ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
คำสำคัญ:
การจัดการตนเอง, พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, โรคเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเอง ต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ และมีระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (HbA1c) > 7.00 % จำนวน 40 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการจัดการตนเอง แบบประเมินพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และแบบบันทึกค่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (HbA1c) ตรวจสอบความตรงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .72 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบที
ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หลังได้รับการจัดการตนเองต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Downloads
References
International Diabetes Federation. Diabetes 2020 [online]. 2023 [cited 2023 July 1]. Available from: https://idf.org/about-diabetes/type-2-diabetes/
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค รณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2564 [ออนไลน์]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 13 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc
กองโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค. การเข้าถึงการดูแลโรคเบาหวาน [ออนไลน์]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 22 กันยายน2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=br
ฐานข้อมูล Health Data Center [HDC] กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคเบาหวาน [ออนไลน์]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 24 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://cbi.hdc.moph.go.th/hdc/main/search.php?search=
สถิติสุขภาพคนไทย. รายงานสถิติสุขภาพระดับพื้นที่ [ออนไลน์]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 24 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hiso.or.th/thaihealthstat/area/index.php?ma=3&pf=01818 101&tp=3302
Kanfer FH & Gaelick-bays L. Self-management methods. In Kanfer FH & Goldstein A. (Eds.), Helping People Change: A Textbook of Methods (3rd ed.) New York: Pergamon Press. 1986. p. 283-345.
วีระศักดิ์ ดำรงพงษ์. การจัดการตนเองและการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการลดระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานที่คุมไม่ได้โรงพยาบาลไทรงาม. วารสารโรคและภัยสุขภาพสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ 2566;17(2):218-229.
ปรางค์ บัวทองคำวิเศษ, ดวงกมล ปิ่นเฉลียว และสุทธีพร มูลศาสตร์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในตำบลท่าก๊ออำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. วารสารพยาบาลตำรวจ 2560;8(1):105-116.
สาวิตรี นามพะธาย. ผลของโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุระดับน้ำตาลในเลือดและค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้. [วิทยานิพนธ]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2561.
ฐิตารัตน์ โกเสส, วิลาวัณย์ เตือนราษฏร์, ศิวพร อึ้งวัฒนา. ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อการจัดการอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่มีภาวะเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ในชุมชน. พยาบาลสารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2565;49(2):55-68.
ปราณี ศรีสงคราม, สุภาณี วาจาดี, นพรัตน์ จันทร์ฉาย. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2563;5(1):84-94.
สมถวิล สนิทกลาง, สุนีย์ ละกำปั่น, ปาหนัน พิชยภิญโญ. ผลของโปรแกรมการพยาบาลส่งเสริมการจัดการตนเองร่วมกับการสนับสนุนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ฉีดอินซูลิน. วารสารสาธารณสุข 2565;52(3):1-17.
วรางคณา บุตรศร. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 2564;18(1):13-25.
โชติกา สัตนาโค, จุฬาภรณ์ โสตะ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ทีมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2560;10(4):32-47.
ชมนาถ แปลงมาลย์, นุชนาถ มีนาสันติรักษ์. ภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคของผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. [รายงานวิจัย]. มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2562.
อณัญญา ลาลุน. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อระดับน้ำตาลสะสมในเลือดและคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลแก่งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2564;11(1):66-80.
เนตรนภา บุญธนาพิศาน, สุภาพร แนวบุตร, วรวรรณ์ ทิพย์วารีรมย์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองโดยใชแอพพลิเคชั่นไลน ตอพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2565;16(3):47-59.
ตวงรัตน์ อินทรแสน. ผลของการจัดการรายกรณีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลบ้านโป่ง. วารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช 2563;1(1):64-75.
จิราพร หมื่นศรี, วันเพ็ญ ออกเวหา. ประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยการตรวจติดตามระดับน้ำตาลด้วยตนเอง. ใน: การประชุมวิชาการงานบริการปฐมภูมิสมาคมเวชกรรมสังคมแห่งประเทศไทยปี 2566. หน้า 1-20.
ทรงกรฎ ศฤงคาร, มยุรี นิรัตธราดร, ปรีย์กมล รัชนกุล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองและครอบครัวต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับนํ้าตาลและระดับนํ้าตาลสะสมในเลือด ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2565;38(1):86-95
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช เล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยฯ และคณาจารย์ท่านอื่นในวิทยาลัย ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่อง เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว