Home ThaiJO
Publication Ethics
วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่บทความงานวิจัยและบทความวิชาการในกลุ่มสาขา แม่และเด็กปฐมวัย วัยเรียนวัยรุ่น วัยทำงาน วัยสูงอายุ และอนามัยสิ่งแวดล้อมและสาขาอื่นๆ เพื่อให้การสื่อสารทางวิชาการเป็นไปอย่างถูกต้อง มีคุณภาพ โปร่งใสและสอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์ระดับสากล วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม จึงกำหนดหลักปฏิบัติและมาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์ ดังนี้
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)
- ผลงานที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน
- ผลงานที่นำเสนอต้องรายงานตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจาการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลเป็นเท็จ
- ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานผู้อื่น และจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ กรณีนำผลงานผู้อื่นมาใช้ในผลงานของผู้เขียน
- ผู้นิพนธ์ต้องจัดทำต้นฉบับตามข้อกำหนดของกองบรรณาธิการวารสาร
- ผู้นิพนธ์ต้องแก้ไขความถูกต้องตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ และส่งผลงานที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วให้กองบรรณาธิการวารสาร ตามระยะเวลาที่กำหนด
- ผู้นิพนธ์ต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี)
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of Editors)
- บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่ในการพิจารณาคุณภาพของบทความ และความครบถ้วนสมบูรณ์ของบทความเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่รับผิดชอบ
- บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนและผู้ประเมินบทความ ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
- บรรณาธิการต้องไม่ปฏิเสธ การตีพิมพ์บทความ กรณ๊สงสัยว่าบทความไม่เป็นตามข้อกำหนดจนกว่าจะมีหลักฐานพิสูจน์ข้อสงสัยเหล่านั้น
- บรรณาธิการจะไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ กับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินและทีมผู้บริหาร
- บรรณาธิการต้องระงับกระบวนการประเมินบทความทันทีหากตรวจสอบว่ามีความไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้อง เช่น การคัดลอกผลงานของผู้อื่นโดยไม่มีการอ้างอิง พร้อมชี้แจงเหตุผลให้เจ้าของผลงานทราบ
- บรรณาธิการต้องมีความโปร่งใส ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในการบริหารจัดการวารสาร
- บรรณาธิการตรวจสอบบทความต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) โดยใช้โปรแกรมตรวจสอบเชื่อถือได้ เพื่อแน่ใจว่าบทความที่ลงพิมพ์เผยแพร่ไม่มีการคัดลอกผลงานผู้อื่น
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)
- ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง
- ผู้ประเมินบทความจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้นิพนธ์ร่วมหรืออื่นๆ ที่จะทำให้ผู้ประเมินไม่สามารถประเมินและให้ข้อเสนอแนะได้อย่างอิสระได้
- ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสําคัญ ของเนื้อหาในบทความ ที่จะมีต่อสาขาวิชานั้นๆ คุณภาพของการวิเคราะห์ ความเข้มข้นของผลงาน โดยไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัว ที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาตัดสินบทความ
- ผู้ประเมินบทความต้องให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์และมีความสําคัญทางวิชาการ หากพบบทความมีความเหมือนหรือซ้ำซ้อนกับผลงานของผู้อื่น ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที
- ต้องประเมินด้วยความเที่ยงตรงและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ด้วยเหตุผลทางด้านวิชาการ