ผลของโปรแกรมส่งเสริมการสร้างโคลอสตรัม ต่อการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด ที่ทารก เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ลัดดา ผูกน้อย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมการสร้างโคลอสตรัม, โคลอสตรัม, การไหลของน้ำนม, มารดาหลังคลอด, ทารกเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วย

บทคัดย่อ

        การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับการไหล ระยะเวลาและปริมาณโคลอสตรัมที่ทารกได้รับ ครั้งแรก ระหว่างมารดาหลังคลอดกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการสร้างโคลอสตรัมต่อการไหลของน้ำนมในมารดา หลังคลอด กับมารดาหลังคลอดกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดที่ทารกเข้ารับการรักษา ในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วย ตั้งแต่เดือนเมษายน - กรกฎาคม 2567 แบ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม ฯ 40 ราย และกลุ่มที่ได้โปรแกรมส่งเสริมการสร้างโคลอสตรัม 40 ราย เครื่องมือวิจัย 1) โปรแกรม ประกอบด้วย 1.1) การให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญและประโยขน์ของโคลอสตรัมที่มีต่อทารกแก่มารดาหลังคลอด 1.2) การฝึกทักษะการนวดเต้านมตนเอง 1.3) การฝึกทักษะผ่อนคลายจิตใจด้วยการฟังดนตรีบรรเลงเสียงธรรมชาติ 1.4) การฝึกบีบน้ำนมและการเก็บน้ำนม 2) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางสูติกรรม ผ่านผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (IOC) ระหว่าง .67-1.00 ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟ่า เท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคว์สแควและสถิติทดสอบที
        ผลการวิจัย พบว่า มารดากลุ่มที่ได้โปรแกรม ฯ มีระดับการไหลของคลอสตรัมอยู่ในระดับไหลเป็นหยด (ร้อยละ 65.00) และปริมาณโคลอสตรัมที่ทารกได้รับครั้งแรก (t = 2.527) แตกต่างกับกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนระยะเวลาที่ทารกได้รับโคลอสตรัมครั้งแรก (t = -.530) พบว่ากลุ่มที่ได้โปรแกรม ฯ มีความแตกต่างกับกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม ฯ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05)

Downloads

Download data is not yet available.

References

Lawrence RA, Lawrence RM. Breastfeeding: A guide for the medical profession (8th ed.). United States of America: Elsevier. Format; 2016.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นมแม่วัคซีนหยดแรกเพื่อลูกรัก [ออนไลน์]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 18 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/?p=234661

กฤษฎาภรณ์ ลบบำรุง, ทิพย์วัลย์ ดารามาศ, จริยา วิทยะศุภร. ผลของการให้โคลอสตรุ้มทางปากต่อระดับอิมมูโนโกลบูลินเอในทารกเกิดก่อนกำหนด. โรงพยาบาลรามาธิบดีพยาบาลสาร 2562;25(1):16-28.

Zhang Y, Ji F, Hu X, Cao Y, Latour JM. Oropharyngeal colostrum administration in very low birth weight infants: A randomized controlled trial. Pediatric Critical Care Medicine: A Journal of the Society of Critical Care Medicine and the World Federation of Pediatric Intensive and Critical Care Societies 2017;18(9):869–875.

World Heath Organization (WHO). Global breastfeeding scorecard 2023: rates of breastfeeding increase around the world through improve protection and support [online]. 2023 [cited 2023 Jan 15]. Available from: https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/375796/WHO-HEP-NFS-23.17-eng.pdf?sequence=1

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2565. รายงานผลฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักสถิติแห่งชาติ; 2566.

กรมอนามัย. สื่อมัลติมีเดียกรมอนามัย “น้ำนมแม่” ประโยชน์แท้จากธรรมชาติ [ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 18 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledge/benefits-ofbreastfeeding

หน่วยงานหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วย ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. รายงานสถิติหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี 2564-2566.

