เกี่ยวกับวารสาร

วัตถุประสงค์และขอบเขตการตีพิมพ์ (Focus and Scope)
   วารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี จักรีรัช จัดทำขึ้น เพื่อนำเสนอ บทความทางวิชาการ หรือบทความวิจัยที่มีคุณภาพ ครอบคลุมเนื้อหาด้านวิชาการ การศึกษา การพยาบาล การสาธารณสุข และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ที่แสดงถึงประโยชน์ทั้งเชิงทฤษฎี และประโยชน์ในเชิงปฏิบัติการ เป็นเอกสารทางวิชาการ สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ ที่นักวิจัย หรือผู้ที่สนใจ สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดการวิจัย หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์

วัตถุประสงค์ (Object)

  1. เพื่อเผยแพร่บทความทางวิชาการ บทความวิจัยทีมีคุณภาพ ครอบคลุมเนื้อหาด้านวิชาการ การศึกษา การพยาบาล การสาธารณสุข และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ที่นักวิจัย หรือผู้ที่สนใจ สามารถนําไปพัฒนาต่อยอดการวิจัย หรือสร้างองค์ความรู้ หรือนําไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ในเชิงปฏิบัติได้

  2. เพื่อเป็นสื่อกลางเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและ งานวิจัยทีเกี่ยวกับ การศึกษา การพยาบาล การสาธารณสุข และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

  3. เพื่อเป็นเอกสารทางวิชาการทีให้ความรู้ เกี่ยวกับวิจัย ค้นคว้า ทางด้านวิด้านวิชาการ การศึกษา การพยาบาล การสาธารณสุข และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ที่สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้

กระบวนการพิจารณาบทความ  (Peer Review Process)
  วารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช เป็นวารสาร ฯ ที่มีคณะกรรมการ พิชญพิจารณ์ จำนวน 3 ท่าน (Double blind peer-reviewed) ที่ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิหลายสาขา จากสถาบันต่าง ๆ ในการพิจารณาตรวจคุณภาพของบทความทุกเรือง ก่อนการตีพิมพ์บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ในวารสาร ฯ ถือเป็นความคิดเห็นของผู้เขียน วารสารวิชาการ วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี จักรีรัช หรือคณะบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทุกครั้ง 

ประเภทของบทความ (Types of articles)
     
บทความวิจัย (research article) และบทความวิชาการ (academic article) ในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ภาษาที่รับตีพิมพ์ (Language)

  • ภาษาไทย
  • ภาษาอังกฤษ

กำหนดการเผยแพร่ (Publication Frequency)

       กำหนดเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ

  • ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน
  • ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม
ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (Article Processing Charge) 

      วารสาร ฯ ดำเนินการเก็บค่าตีพิมพ์วารสารหลังจากได้รับการประเมินเบื้องต้น จากกองบรรณาธิการว่าสามารถตีพิมพ์ได้ โดยแจ้งรายละเอียดการชำระค่าบทความทาง e-mail ของผู้นิพนธ์ และต้องชำระค่าตีพิมพ์บทความวารสารฉบับภาษาไทย  จำนวน 2,000 บาท โดยสามารถชำระผ่านธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี วารสารวิทยาลัยพยาบาล หมายเลข.....................และส่งหลักฐานการโอนมาที่ reserch@ckr.ac.th
         ทั้งนี้ทางวารสารไม่ขอการันตีบทความของท่านจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่ได้รับการพิมพ์ เมื่อชำระเงินแล้ว วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์การคืนเงินให้ผู้นิพนธ์ทุกกรณี  
           * หมายเหตุ สำหรับอาจารย์ภายในวิทยาลัย ฯ ไม่ต้องชำระค่าตีพิมพ์

เจ้าของวารสาร (Publisher)

        วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช  

คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ ( Download เอกสาร) 

      กองบรรณาธิการขอเรียนเชิญผู้สนใจส่งบทความวิจัย และบทความวิชาการ เกี่ยวกับการศึกษา การพยาบาล การสาธารณสุข และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อลงเผยแพร่ในวารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี จักรีรัช โดยเรื่องที่ส่งต้องเป็นผลงานใหม่ ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในสื่อ สิ่งพิมพ์ หรือวารสารที่ใดมาก่อน โดยจัดเตรียมรูปเล่มตามต้นฉบับและหลักเกณฑ์ ดังนี้

