ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง โดยใช้การพยาบาลทางไกลต่อการจัดการอาการรบกวน ของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน
คำสำคัญ:
การจัดบริการพยาบาลทางไกล, การจัดการตนเอง, การจัดการอาการรบกวน, การดูแลแบบประคับประคองบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการอาการรบกวนของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง และค่าคะแนนเฉลี่ยระดับความรุนแรงของอาการรบกวน ของผู้ป่วยมะเร็ง ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองโดยใช้การพยาบาลทางไกล ของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน รับการตรวจรักษาที่คลินิกชีวารักษ์ โรงพยาบาลนครปฐม จำนวน 27 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามระดับความรุนแรงของอาการรบกวน 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการอาการรบกวน ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาระหว่าง .67 - 1.00 ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการอาการรบกวนของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่บ้านก่อนได้รับโปรแกรม ฯอยู่ในระดับปานกลาง (x ̅ = 3.42, SD = 0.66) หลังได้รับโปรแกรม ฯ อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.33, SD = 0.30) ทั้งสองกลุ่มแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) คะแนนเฉลี่ยระดับความรุนแรงของอาการรบกวนของผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่บ้านก่อน ก่อนได้รับโปรแกรม ฯ อยู่ในระดับปานกลาง (x ̅ = 4.27, SD = 1.64) หลังได้รับโปรแกรม ฯ อยู่ในระดับน้อย (x ̅ = 2.17, SD = 1.10) ทั้งสองกลุ่มแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
Downloads
References
World Health Organization. Palliative Care [Online]. 2024 [cited 2024 March 15]. Available from: https://www.who.int/news/item/01-02-2024-global-cancer-burden-growing-amidst-mounting-need-for-services
Ferlay J, Ervik M, Lam F, Laversanne M, Colombet M, Mery L, et al. Global Cancer Observatory [Online]. 2024 [cited 2024 May 20]. Available from: https://gco.iarc.who.int/today.accessed
สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคอง. กรุงเทพฯ: สื่อตะวัน; 2559.
ทัศนีย์ บุญอริยเทพ, ธภัคนันท์ อินทราวุธ. ผลของโปรแกรมการดูแลแบบประคับประคองที่บ้านต่ออาการรบกวน ผลลัพธ์การดูแลของผู้ป่วยและภาวะเครียดของผู้ดูแล. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2566;31(1):99-113.
กิตติกร นิลมานัต, กัลยา แซ่ชิต. ผลของโปรแกรมการพยาบาลจัดการรายกรณีสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายต่อความทุกข์ทรมานจากอาการและการรับรู้คุณภาพการดูแลของผู้ป่วยระยะท้าย. วารสารสภาการพยาบาล 2561;33(3):51-66.
เบญจมาศ ปรีชาคุณ, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์, ศิริกร ก้องวัฒนะกุล, แสงระวี แทนทอง, พรพิมล เลิศพานิช, ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ. ประสบการณ์อาการและการจัดการอาการของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามและญาติผู้ดูแล. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท 2562;1(1):50-66.
Grim RD, McElwain D, Hartmann R, HudakM. Evaluating causes for unplannedhospital readmission of palliative carepatients. Am J Hosp Palliat Care 2010;27(8):526-31.
อนันต์ พวงคำ, ดวงสุดา สุวรรณศรี, ธนพร แย้มศรี, มนธิดา แสงเรืองเอก, รุ่งอรุณ โทวันนัง.ผลกระทบของผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและความต้องการของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังระยะสุดท้ายที่บ้าน. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2563;35(2):303-16.
ศรีเวียง ไพโรจน์กุล. Home-Based Palliative Care: Making it Happen. ใน: ลักษมี ชาญเวชช์, ดุสิต สถาวร. (บรรณาธิการ). The dawn of palliative care in Thailand. กรุงเทพฯ: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2556. หน้า 67-76.