Neville MC, Morton J. Physiology and endocrine changes underlying human lactogenesis II. Journal of Nutritional Science 2001;131(11):3005S-8S. doi:10.1093/jn/131.11.3005S

Lonstein JS, Maguire J, Meinlschmidt G, Neumann ID. Emotion and mood adaptations in the peripartum female: complementary contributions of gaba and oxytocin. Journal of Neuroendocrinal 2014;26(10). doi: 10.111/jne.12188

Sarkar DK, Zhang C. Beta-endorphin neuron regulates stress response and innate immunity to prevent breast cancer growth and progression. In Vitamins & Hormones 2013;(93):263-76.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. ดนตรีบำบัด พัฒนาชีวิต [ออนไลน์]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 18 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.happyhomeclinic.com/alt05-musictherapy.htm

กัญญาภัค ปลื้มใจ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการสร้างน้ำนมร่วมกับฟังดนตรีต่อการไหลของน้ำนมและระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้าของมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2565.

กนกวรรณ โคตรสังข์. ผลของโปรแกรมการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมต่อระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนม ระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้า และการรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา 2559;24:(1):13-24.

ศศิธารา น่วมภา, พรนภา ตั้งสุขสันต์, วาสนา จิติมา, กันยรักษ์ เงยเจริญ. การนวดเต้านมเพื่อส่งเสริมและแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่: การปฏิบัติพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารพยาบาลแห่งประเทศไทย 2563;38(3):4-21.

กฤษณา ปิงวงศ์, กรรณิการ์ กันธะรักษา. การนวดเต้านมเพื่อส่งเสริมการสร้างและการหลั่งน้ำนม. พยาบาลสารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2560;44(4):169-176.

นันทนา วัชรเผ่า, พนิตนาฏ โชคดี, โสภิตา ชูขวัญ, กาญจนา หล้าฤทธิ์, นิสาชล เนียมหน่อ. ประสิทธิผลของการนวดเต้านมเพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนมในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ [ออนไลน์]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ18 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://hpc2appcenter.anamai.moph.go.th/academic/web/files/2564/r2r/MA2564-002-02-0000000389-0000000308.pdf

นิตยา วงษ์แตงอ่อน. ผลของการใช้ดนตรีบำบัดต่อความเครียดในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี; 2564.

Blanaru M, Bloch B, Vadas L, Arnon Z, Ziv N, Kremer I, Haimov I. The Effects of music relaxation and muscle relaxation techniques on sleep quality and emotional measures among individuals with posttraumatic stress disorder. Mental Illness Journal 2012;4(2):1-15.

Gizzi G, Albi E. The music in the brain hemispheres. The EuroBiotech Journal 2017;1(4):259-63.

Varişoglu Y, Satilmiş IG. The effects of listening to music on breast milk production by mothers of premature newborns in the neonatal intensive care unit: a randomized controlled study. Breastfeed Medicine 2020;15(7):465-70.

เยาวเรศ กิตติธเนศวร, สุภาวดี เจียรกุล, จรณิต แก้วกังวาล, ยง ภู่วรวรรณ. ผลของการฟังเพลงต่อการหลั่งน้ำนมในช่วงทันทีหลังคลอดในมารดาที่คลอดครบกำหนด. วารสารจดหมายเหตุทางแพทย์ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ 2560;100(8):834-42.

ละเอียด ไชยวัฒน์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการบีบน้ำนมต่อความตั้งใจและพฤติกรรมการบีบเก็บน้ำนมของมารดาที่มีทารกเกิดก่อนกำหนด [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561.

ดาริน ด่านเทศ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวสําหรับหญิงตั้งครรภ์ทํางานนอกบ้านต่อเจตคติและความตั้งใจเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

Wilhelm SL, Rodehorst KT, Stepans MB, Hertzog M, Berens C. Influence of intention and self-efficacy levels on duration of breastfeeding for Midwest rural mothers. Applied Nursing Research 2008;21(3):123-130.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

How to Cite

1.
ผูกน้อย ล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการสร้างโคลอสตรัม ต่อการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด ที่ทารก เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. Acad Nursing J Chakriraj [อินเทอร์เน็ต]. 26 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 24 มกราคม 2025];4(2):E002392. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/article/view/2392