ผลของการใช้กระบวนการกลุ่มต่อพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ตำบลแควอ้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
กระบวนการกลุ่ม, โรคความดันโลหิตสูง, ผู้ดูแลผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ก่อนและหลังการใช้กระบวนการกลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นผู้ดูแลหลักที่ให้การช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง และมีภูมิลำเนาอยู่ในตำบลแควอ้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ในช่วงเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2567 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมกระบวนการกลุ่ม 2) สื่อความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง 3) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และ 4) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.00 ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงก่อนใช้กระบวนการกลุ่มอยู่ในระดับปานกลาง ( = 1.37, SD = 0.45) หลังใช้กระบวนการกลุ่มอยู่ในระดับมาก ( = 1.72, SD = 0.22) ทั้งสองกลุ่มแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
Downloads
References
World Health Organization. Hypertension [online]. 2021 [cited 2022 Aug 22]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hypertension
วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิค แอนด์ ดีไซน์; 2564.
กรมอนามัย. รายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุ ปี 2565. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.; 2565.
นวพร ทุมแถว, วรพจน์ พรหมสัตยพรต, ผดุงศิษฎ์ ชำนาญบริรักษ์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านขอนแป้น ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2564;7(3):32-44.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม. จำนวนผู้สูงอายุ 3 ปีย้อนหลัง. สมุทรสงคราม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
พวงชมนาถ จริยะจินดา, วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา. ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ยุค 4.0. วารสารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มนุษย์ศาสตร์ปริทรรศน์ 2561;4(2):28-38.
Oliveros E, Patel H, Kyung S, Fugar S, Goldberg A, & Madan N. Hypertension in older adults: Assessment, management, and challenges. Clinical cardiology 2020;43(2):99-107.
ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, อลิสรา อยู่เลิศลบ, สราญรัตน์ ลัทธิ. ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลกปี 2562. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กลุ่มภารกิจด้านวิเคราะห์และประมวลข่าวสาร สำนักสารนิเทศ [ออนไลน์]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 17 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/index.php?url=pr/detail/2/07/127178/
อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, สุธิดา แก้วทา. รายงานสถานการณ์โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง. นนทบุรี: กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
Lewin K. Field Theory of Social Science: Selected Theoretical Papers. (Edited by Dorwin Cartwright.) New York: Harper & Brothers; 1951.
วีระพงศ์ กิตติวโรดม. ผลการใช้กระบวนการกลุ่มต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวนป่าน จังหวัดนครปฐม. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2558;38(1):103-114.
Trotzer JP. The Counselor and the Group : Integrating Theory. California: Brooks/Cole Publishing; 2013.
Shahraki. RA, Kamrani. AA, Sahaf. R, Momtaz YA. Effects of nationwide program for prevention and control of diabetes initiated by the ministry of health on elderly diabetic patients' knowledge, attitude and practice in Isfaha. Iranian Journal of Ageing 2019;14(1):84-94.
รายงานสถิติ. จำนวนผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลอัมพวา ปี 2566. โรงพยาบาลอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม [เอกสารไม่ตีพิพมพ์]; 2566.
Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers; 1988.
Best JW. Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc; 1977.
Polit DF, & Beck CT. The content validity index: Are you sure you know what’s being reported? Critique and recommendations [Electronic version]. Research in Nursing & Health 2006;29:489-497.
อมรศักดิ์ ศรีวิลาศ. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี; 2565.
รัตน์สุดา จิตระวัง. การพัฒนาแนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูงโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ตำบลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์. วารวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2567;5(1):44-52.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช เล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยฯ และคณาจารย์ท่านอื่นในวิทยาลัย ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่อง เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว