รูปแบบการบริหารความเสี่ยงในผู้ป่วยตกเลือดหลังคลอด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

ผู้แต่ง

  • อมรศรี พังเครือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

คำสำคัญ:

ตกเลือดหลังคลอด, การบริหารความเสี่ยง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบบริหารความเสี่ยง เพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะตกเลือดหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในห้องคลอด และตึกหลังคลอด จำนวน 29 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับภาวะสุขภาพ (การสูญเสียเลือดจากการคลอด) จากข้อมูลเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์และเวชระเบียนของโรงพยาบาล 2) แบบบันทึกข้อมูลของมารดาหลังคลอดระยะแรก และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติสำหรับป้องกันและแก้ไขภาวะตกเลือดหลังคลอด ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ค่า IOC ระหว่าง .67-1.00 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบบริหารความเสี่ยงในผู้ป่วยตกเลือดหลังคลอด ประกอบด้วย 1) การคัดกรองปัจจัยเสี่ยงในระยะแรกรับและแนวปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก 2) แนวปฏิบัติในการป้องกัน และแก้ไขภาวะตกเลือดหลังคลอดในห้องคลอดแบ่งเป็น 4 ระยะคือ ระยะรอคลอด ระยะคลอด ระยะคลอดรก และระยะ 2 ชั่วโมงหลัง คลอด และ 3) แนวปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขภาวะตกเลือดหลังคลอดตึกหลังคลอด ภายหลังการใช้รูปแบบพบ 1) อัตราการตกเลือดหลังคลอดลดลง เหลือร้อยละ 1.59 2) ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง 3) ความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติสำหรับการป้องกันและแก้ไขภาวะตกเลือดหลังคลอด อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.79 (SD = 0.41)

Downloads

Download data is not yet available.

References

World Health Organization. WHO recommendations for the prevention and treatment of postpartum hemorrhage Italy: WHO Library Cataloguing-in- Publication Deta World; 2012.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่องการป้องกันและรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอด [ออนไลน์]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 30 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.rtog.or.th/home/wp-content/uploads/2020/9/OB-63020-Prevention-and-PreManagement-of-Postpatum-Hemorrage.pdf

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. ระบบฐานข้อมูลกลาง กรมอนามัย 2565 [ออนไลน์]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 8 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https//hp.anamai.moph.go.th.

หน่วยงานห้องคลอด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. สถิติการตกเลือดหลังคลอดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี 2562-2566.

World Health Organization. UNICEF Trend in maternal mortality: 1990 to 2013 estimates by WHO, UNICEF, UNFPA. The World Bank and the United Nations Population Division [online]. 2014 [cited 2023 Jan 16]. Available from: http://appswho.int/bitstream/10665/112682/97892451507226_eng.pdf?ua=1.

ศิริวรรณ วิเลิศ, ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ, ดรุณี ยอดรัก. สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการ ตกเลือดหลังคลอดในมารดาที่คลอดทางช่องคลอดในหอผู้ป่วยสูติกรรมสามัญโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2559;9(2):173-190.

Einerson BD, Baksh L, Fisher JA, Sullivan A, Clark EAS. Postpartum Hemorrhage Implementing your bundle. University of Utah [online]. 2016 [cited 2023 Jan 16]. Available from: https://healthcare.utah.edu/echo/docs/pregnancy-care-Idactics/201609.09-postpartumhemorrahage.pdf.

Pillitteri A. Maternal & child health nursing Care of the childbearing & childrearing Family (5thed.). Philadelphia, PA: Lippincott Williams & Wilkins; 2014.

ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ. การตกเลือดหลังคลอด:บทบาทสำคัญของพยาบาลในการป้องกัน. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 2560;6(2):146-157.

วิภาวรรณ รัตนพิทักษ์. การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะตกเลือด. วารสารพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสยาม 2561;19(36):101-102.

ศิริลักษณ์ ฤทธิ์ไธสง. การบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลในบริบทของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารกฎหมายสุขภาพและและสาธารณสุข 2560;3(1):77-87.

Buckwalter KC, Cullen L, Hanrahan K, Kleiber C, McCarthy AM, Rakel B, Steelman V, Tripp-Reimer T, Tucker S. LOWA Model of Evidence-Based Practice: Revisions and Validation. Worldviews Evid Based Nurs. 2017;14(3):175-182.

ศิริภรณ์ ปิ่นโพธิ์, สมพร วัฒนนุกูลเกียรติ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันและแก้ไข ภาวะตกเลือดหลังคลอดระย 2-24 ชั่วโมงหลังคลอดแผนกสูติกรรมโรงพยาบาลขอนแก่น [ออนไลน์]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 30 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://app.gs.kku.ac.th/gs/th/publicationfile/item/22ndngrc-2021/MMO18/MMO18.pdf

เรณู วัฒนเหลืองอรุณ, วันชัย จันทราพิทักษ์, นุชนาถ กระจ่าง, รุ่งทิพย์ อ่อนละออ. ประสิทธิผลของการใช้แบบประเมินความเสี่ยงและแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี ในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2560;13(2):25-42.

นววรรณ มณีจันทร์, อุบล แจ่มนาม. ศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก พื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก โรงพยาบาลราชบุรี. วารสารวิชาการแพทย์ 2560;31(1):143-155.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26