  1. ระบุชื่อบทความ ชื่อ-นามสกุลจริงผู้นิพนธ์ทุกคน รวมถึงตำแหน่งและสถานที่ของผู้นิพนธ์ต้นฉบับอย่างชัดเจน (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) สถานที่ปฏิบัติงาน และ e-mail address 
  2. บทความวิจัย และบทความวิชาการ ต้องมีบทคัดย่อภาษาไทย และบทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) ความยาวไม่เกิน 300 คำ
  3. บทความมีความยาวไม่เกิน 15 หน้ากระดาษขนาด A4 โดยบันทึกบทความในรูปแบบไฟล์ word นามสกุล .doc หรือ .docx พร้อมกับแนบไฟล์ pdf. เพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสาร ฯ ได้ที่กองบรรณาธิการวารสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช ทาง e-mail research@ckr.ac.th
  4. การอ้างอิงและบรรณานุกรม ใช้การอ้างอิงแบบ Vancouver Style        
  5. บทความที่ไม่ผ่านการพิจารณาให้ตีพิมพ์ ทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้นิพนธ์ทราบ แต่จะไม่ส่งต้นฉบับคืนผู้นิพนธ์
  6. คำแนะนำในการเขียนและการพิมพ์
    ขนาดและการตั้งค่าหน้ากระดาษ
    6.1 ขนาดของกระดาษที่ใช้ในการพิมพ์กำหนดให้มีขนาดมาตรฐาน A4 โดยกำหนดการตั้งค่าหน้ากระดาษดังนี้
           : ริมขอบกระดาษด้านบน               1.5 นิ้ว     ริมขอบกระดาษด้านล่าง             1   นิ้ว
           : ริมขอบกระดาษด้านซ้าย             1.5 นิ้ว     ริมขอบกระดาษด้านขวา             1   นิ้ว
    6.2 ระยะห่างระหว่างบรรทัด หนึ่งช่วงบรรทัดของเครื่องคอมพิวเตอร์ 8 point จัดหน้าเป็นแบบ 1 คอลัมน์
    6.3 ตัวอักษร ภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK  ความยาวโดยรวมของบทความไม่ควรเกิน   15 หน้ากระดาษ คำศัพท์ ให้ใช้ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน
    6.4 รูปแบบในการพิมพ์
          : ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ (ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่) ขนาด 18 point, กำหนดตรงกลาง, ตัวหนา
          : ชื่อผู้เขียน (ทุกคน)
          : ชื่อผู้เขียน ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 14 point, กำหนดตรงกลาง
          : ชื่อหน่วยงานของผู้เขียน ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 14 point, กำหนดตรงกลาง
          : ชื่อหน่วยงานของผู้เขียน ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 14 point, กำหนดตรงกลาง

บทคัดย่อ

  • ข้อความบทคัดย่อภาษาไทย ขนาด 14 point, กำหนดชิดขอบ, ตัวธรรมดา
  • ข้อความบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ขนาด 14 point, กำหนดชิดขอบ, ตัวธรรมดา
  • ย่อหน้า 0.5 นิ้ว
  • ผู้เขียนต้องตรวจสอบความถูกต้องทางไวยากรณ์และการใช้ภาษาของบทคัดย่อเอง

คำสำคัญ (Keyword) 

  • ให้พิมพ์ต่อจากส่วนของบทคัดย่อ (Abstract) ควรเลือกคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความ ประมาณ 2-5 คำ ใช้ตัวอักษรภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ ขนาด 14 point

รายละเอียดบทความ

  • หัวข้อใหญ่ ขนาด 16 point, กำหนดชิดซ้าย, ตัวหนา (ไม่ลำดับเลข)
  • หัวข้อรอง ขนาด 16 ***** , กำหนดชิดซ้าย, ตัวหนา
  • ตัวอักษร ขนาด 16 point, กำหนดชิดขอบ, ตัวธรรมดา
  • ย่อหน้า 0.5 นิ้ว

