ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้และพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลบ่อพลอย

ผู้แต่ง

  • สุรภี ดอกยอ โรงพยาบาลบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด, พฤติกรรมการพยาบาล

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ต่อความรู้และพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ทำงานหนึ่งปีขึ้นไปปฏิบัติงานแผนกผู้ป่วยในและอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลบ่อพลอยจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 35 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ประกอบด้วย การบรรยาย การสาธิตและฝึกทักษะ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 4) แบบสอบถามพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลหลังเข้าร่วมโปรแกรม ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรม เท่ากับ 4.38 ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถาม .67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามความรู้ KR-20 เท่ากับ .80 แบบสอบถามพฤติกรรม มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค เท่ากับ .86 และ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที

          ผลการวิจัยพบว่า ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ฯ คะแนนเฉลี่ยความรู้เท่ากับ 13.15 (SD = 1.85) และมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง (  = 62.17, SD = 5.08) หลังเข้าร่วมโปรแกรม ฯ พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยความรู้ เท่ากับ 18.09 (SD = 1.56) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก ( = 78.23, SD = 3.72) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) ความพึงพอใจภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.88, SD = 0.12)

Downloads

Download data is not yet available.

References

WHO. Clinical Care for Sepsis [online]. 2023 [cited 2024 Apirl 16]. Available from: https://www.who.int/teams/integrated-health-services/clinical-services-andsystems/clinical-management-of-sepsis

ศุภา เพ็งเลา. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตโรงพยาบาลโพธาราม. วารสารการแพทย์เขต 4-5 [ออนไลน์]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2567]; 39:698-711. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/248762/169227

กระทรวงสาธารณสุข. อัตราตายผู้ป่วย ติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด [ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

ฑิตยา วาระนัง. ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงรายเวชสาร [ออนไลน์]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 4 มกราคม 2567]; 11:1-8. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci.thaijo.org./index.php/crmjournal/article/view/179719

ประกาศิต เทนสินธิ์, ชยันตร์ธร ปทุมานนท์, สุขี พบลาภ, ชลิสา นันทสันติ, ธนิตา มนตรี. ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตเร็วและช้าในผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ [ออนไลน์]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 4 มกราคม 2567]; 35:101-109. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci.thaijo.org./index.php/missBH/article/viwe/241282

สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย severe sepsis และ septic shock (ฉบับร่าง) พ.ศ. 2558 [ออนไลน์]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://externinternguide.wordpress.com/wp-content/uploads/2017/12/52-septic-shock-draft-2015exin.pdf

รัฐภูมิ ชามพูนท, ไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล, บุญส่ง พัจนสุนทร (บ.ก.). การดูแลรักษาผู้ป่วย Severe Sepsis และ Septic Shock (ฉบับร่าง) แนวทางเวชปฏิบัติ [ออนไลน์]. กรุงเทพฯ: สมาคมเวชบำบัดวิกฤต; 2558. [เข้าถึงเมื่อ 4 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://externinternguide.wordpress.com/wp-content/uploads/2017/12/52-septic-shock-draft-2015exin.pdf

กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลบ่อพลอย. รายงานผลการประเมินสมรรถนะของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระเสเลือด; 2566.

Bandura A. Self-efficacy: The exercise of control. New York: Freeman; 1997.

นิกร จันภิลม. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อความสามารถในการให้บริการ การแพทย์ฉุกเฉินของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ [วิทยานิพนธ์]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2559.

Bloom BS. Human characteristics and school learning. New York: Mc Graw-Hill Book; 1976.

Best JW. Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc; 1986.

รายงานสถิติตัวชี้วัดรายโรคประจำปี 2566–2567. โรงพยาบาลบ่อพลอย. กลุ่มงานการพยาบาล; (เอกสารไม่ตีพิมพ์).

ประภาวดี เวชพันธ์, อรอุมา โชติมโนธรรม, สิริพงษ์ แทนไธสง, สุภาพรณ์ ตัณฑ์สุระ. ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อดื้อยาด้านจุลชีพ. วารสารวิชาการทางการพยาบาล และวิทยาศาสตร์สุขภาพ [ออนไลน์]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม 2567]; 3:76-87. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index-php/jnat-nedarticle/view/215781

สุรางค์ ช่างเหล็ก. ผลของการพัฒนาความรู้และทักษะพยาบาลวิชาชีพในการประเมินผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด งานการพยาบาลผู้ป่วยในโรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วารสารการพยาบาล สุขภาพและการศึกษา [ออนไลน์]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2567]; 4:3-14. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/250890

รุ่งทิพย์ เจริญศรี, รุ่งรัตน์ สายทอง, จรูญศรี มีหนองหว้า, วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในหอผู้ป่วยอายุรกรรม. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล [ออนไลน์]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม 2567]; 29:56-74. เข้าถึงได้จาก: https://he02tci-thaijo.org/Indexphp/lolbenm/article/view.259954

พิชชานันท์ สงวนสุข, ศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพขร. The Southern College Network Jouimal of Nursing and Public Health [ออนไลน์]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 30 กรกฎาคม 2567]; 9:122-135. เข้าถึงได้จาก: https://wwww.tcithaijo.org/index.php/scnet/index

เอื้อง แก้ววิไล, นิศาชล นุ่มมีชัย, สมหมาย คชนาม. ผลของการใช้โปรแกรมการจัดการทางการพยาบาลแบบเร่งด่วนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลชลบุรี. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร [ออนไลน์]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 30 มีนาคม 2567]; 28:57-72. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/artcle/view/256922

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-08

How to Cite

1.
ดอกยอ ส. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้และพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลบ่อพลอย. Acad Nursing J Chakriraj [อินเทอร์เน็ต]. 8 พฤศจิกายน 2024 [อ้างถึง 24 มกราคม 2025];4(2):E001920. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/article/view/1920