการคัดแยกให้ดีขึ้นได้

                  จึงสมควรศึกษาปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องต่อไป

คำสำคัญ:      การคัดแยกผู้ป่วย , ระดับคุณภาพการคัดแยก , ผู้ป่วยฉุกเฉิน

 

เผยแพร่แล้ว

2024-06-21