ส่วนประกอบของประเภทบทความ

  • บทความทางวิชาการ ประกอบด้วย บทนำ, เนื้อหา, บทสรุป และเอกสารอ้างอิง
  • บทความวิจัย ประกอบด้วย ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา, วัตถุประสงค์การวิจัย, สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี), ขอบเขตของการวิจัย (ถ้ามี), กรอบแนวคิดการวิจัย (ถ้ามี), วิธีดำเนินการวิจัย (ประกอบด้วยหัวข้อย่อย ได้แก่ ชนิดของการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ การพิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่าง การเก็บรวมรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล) ผลการวิจัย, อภิปรายผลการวิจัย, ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี ในกรณีที่ต้องการเขียนกิตติกรรมประกาศเพื่อขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) และเอกสารอ้างอิง

รูปภาพ ตาราง และ สมการ

  • การนำเสนอรูปภาพ และตาราง สามารถนำเสนอต่อจากข้อความที่กล่าวถึงหรืออาจนำเสนอภายหลังจากจบหัวข้อหรือนำเสนอใบหน้าใหม่ ขนาดของรูปภาพและตารางไม่ควรเกินกรอบของการตั้งค่าหน้ากระดาษที่กำหนดไว้ ใต้ภาพประกอบหรือตารางให้บอกแหล่งที่มาให้ชัดเจนและไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โดยพิมพ์ห่างจากชื่อภาพประกอบหรือเส้นคั่นใต้ตาราง 1 บรรทัด (ใช้ตัวอักษรขนาด 14 point, ตัวธรรมดา) ทั้งรูปภาพและตารางจะต้องมีคำอธิบายโดยคำอธิบายของรูปภาพให้พิมพ์ไว้ใต้รูปภาพและอยู่ชิดซ้ายของหน้ากระดาษ หากรูปภาพใดถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ให้มีการระบุคำอธิบายของแต่ละส่วนโดยอาศัยตัวอักษรภาษาไทยในวงเล็บเรียงตามลำดับเช่น (ก) และ (ข) โดยการเรียงลำดับรูปภาพและตารางให้แยกการเรียงลำดับออกจากกัน ตารางข้อมูลที่นำลงตีพิมพ์ ต้องพิมพ์ด้วย **** เพื่อความคมชัดของตาราง 
  • การเขียนสมการให้เขียนไว้กลางคอลัมน์และมีการระบุลำดับของสมการโดยใช้ตัวเลขที่พิมพ์อยู่ในวงเล็บ เช่น (1), (2) เป็นต้น

การพิมพ์อ้างอิงที่แทรกในเนื้อหาของบทความ

  • ในกรณีที่มีการอ้างอิงแทรกในเนื้อเรื่อง ให้ใช้การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่องแบบการอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation) โดยใส่ตัวเลขตามลำดับการอ้างอิงหลังชื่อผู้เขียน หรือหลังข้อความที่อ้างอิง แบบVancouver
  • การอ้างอิงแทรกในตารางหรือในคำอธิบายตารางให้ใช้หมายเลขที่สอดคล้องกับที่ได้อ้างอิงมาก่อนแล้วในเนื้อหา

การพิมพ์เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

  • เอกสารอ้างอิงทุกลำดับจะต้องมีการอ้างอิงหรือกล่าวถึงในบทความ และผู้เขียนต้องรับผิดชอบความถูกต้องของเอกสารที่นำมาอ้างอิง
  • การอ้างอิงท้ายเล่มเป็นการนำรายการอ้างอิงในเนื้อหา มารวบรวมไว้ในส่วนท้ายของผลงานวิชาการ ภายใต้หัวข้อ เอกสารอ้างอิง (References) โดยจัดเรียงตัวเลขตามลำดับ 1, 2, 3, 4,…… ซึ่งตัวเลขต้อง สอดคล้องกับลำดับตัวเลขของการอ้างอิงในเนื้อหา 
  • การจัดพิมพ์เอกสารอ้างอิงท้ายบทความจะแตกต่างกันตามชนิดของเอกสารที่นำมาอ้างอิง โดยให้จัดพิมพ์ตามรูปแบบการเขียนบรรณานุกรมแบบ Vancouver (รายละเอียดท้ายเอกสาร)

