ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนใหญ่

ผู้แต่ง

  • ภัทราวดี ใหม่นุ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนใหญ่ จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการจัดการตนเอง, พฤติกรรมการจัดการตนเอง, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

        การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้สมรรถนะ แห่งตน พฤติกรรมการจัดการตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหารและระดับน้ำตาลสะสมเกาะเม็ดเลือดแดงในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนใหญ่ กลุ่มละ 20 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1. โปรแกรมการจัดการตนเอง ประกอบด้วย การอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเยี่ยมบ้าน การดูแลตนเองที่บ้านตามคู่มือการจัดการตนเอง และการประเมินผล 2. แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน 3. แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง ผ่านผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาระหว่าง .92- 1.00 ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟ่า เท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที
        ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรม ฯ มีคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตน (t = -2.091) พฤติกรรมการจัดการตนเอง (t = -6.496) และระดับน้ำตาลสะสมเกาะเม็ดเลือดแดง (t = 2.600) สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหาร (t = 0.786) พบว่ากลุ่มทดลองมีความแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่ม พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตน (t = -7.383, p < .05) พฤติกรรมการจัดการตนเอง (t = -8.359, p < .05) ระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหาร (t = 2.985, p < .05) ระดับน้ำตาลสะสมเกาะเม็ดเลือดแดง (t = 3.698, p < .05) ลดลงกว่ากลุ่มควบคุมและลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Downloads

Download data is not yet available.

References

World Health Organization. World Health Day 2016: WHO calls for global action to halt rise in and improve care for people with diabetes [online]. 2016 [cited 2022 Oct 20]. Available from: https://www.who.int/news/item/06-04-2016-world-health-day-2016-who-calls-for-global-action-to-halt-rise-in-and-improve-care-for-people-with-diabetes.

อภิศรี แก้ววิบูลย์. ภาวะแทรกซ้อนที่มากับโรคเบาหวาน [ออนไลน์]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 20พฤศจิกายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.paolohospital.com/th-th/kaset/Article/Details/ภาวะแทรกซ้อนที่มากับโรคเบาหวาน

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2566.

Kanfer FH, Gaelick L. Self-management methods. In: Kanfer FH, Goldstein AP, (editors). Helping people change (283-238). New York: Pergamon Press; 1988.

พรพิมล นาคะ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองความดันโลหิตและอัตราการกรองของไตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิและสาธารณสุข 2567;2(2):156-166.

จันทร์เพ็ญ สืบบุก. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลใน เลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. วารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช 2567;4(1):1-14.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี. กลุ่มรายงานมาตรฐานข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ NCD ข้อมูลระดับจังหวัด: ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับการรักษาต่อเนื่อง [ออนไลน์]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 1 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?Cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนใหญ่. ทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนใหญ่ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563-2566. ราชบุรี: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนใหญ่; 2566.

Faul F, Erdfelder E, Lang A-G, Buchner A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods 39:175-191.

ศิริวรรณ พายพัตร. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนกับพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. [วิทยานิพนธ์]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต; 2564.

Likert R. The human organization: Its management and value. New York: McGraw- Hill; 1967.

Bloom BS. Human characterstics and school learning. New York: McGraw-Hill; 1976.

ราเชน ประสพศิลป์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองและครอบครัวต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางใหญ่ ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2567;9(3):70-81.

มะลิวัลย์ แซ่ไหล. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ โรงพยาบาลสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารโรงพยาบาลพหลพลหยุหเสนา 2567;12(2):28-42.

รัติยา รักดี. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2567;9(2):206-214.

ภิญญดา ตั้งตรงมิตร, สุทัสสี ธารประเสริฐ, เรืองอุไร แสนสุข. ประสิทธิผลการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหมืองบ่า ตำบลคำอาฮวน มุกดาหาร [ออนไลน์]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 1 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://mukhos.moph.go.th/research/29

กรกฎา จันทร์สม. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที 2 อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2567;5(2):50-62.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25