กองการพยาบาล. รูปแบบการพยาบาลในการสร้างเสริมการจัดการสุขภาพตนเองของกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลแบบประคับประคองและผู้ดูแล. กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์; 2564.
Ryan P, Sawin KJ. The individual and family self-management theory: Background and perspectives on context, process, and outcomes. Nurs outlook 2009;57(4):217-25.
ชดช้อย วัฒนะ. การสนับสนุนการจัดการตนเอง: กลยุทธ์ในการส่งเสริม การควบคุมโรค. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2558;26(Suppl1):117-27.
กองการพยาบาล. แนวทางการจัดระบบบริการพยาบาลทางไกลในผู้สูงอายุที่บ้านด้วยการจัดการสุขภาพตนเอง. นนทบุรี: กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข; 2567.
นันทิยา แก้ววงษา. ผลของโปรแกรมการพยาบาลประคับประคองแบบฮิวแมนนิจูดต่อความสุขสบายของผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับการรับการรักษาแบบประคับประคอง [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2562.
พิมพ์ใจ เหลืองอ่อน, กัลยาณี นาคฤทธิ์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองโดยใช้ Tele-nursing โรงพยาบาลระนอง. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 2566;6(2):e256471.
Karakuş Z, Ozer Z. The effect of a fatigue self-management program based on individual and family self-management theory in cancer patients: A single-blind randomized controlled trial. Eur J Oncol Nurs 2024;69:102483.
กรมการแพทย์. คู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและระยะท้าย (สำหรับบุคลากรทางการแพทย์). นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2563.
Best JW. Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc; 1977.
Chinda M, Jaturapatporn D, Kirshen AJ, Udomsubpayakul U. Reliability and validity of a Thai version of the edmonton symptom assessment scale (ESAS-Thai). J Pain Symptom Manage 2011;42(6):954-60. doi: 10.1016/j.jpainsymman.2011.02.020
กมนต์ภรณ์ สุวรรณทวีมีสุข, กิิติพล นาควิโรจน์, ธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวี. ผลลัพธ์์ของการใช้้ระบบแพทย์์์ทางไกลควบคู่กับการดููแลปกติิเปรียบเทียบกับการดููแลแบบปกติิในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบแบบประคับประคอง. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว 2566;6(2):133-43.
จันจิรา วิทยาบำรุง, ปัทมา สุริต. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความรู้พฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2563;43(4):36-47.
พรพิมล เลิศพานิช, ภัทรานิษฐ์ เมธีพิสิษฐ์, วัชรินทร์ วุฒิรณฤทธิ์, ศุภรัตน์ แป้นโพธิ์กลาง, อาภาพร นามวงศ์พรหม.ความสัมพันธ์ของความรุนแรงของอาการที่พบบ่อยทางคลินิกกับความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2564;41(3):1-12.
รสสุคนธ์ เจริญสัตย์สิริ, ลัคณา สฤษดิ์ไพศาล, พรฤดี นิธิรัตน์. รูปแบบการส่งเสริมสนับสนุนครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยเด็กมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลพระปกเกล้า. ว หัวหินสุขใจไกลกังวล [ออนไลน์]. 2563 [ เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2567]; 5. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tcithaijo.org/index.php/tnaph/article/download/260651/178138/9975604
Bandura A. Social foundations of thought and action: a social cognitive theory. New Jersey: Prentice Hall; 1986.
แพงพรรณ ศรีบุญลือ, ปาริชาติ เพียสุพรรณ์, ณัฐชญา บัวละคร, ศรีเวียง ไพโรจน์กุล. ผลลัพธ์การการเยี่ยมบ้านผ่านระบบแพทย์ทางไกลในการดูแลผู้ป่วย แบบประคับประคองในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. ศรีนครินทร์เวชสาร 2565;37(1):76-81.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช เล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยฯ และคณาจารย์ท่านอื่นในวิทยาลัย ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่อง เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว