ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองไร่ ตำบลทุ่งหลวง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
ความรู้, แรงสนับสนุนทางสังคม, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านหนองไร่ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จำนวน 196 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก แรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรค และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง .67-1.0 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม KR-20 เท่ากับ .70 ค่าสัมประสิทธิอัลฟ่าของคอนบาค เท่ากับ .77, .86, .71, .70, .75 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 54.36 แรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับมาก (x ̅= 3.38, SD = 0.95) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.28, SD = 0.68) การรับรู้ความรุนแรงของโรค อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.26, SD = 0.65) การรับรู้ประโยชน์ของการควบคุมโรคอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.26, SD = 0.70) การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคอยู่ในระดับมาก (x ̅=4.20, SD = 0.71) พฤติกรรมการป้องกันโรค อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.34, SD = 0.53) การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรค และการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค มีอิทธิพลในการทำนายร่วมกันต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 52.30 (R2 = .523, Radj = .515, F = 69.741, SE = 7.279, p < .05)
Downloads
References
ชัยยศ ยงค์เจริญชัย. ไข้เลือดออก: นักวิจัยไทยผู้ร่วมพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกตัวแรกของโลกเสนอรัฐเร่งจัดซื้อวัคซีน [ออนไลน์]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงจาก: https://www.bbc.com/thai/thailand-57479000.
เกียรติศักดิ์ คำดีราช. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ R2R BKPHO; 2566.
กรมควบคุมโรค. การคาดการณ์สถานการณ์โรคไข้เลือด พ.ศ. 2565. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2565.
โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน. โรคไข้เลือดออก ปี 2566 [ออนไลน์]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 10 เมษายน 2567]. เข้าถึงจาก: https://www.tropmedhospital.com/knowledge/54126.html
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี. สรุปรายงานโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2566. (เอกสารอัดสำเนา). ราชบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี; 2565.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2567. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. นนทบุรี; 2567.
อลงกฎ ดอนละ. ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการปฏิบัติตนในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 2562;17(1):43-55.
อรพินท์ พรหมวิเศษ, ชาตรี ประชาพิพัฒน์ และสาโรจน์ เพชรมณี. กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยใช้เทคนิคกระบวนการ Appreciate Influence Control: บ้านช่องอินทนิล หมู่ 10 ตำบลตะกุกเหนือ อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน 2559;4(2):167-183.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การคาดการณ์สถานการณ์โรคไข้เลือด พ.ศ. 2566. นทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2566.
ปฐวี ปวกพรหม, อลิสา นิติธรรม, ณัฐกฤตา ศิริโสภณ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตตำบลบางกระเจ้า อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารพยาบาลทหารบก 2565;23(2):68-77.
วันทนา ขยันการนาวี, พัฒนาวดี พัฒนถาบุตร, ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้ออกของประชาชนในพื้นที่แนวป่าห้อยขาแข็ง อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2565;14(2):1-19.
World Health Organization. Global strategy for dengue prevention and control 2012-2020 [online]. 2012. [cited 2017 Jan 10]. Available from: http://www.who.
สุรัตน์ ตันศิริ, กาญจนา พิบูลย์, ธรรมวัฒน์ อุปวงษาพัฒน์. สถานการณ์ปัญหาโรคไข้เลือดออก อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. บูรพาเวชสาร 2561;5(1):1-12.
ภคอร โจทย์กิ่ง, ประจักร บัวผัน. การมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ชุมชนสามเหลี่ยมเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2560;24:29-37.
Rosenstock IM. The health belief model and preventive health behavior. In MH Becker (Ed), The health belief model and personal behavior New Jersey: Charles B. Slack; 1974.
Cohen J. Statistical power for the behavioral sciences. 2nd ed. New York : Academic Press; 1977.
Bloom et.al. Handbook on Formation and Summatic of Student Learning. New York: McGraw Hill; 1956.
Best JW. Research in Education. New Jersey: Prentice – Hall; 1981.
สุจิตรา สุคนธมัต, ณัฐวดี จันคำ, ภัทรวริน สามารถ, สุกัญญา แซ่หลิม. ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในหมู่บ้านดินสอพอง ตำบลสร่างโศก อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13; 2564.
ธนันญา เส้งคุ่ย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี 2563;9(1):6-19.
วันทนา ขยันการนาวี, พัฒนาวดี พัฒนถาบุตร, รณรงศักดิ์ หนูสอน. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่แนวป่าห้วยขาแข้งอำเภอลานศักดิ์ จังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2565;14(2):1-19.
ณัฐยา สุนัติ, เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, ยุวดี รอดจากภัย, วัลลภ ใจดี. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา2564;16(2):53-67.
พุฒิพงศ์ มากมาย, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการป้องกันควบคุม สคร.2 พิษณุโลก2566;10(2):108-118.
วิทยา ศรแก้ว. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในตำบลที่มีอัตราป่วยสูง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2567;2(1):1-14.
แพรวพรรณ จันต๊ะนาเขต, สุทธิชัย ศิรินวล. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม; 7 – 8 กรกฎาคม 2565.
Hochbaum GM. Public Participation in Medical Screening Program. PHS publication 1958;572:1-28.
Marshall HW, Becker. “The Health Belief Model and Prediction of Dietary Compliance”: A Field Experiment. Journal of Health and Social Behavior 1977;18:345-355.
ประยม ศิริมา . ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลละลาย อำเภอกัณทรลักษณ์ จังหวัดศรีษะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีษะเกษ. 2566;2(extra2):112-124.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช เล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยฯ และคณาจารย์ท่านอื่นในวิทยาลัย ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่อง เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว