คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลบ้านโป่ง

ผู้แต่ง

  • ประภารัตน์ เลิศวิลัย โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตการทำงาน, พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน การรับรู้บรรยากาศองค์การ ค่านิยมในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลบ้านโป่ง และหาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคล การรับรู้บรรยากาศองค์การ ค่านิยมในการทำงาน กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลบ้านโป่ง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ แบบสอบการรับรู้บรรยากาศองค์การ และแบบสอบค่านิยมในการทำงาน ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ ระหว่าง .67-1.00 และค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟา เท่ากับ .92, .92 และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์โดยใช้สถิติถดถอยพหุแบบขั้นตอน
        ผลการวิจัย พบว่าพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลบ้านโป่ง มีคุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับต้องปรับปรุง ร้อยละ 53.80 การรับรู้บรรยากาศองค์การและค่านิยมในการทำงานโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 62.80, 61.40 ตามลำดับ การรับรู้บรรยากาศองค์การและค่านิยมในการทำงานมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลบ้านโป่ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลบ้านโป่ง ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การติดต่อสื่อสารภายในองค์กร ระดับตำแหน่งงาน และเจตคติต่อผลตอบแทน โดยสามารถทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานได้ ร้อยละ 61.60 (R2 adj. = .617

Downloads

Download data is not yet available.

References

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 ฉบับย่อ [ออนไลน์]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2567 มกราคม 5]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf

เพียงใจ โพธิ์เงิน, ชุลีรัตน์ สาระรัตน์, ภาณุ อดกลั้น. คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ. พุทธชินราชเวชสาร 2559;33(2):200-206.

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. บทบาทหน้าที่ของการพยาบาลวิชาชีพ [ออนไลน์]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 2567 มกราคม 5]. เข้าถึงได้จาก: https://nurse.npru.ac.th/system/20190113191522_a0a9ca0b2dc8a20555739e94e6ab03dc.pdf

กฤษดา แสวงดี .วิกฤติขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการสุขภาพ ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; ข้อเสนอเชิงนโยบาย. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560;26(2):457-468.

ดุษณีย์ ยศทอง. ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพและแนวทางแก้ไข: การจัดการปัจจัยระดับบุคคล. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2562;20(38):134-143.

กองแก้ว ย้วนบุญหลิม, กิติยากร คล่องดี, พิทยา พิรุณอมรพันธ์, ปานจิตต์ โพธิ์ทอง, ปิยธิดา รุ้งมัจฉา. คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรทางการพยาบาลในโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2564;39(1):59-67.

สุนิภา ชินวุฒิ, กฤษณา อุไรศรีพงศ์, จุฑามาศ วงศ์จันทร์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2563;30(3):90-103.

งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลบ้านโป่ง. สถิติที่สำคัญ ปี 2566 [ออนไลน์]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2567 มกราคม 10]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bph.moph.go.th/stat/

Brooks BA, Anderson MA. Defining quality of nursing work life. Nurs Econ. 2005;23(6):319-326.

Best JW. Research in education. 3rd ed. Englewood Cliffs (NJ): Prentice-Hall Inc.; 1977.

Likert R, Likert JG. New ways of managing conflict. New York: McGraw-Hill; 1976.

Wallack S, Goodale J, Smith P. Development of the Survey of Work Value. J Appl Psychol. 1971;55:331-338.

ศุภลักษณ์ ทองขาว, โกวิทย์ กังสนันท์. คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาล

ราชวิถี. วารสารวิจัยสุขภาพทางการพยาบาล 2563;36(1):255-237.

พรรณชนก เดชสิงห์. คุณภาพชีวิตและสมดุลการทำงานในพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.

กนกวรรณ ชัยสิทธิ์สงวน, สุวิมล จอดพิมาย, ปิ่นทิพย์ บุญยชาติ, พรสุวรรณ จารุพันธุ์. คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลและผดุงครรภ์ โรงพยาบาลทุติยภูมิ. วารสารการบริหารการศึกษา 2562;10(1):1003-1016.

พรพรรณ พิทักษา, นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์, วิริญธิ์ กิตติพิชัย, สุมลชาติ ดวงบุปผา. สมดุลชีวิตในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข 2564;6(20):83-94.

ภัทรมณ ทับสูงเนิน. โมเดลเชิงสาเหตุของคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลของรัฐในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2564.

สุภารัตน์ ประมวล, อรอนงค์ วิชัยคำ, กุลวดี อภิชาตบุตร. คุณภาพชีวิตการทำงานและแนวทางส่งเสริมพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน. พยาบาลสาร 2563;47(3):351-362.

สืบสิทธิ์ ครองชื่น, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, มธุรส ทิพยมงคลกุล, วัลลีรัตน์ พบคีรี. ค่านิยมวิชาชีพ การสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2561;27(6):1007-1016.

Walton RE. Improving the quality of working life. Harv Bus Rev. 1973;15(1):11-21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-14