ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรม การดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ผู้แต่ง

  • สุนิสา ตุกชูแสง โรงพยาบาลบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ภาวะไตเสื่อมในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคไตเรื้อรัง 3) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ และ 4) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อชะลอภาวะไตเสื่อม ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน มีค่าดัชนีความตรงทางเนื้อหาระหว่าง .67-1.00 และค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟา เท่ากับ .90, .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

            ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาพตาม 3อ.2ส. โดยรวมอยู่ในระดับต่ำ (mean = 7.35, SD = 0.61) และมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม ในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ ( mean = 15.81, SD = 0.68) นอกจากนี้พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < .05 (r = .172, .342 และ .233) ปัจจัยความรอบรู้ทางสุขภาพด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านการเข้าถึงข้อมูล และด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อชะลอไตเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < .05 (r = .134, .235 และ .087)

Downloads

Download data is not yet available.

References

World Health Organization. A global brief on hypertension silent killer, global public health crisis [online]. 2013 [cited 2019 Oct 17]. Available from: https://bitly.cx/uwib3

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์; 2562.

คณะทำงานจัดทำรายงานประจำปี สำนักโรคไม่ติดต่อ. รายงานประจำปีสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2560. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.

กรรณิการ์ การีสรรพ์, พรทิพย์ มาลาธรรม, นุชนาฏ สุทธิ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. วารสารรามาธิบดีพยาบาลสาร 2562;25(3):280-295.

Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health [online]. 2000 [cited 2019 Oct 20]. Available from: https://doh.hpc.go.th/bs/topicDisplay.php?id=607

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: กระบวนการปฏิบัติการ เครื่องมือประเมิน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2564.

งานยุทธศาสตร์และแผนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. รายงานอัตราการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง งานยุทธศาสตร์และแผน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี ปีงบประมาณ 2563 -2564. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี [ออนไลน์]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 9 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://pbio.moph.go.th/oldweb/public/data_30062563.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อ. สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี [ออนไลน์]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: www.tro.moph.go.th/provis/main/index.php

ประเสริฐ ธนกิจจารุ. สถานการณ์ปัจจุบันของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย. วารสารกรมการแพทย์ 2558;40(5):5-18.

ธวัชชัย วรพงศธร และสุรีย์พันธุ์ วรพงศธร. การคำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับงานวิจัยโดยใช้ โปรแกรมสำเร็จรูป G*Power. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2561;41(2):11-21.

เกตุนรินทร์ บุญคล้าย, นิโรบล กนกสุนทรรัตน์, นพวรรณ พินิจขจรเดช. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง สำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ 2563;15(1):225-239.

รุ่งนภา อาระหัง, สุธีรา ฮุ่นตระกูล, ศศิธร รุจิรเวช. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์นาวี 2560;4(45):509-526.

Thato R. Nursing research: Concepts to application (3rd). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House; 2018.

อติญาณ์ ศรเกษตริน, รุ่งนภา จันทรา, รสติกร ขวัญชุม, ลัดดา เรืองด้วง. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส.ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ต.คลองฉนาก อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560;34(3):253-264.

มนตรี นรสิงห์ และสุทธิพันธ์ ถนอมพันธ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือความดันโลหิต กรณีศึกษาโรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ 2562;10(1):35-50.

เพ็ญพร ทวีบุตร, พัชราพร เกิดมงคล และขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2560;31(1):129-145.

นพดล คําภิโล. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลําปาง. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [ออนไลน์]. 2559. [เข้าถึงเมื่อ พฤษภาคม 2566]:1-110. เข้าถึงได้จาก: https://bitly.cx/wYpBW

พิมพ์ใจ ทายะติ, ชไมพร ดิสถาพร, ฤทธิชัย อ่อนมิ่ง. รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ ประเทศไทยเพื่อการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. Veridian E-Journal Silpakorn University 2560;10(3):1456-1471.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์; 2562.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานประจำปีสำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2562. กรุงเทพ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-12