ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันโรคเรื้อรัง อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, บทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพกับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันโรคเรื้อรัง และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับระดับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ปฏิบัติงานและขึ้นทะเบียนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 400 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น โดยใช้สัดส่วนจำแนกตามตำบล เครื่องมือในการวิจัย 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพ 3) บทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันโรคเรื้อรัง ผ่านผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงวิเคราะห์ไคสแควร์
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ (𝑥̅ = 3.96, SD = 0.53) ด้านความรู้ ความเข้าใจ (𝑥̅ = 0.82, SD = 0.17) และด้านทักษะการตัดสินใจ (𝑥̅ = 3.83, SD = 0.60) คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านทักษะการสื่อสารสุขภาพ (𝑥̅ = 3.63, SD = 0.52) ด้านการรู้เท่าทันสื่อ (𝑥̅ = 3.38, SD = 0.69) และด้านการจัดการตนเอง (𝑥̅ = 3.54, SD = 0 .53) และบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันโรคเรื้อรัง มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 3.54, SD = 0.53) การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันโรคเรื้อรัง พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันโรคเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (r = .564, p < .05)
Downloads
References
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มืออสม. นักจัดการสุขภาพชุมชน. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559.
กองทุนสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. สิทธิพลเมืองระบบสุขภาพภาคประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: เรคิเอชั่น; 2560.
กองทุนสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนสุขภาพ. แนวทางการดำเนินงาน อสม.สร้างสุขภาพ รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2561.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ จากอสม.สู่อสค. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โอ-วิทย์ (ประเทศไทย) จำกัด; 2560.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้าน สุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โอ-วิทย์ (ประเทศไทย) จำกัด; 2561.
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพเข้าถึง เข้าใจและนำไปใช้. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชซิ่ง จำกัด (มหาชน); 2561.
ชินตา เตชะวิจิตรจารุ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานปฏิสัมพันธ์ วิจารณญาณ.กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชซิ่ง จำกัด (มหาชน); 2561.
คณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน. การดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2560
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช; 2559.
ประภัสสร งาแสงใส. กรณีศึกษาความฉลาดทางสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วาระสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2561;9(พิเศษ):82-87.
เบญจวรรณ บัวชุ่ม. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลป่างิ้ว อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2563;16(3):49-58.
อุไรรัตน์ คูหะมณี, ยุวดี รอดจากภัย, นิภา มหารัชพงศ์. การศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพกับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันโรคเรื้อรัง. [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2563. [เข้าถึงเมื่อ 11 สิงหาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://buuir.buu.ac.th/handle/1234567890/8808
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช เล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยฯ และคณาจารย์ท่านอื่นในวิทยาลัย ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่อง เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว