การศึกษาสมรรถนะด้านการจัดการสุขภาพชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านในอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • พชรกรณ์ นิยมเวช โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท้ายหาด จังหวัดสมุทรสงคราม
  • นงนุช วงศ์สว่าง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี ราชบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, การจัดการสุขภาพชุมชน, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะด้านการจัดการสุขภาพชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และเปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถนะด้านการจัดการสุขภาพชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน ประสบการณ์การฝึกอบรม การสนับสนุนของหน่วยงาน และสัมพันธภาพระหว่างผู้ร่วมงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานในอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 276 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสมรรถนะด้านการจัดการสุขภาพชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง .67-1.0 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว

ผลการวิจัย พบว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีสมรรถนะด้านการจัดการสุขภาพชุมชนโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( =3.75, SD = 0.48) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านการเป็นต้นแบบด้านสุขภาพและด้านการดำเนินงานด้านจัดการสุขภาพชุมชน อยู่ในระดับมาก ( =3.84, SD = 0.51,  =3.72, SD = 0.54 ตามลำดับ) สมรรถนะด้านการจัดการสุขภาพชุมชนแยกตามประสบการณ์การฝึกอบรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยพบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่เข้ารับการอบรม 1-3 หลักสูตรกับเข้ารับการอบรม 7-8 หลักสูตรมีสมรรถนะด้านการจัดการสุขภาพชุมชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่เข้ารับการอบรม 4-6 หลักสูตรกับเข้ารับการอบรม 7-8 หลักสูตร มีสมรรถนะด้านการจัดการสุขภาพชุมชน แตกต่างกัน          อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 

Downloads

Download data is not yet available.

References

พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136, ตอนที่ 56 ก. (2562).

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. คู่มือมาตรฐานงานสาธารณสุขมูลฐาน.มาตรฐานงานสาธารณสุขมูลฐาน. กรุงเทพฯ; 2560.

สำนักสื่อสารและประชาสัมพันธ์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. 3 หมอ “คนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน” [ออนไลน์]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 21 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://prgroup.hss.moph.go.th/medias/article/1175-3-หมอ-“คนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว-3-คน”

กระทรวงสาธารณสุข. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2554. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 128, ตอนพิเศษ 33 ง. (2554).

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มืออสม. ยุคใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2554.

ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. ร้อยละแกนนำสุขภาพมีศักยภาพในการจัดการสุขภาพตนเองและชุมชน (ร้อยละ 65) ตัวชี้วัด สำนักงบประมาณ คำรับรองเขต ปี 2567 [ออนไลน์]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 21 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://3doctor.hss.moph.go.th/main/rp-kpi-health

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มืออสม. นักจัดการสุขภาพชุมชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556.

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือหลักสูตรอสม. เชี่ยวชาญ การจัดการสุขภาพชุมชนและอนามัยสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2562

สมหมาย หิรัญนุช, สิริกาญจน์ กระจ่างโพธิ์, ไพลิน นุกูลกิจ. ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุข จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2564;7(2):61-70.

นาฏยา นุชนารถ, ศิริชัย เพชรรักษ์, สุเทพ เชาวลิต. การพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ 2561;6(2): 768-779.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods 2007;39(2):175-191.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. New York: Academic Press; 1977.

บุญชม ศรีสะอาด. หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2554.

ธัญญาสิริ ธันยสวัสดิ์, นิตยา จันทบุตร, ใจเพชร นิลบารันต์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี 2562;8(1):1-10.

นูไรฮัน ฮะ. ความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตอำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2562.

ทรรศนีย์ บุญมั่น. ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย [วิทยานิพนธ์]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

ยุทธนา แยบคาย. รูปแบบการพัฒนาผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

Alshmemri M, Shahwan-Akl L, Maude P. Herzberg’s two-factor theory. Life Science Journal 2017;14(5):12-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-25