    เมื่อกองบรรณาธิการวารสารวิชาการ ตอบรับบทความแล้วจะพิจารณาสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อประเมินคุณภาพของบทความ กรณีผลการประเมิน“ผ่านอย่างมีเงื่อนไข” ขอให้ผู้เขียนบทความแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้วให้ส่งบทความฉบับแก้ไขจำนวน 1 ฉบับ พร้อมไฟล์ (Microsoft Word) ทั้งนี้ ขอให้แนบบทความและผลการประเมินฉบับเดิมกลับมายังกองบรรณาธิการ เพื่อจัดส่งให้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาประเมินคุณภาพบทความอีกครั้ง บทความที่ผ่านการประเมินและแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิเรียบร้อยแล้ว กองบรรณาธิการจะตรวจความถูกต้องของการใช้ภาษา และการเขียนรายการอ้างอิง หลังจากนั้นจะส่งให้ผู้เขียนแก้ไขให้ถูกต้อง จึงจะสามารถตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เรียบร้อยแล้ว ผู้เขียนบทความจะได้รับวารสารวิชาการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช 1 ฉบับ

ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง

  1. วิจารณ์ พานิช. การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ส. เจริญการพิมพ์; 2556.  
  2. ฉวีวรรณ สัตยธรรม, แผ จันทร์สุข, ศุกร์ใจ เจริญสุข. การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต เล่มที่1 (ฉบับปรับปรุง). นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก; 2556. 
  3. กีรดา ไกรนุวัตร, รักชนก คชไกร.(บรรณาธิการ).การพยาบาลชุมชน. กรุงเทพฯ:โครงการตำรา คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559.
  4. ประสงค์ ตู้จินดา. บทนำและประวัติทางการแพทย์เกี่ยวกับทารกแรกเกิด. ใน: ประพุทธ ศิริปุณย์ อุรพล บุญประกอบ. (บรรณาธิการ). ทารกแรกเกิด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2533. หน้า 1-6.
  5. Rosdahl CB. Textbook of basic nursing 11th ed. China: Wolter Kluwer; 2017. 
  6. Meltzer PS, Kallioniemi A, Trent JM. Chromosome alterations in human solid tumors. In: Vogelstein B, Kinzler KW, (editors). The genetic basis of human cancer. New York: McGraw-Hill; 2002; 93-113.
  7. กาญจนา ใจเย็น. ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยมุสลิมโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.  
  8. Borkowski MM. Infant sleep  and feeding: a telephone survey of Hispanic American [dissertation]. Mount Pleasant (MI): Central Michigan University; 2002
  9. สาคร อินโท่โล่. การดูแลผู้สูงอายุไตวายระยะสุดท้าย: บทบาทท้าทายพยาบาลชุมชนในสังคมผู้สูงอายุ. วารสารสภาการพยาบาล 2563;35(2):5-14.
  10. นิชา เจริญศรี, วรลักษณ์ เลิศธรรม, บัณฑิต พรหมรักษา, ลำไย วงลคร, สุฐิดา เดนพรม, พรทิพย์ ปิ่นลออ, และคนอื่น ๆ. สปีชีร์และการด้อยาต้านจุลชีพของเชื่อ Enterococci ที่พบในสิ่งส่งตรวจจากโรงพยาบาลศรีนครินิทรมหาวิทยาลัยขอนแก่น. ว. เทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2557;26:117-28.
  11. Post JL, Deal B, Hermanns M. Implementation of a flipped classroom: Nursing students’ Perspectives. J Nurs Educ Pract  2015;5(6):25-30.
  12. Wisting, L, Bang, L, Skrinvanrhaug T, et al. Psychological barriers to optimal insulin therapy: More concerns in  adolescent females than males. BMJ Open Diab Res Care 2016; 23;4(1):1-7.doi: 10.1136/bmjdrc-2016- 000203
  13. สุภามาศ ผาติประจักษ์, สมจิต หนุเจริญกุล, นพวรรณ เปียซื่อ. ปัจจัยทำนายความสามารถในการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. รามาธิบดีเวชสาร. [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2557];20:97-110. เข้าถึงได้จาก: https://www.tci-thaijo.org/ index.php/RNJ/article/view/19200
  14. Sengupta D, Chattopadhyay MK. Metabolism in bacteria at low temperature: a recent report.J Biosci. [Internet]. 2013 [cited 2013 Aug 23];38(2):409-12. Available from: http://www.ias.ac.in/jbiosci/ jun2013/409.pdf
  15. สำนักงานสถิติแห่งชาติและยูนิเซฟ. ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยปี 2555. [ออนไลน์]. 2557 [สืบค้นเมื่อ 2559 กรกฎาคม 1]; สืบค้นจาก: URL: http://www. unicef.org/Thailand/tha/media_22564.htm
  16. World Health Organization. Health topics of breastfeeding. [online]. 2016 [cited  2016 July 1]; Available from: URL: http://www.who.int/topics/breastfeeding/en/

นโยบายด้านการแก้ไขข้อผิดพลาด การถอดถอนบทความ และการยกเลิกบทความ

การแก้ไขข้อผิดพลาด

       บรรณาธิการ ผู้เขียน และผู้อ่าน ท่านใดก็ตามที่พบว่าจำเป็นต้องมีการแก้ไขเนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ไปแล้ว สามารถติดต่อมาทาง research@ckr.ac.th โดยระบุเนื้อหาที่ต้องการแก้ไขให้ชัดเจน และโปรดส่งชื่อของบทความ  และหมายเลขหน้ามาให้ครบถ้วนด้วย เมื่อกองบรรณาธิการพิจารณาและอนุมัติคำขอแก้ไขดังกล่าวแล้ว จะมีการเผยแพร่รายละเอียดของการแก้ไขข้อผิดพลาดในวารสารฉบับที่อยู่ระหว่างการตีพิมพ์ ต่อไป

การถอดถอนบทความ

       วารสารจะพิจารณาถอดถอนบทความ ซึ่งเข้าข่าย แต่ไม่ได้จำกัดเพียงเท่านี้ ดังต่อไปนี้:

  • บรรณาธิการมีหลักฐานชัดเจนว่าผลลัพธ์ของบทความไม่น่าเชื่อถือ มีแนวโน้มประพฤติมิชอบ หรือมีข้อผิดพลาดในการคำนวณที่ชัดเจน เป็นต้น
  • รายงานการวิจัยที่ผิดจรรยาบรรณ รวมถึงการโจรกรรมทางวรรณกรรม

       วารสารจะประกาศการถอดถอนบทความ โดยระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นการถอดถอน พร้อมเหตุผลและลิงก์ไปยังบทความที่ถูกถอดถอน เมื่อใดก็ตามที่เป็นไปได้ เพื่อลดผลกระทบในทางที่เป็นลบที่อาจเกิดขึ้น และขอแจ้งให้ทราบว่า ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์จะไม่ได้รับเงินคืนอันเนื่องมาจากการถอดถอนบทความ

การยกเลิกบทความ

      วารสารนี้ไม่สนับสนุนการยกเลิกการตีพิมพ์ เนื่องจากอาจเข้าข่ายต้องสงสัยประพฤติมิชอบทางวิชาการ หากผู้เขียนสามารถแสดงสาเหตุอันสมเหตุสมผลต่อกองบรรณาธิการได้ หลังจากที่ต้นฉบับได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์แล้ว (แต่ยังไม่ได้ตีพิมพ์) และเมื่อกองบรรณาธิการเห็นชอบแล้ว จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการดำเนินการ จำนวน 4,000 บาท ผู้เขียนควรตระหนักว่าควรยกเลิกบทความหากผู้เขียนตรวจพบข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่องที่สำคัญเท่านั้น เนื่องจากไม่ถือเป็นแนวปฏิบัติที่ยอมรับได้ในการยกเลิกบทความหลังจากที่ถูกส่งไปพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว เมื่อได้รับการอนุมัติการยกเลิกบทความแล้ว การส่งบทความจะถูกลบออกจากระบบการส่งบทความออนไลน์ของวารสาร และอีเมลยืนยันการยกเลิกบทความจะถูกส่งไปยังผู้เขียน ขั้นตอนการยกเลิกจะถือว่าสมบูรณ์ เมื่อผู้เขียนได้รับการยืนยันการยกเลิก จากกองของบรรณาธิการวารสารแล้ว เท่านั้น