ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ธิดา ธิติวิภู โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

คำสำคัญ:

การคลอดก่อนกำหนด, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์

บทคัดย่อ

         การคลอดก่อนกำหนด ถือเป็นปัญหาที่สำคัญทางด้านสูติศาสตร์ ส่งผลให้เกิดภาวะทุพพลภาพ และการตายของทารกแรกคลอดค่อนข้างสูง การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี โดยศึกษาจากหญิงตั้งครรภ์ที่คลอด ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ.2565 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 จำนวน 1,565 ราย และหญิงตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนด 98 ราย รวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูล โดยใช้แบบฟอร์มบันทึกที่มีโครงสร้าง ประกอบด้วย ลักษณะทางประชากรและสังคม ลำดับการตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพ ภาวะซีด และภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง .67 - 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก
          ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ (AOR adj 1.67, 95%CI 1.01-2.51) การฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์คุณภาพ (AOR adj 1.61, 95%CI 1.05-2.48) และภาวะซีด (ความเข้มข้นของเลือด < 33%) (AOR adj 2.28, 95%CI 1.17-4.44)

Downloads

Download data is not yet available.

References

ฐิรวรรณ บัวแย้ม, เพียงบุหลัน ยาปาน, สุจิตตรา พงศ์ประสบชัย. การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2562;25:243-54.

อุ่นใจ กออนันตกุล. บทความวิชาการ: การคาดการณ์การคลอดก่อนกำหนด เพื่อป้องกันรักษา. สูตินรีแพทย์สัมพันธ์ 2562;28(1):8-15.

ธราธิป โคละทัต. ผลกระทบของคลอดก่อนกำหนด. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชซิ่ง; 2561.

ระพี เฉลิมวุฒานนท์, เอื้อมพร ราชภูติ, ศิโรรัตน์ โชติกสถิต. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลระนอง. ว. วิชาการแพทย์เขต 11 2558;30:21-9.

World Health Organization. Preterm birth health Statistic [online]. Geneva: WHO; 2020 [cited 2020Jan 12]. Available from: https://www.who.int/mediacentre/factsheets/WHO-PHS-2020

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. ร้อยละหญิงไทยคลอดก่อนกำหนดในปีงบประมาณ 2564: กลุ่มรายงานมาตรฐาน [ออนไลน์]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 18 พ.ย. 2564 ]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th

ประไพรัตน์ แก้วศิริ, ดารุนนีย์ สวัสดิโชตติ์, ตรีนุช คาทะเนตร. ปัจจัยทำนายการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์จังหวัดนครพนม. วารสารกองการพยาบาล 2562;46(3):73-86.

ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. ฝ่ายการพยาบาล. สถิติห้องคลอด ปี 2566 ราชบุรี: โรงพยาบาล; 2566.

ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม [ออนไลน์]. นนทบุรี: กรมอนามัย; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 11 พ.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://dashboard.anamai.moph.go.th/inspection?year=2022

วิทวัส หาญอาสา. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลบึงกาฬ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2565;30(1):35-44.

ฐิติกานต์ ณ ปั่น. ปัจจัยที่มีผลต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลอมก๋อย อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2557;10:142-50.

Kinpoon K, Chaiyarach S. The incidence and risk factors for preterm delivery in northeast Thailand. Thai J Obstet Gynaecol 2021;29(2):100-111.

Rahmati S, Azami M, Badfar G, Parizad N, Sayehmiri K. The relationship between maternal anemia during pregnancy with preterm birth: a systematic review and meta-analysis. J Matern Fetal Neonatal Med 2020;33(15):2679– 89. doi:10.1080/14767058. 2018.1555811

ศิริกนก กลั่นขจร. บทบาทพยาบาลในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2564;14(ฉ.1):54-65.

กัญยา ทูลธรรม, สุภาพร สุภาทวีวัฒน์. ปัจจัยที่มีผลต่อการคลอดก่อนกำหนด อัตราความถูกต้องครอบคลุมของแนวทางการดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และอัตราความสำเร็จในการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2566;20(2):75-88.

Siegler Y, Weiner Z, Solt I. ACOG Practice Bulletin No. 217: Prelabor Rupture of Membranes. Obstet Gynecol 2020;136:1061.

Mercer BM, Chien EKS. Premature Rupture of the Membranes. In: Resnik R, Lockwood C, Moore T, Greene M, Copel J, Silver R, editors. Creasy & Resnik's Maternal-Fetal Medicine: Principles and Practice. 8th ed. Philadelphia: Elsevier; 2019:712-22.

Roman A, Ramirez A, Fox NS. Screening for preterm birth in twin pregnancies. Am J Obstet Gynecol MFM 2022;4(2S):100531.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-02

How to Cite

1.
ธิติวิภู ธ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. Acad Nursing J Chakriraj [อินเทอร์เน็ต]. 2 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 24 มกราคม 2025];4(2):E001625. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/article/view/1625