ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรู้และความสามารถในการประเมินอาการ โรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
โปรแกรมเสริมสร้างความรู้, โรคหลอดเลือดสมอง, ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้โรคหลอดเลือดสมอง และความสามารถในการประเมินอาการโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ตำบลแควอ้อม และตำบลอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) โปรแกรมการเสริมสร้างความรู้ และความสามารถในการประเมินอาการโรคหลอดเลือดสมอง 2) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบทดสอบความรู้โรคหลอดเลือดสมอง และ 4) แบบประเมินความสามารถในการประเมินอาการโรคหลอดเลือดสมอง ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.00 ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Wilcoxon Signed Ranks test
ผลการวิจัย พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้โรคหลอดเลือดสมองก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ฯ และหลังเข้าร่วมโปรแกรม ฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการประเมินอาการของโรคหลอดเลือดสมองก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ฯ และหลังเข้าร่วมโปรแกรม ฯ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)
Downloads
References
กรรณิการ์ รักษ์พงษ์สิริ. ศึกษาประสิทธิผลในการให้ยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA) ในผู้ป่วย Stroke Fast track เปรียบเทียบระหว่างระยะเวลาให้ยา Door to needle time ใน 30 นาที และ มากกว่า 30 นาที แต่ไม่เกิน 60 นาที ในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครพนม [ออนไลน์]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://nkphospitaljournal.wordpress.com/2022/02/25
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คลังสื่อเผยแพร่: โรคหลอดเลือดสมอง [ออนไลน์]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ddc.moph.go.th/dncd/publishinfodetail.php?publish=15235&deptcode=dncd
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2563 [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/11/Hstatistics2563.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2567 [ออนไลน์]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/survey_detail/2025/20241209145003_27188.pdf
World Health Organization. Hypertension [online]. 2021 [cited 2023 Feb 15]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hypertension
พิชชานันท์ สงวนสุข. ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2565;9(2):122-135.
รายงานสถิติ. จำนวนผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลอัมพวา ปี 2566. โรงพยาบาลอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม [เอกสารไม่ตีพิมพ์]; 2566.
Kolb DA. Experiential learning: experience as the source of learning and development. Prentice Hall; 1984.
นิดา มีทิพย์, เดชา ทำดี, ประพิมพ์ พุทธิรักษ์กุล. ผลของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้และการปฏิบัติการคัดกรองและให้คำแนะนำโรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. พยาบาลสาร 2559;43 (พิเศษ):104-115.
ฐาวรัตน์ ภู่ทัศนะ. ผลของการพัฒนาทักษะการประเมินอาการโรคหลอดเลือดสมองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อการเข้าถึงระบบบริการ Stroke fast track ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2567;9(1):690-698.
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. การตรวจทางระบบประสาท [ออนไลน์]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ns.mahidol.ac.th/english/th/departments/MN/th/km_Nervous_system1.html
สายสุนี เจริญศิลป์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ [วิทยานิพนธ์]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.
ดวงธิดา โสดาพรม. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง เขตเทศบาลเมืองอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2563.
Bloom BS. Mastery learning. UCLA – CSEIP Evaluation Comment. 1968;1(2). Los Angeles: University of California at Los Angeles.
Pickham D, Valdez A, Demeestere J, Lemmens R, Diaz L, Hopper S, Lansberg MG. Prognostic value of BEFAST vs. FAST to identify stroke in a prehospital setting. Prehosp Emerg Care 2019;23(2):195-200.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). โรคหลอดเลือดสมอง STROKE [ออนไลน์]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.พ. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.youtube.com/watch?v=VhjnqAalZFk
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์. ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.พ. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.youtube.com/watch?v=jqvuqhKyBKE
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. โรคหลอดเลือดสมองและสัญญาณเตือน [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.พ. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.youtube.com/watch?v=7hSSRxdslNI
อังคาร ปลัดบาง, สุขวรรณ ชุติวัตรพงศธร. ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการประเมินอาการโรคหลอดเลือดสมองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อการเข้าถึงระบบบริการ Stroke fast track ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง [ออนไลน์]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 3 ก.พ. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://nkhospital.moph.go.th/doc/journal/31.pdf
พัชรินทร์ ชมเมืองมิ่ง. ประสิทธิผลของการใช้ Warning Signs Card ต่อความรู้สัญญาณเตือน และแนวทางปฏิบัติในการจัดการเมื่อเกิดอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและสมองขาดเลือดแบบเฉียบพลันของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ตำบลบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2564;1(1):23-33.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช เล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยฯ และคณาจารย์ท่านอื่นในวิทยาลัย ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่อง เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว