การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
การส่งเสริมการออกกำลังกาย, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหา 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการออกกำลังกาย 3) ศึกษาประสิทธิผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาสถานการณ์และปัญหาจากตัวแทนผู้สูงอายุ จำนวน 25 คน 2) การพัฒนารูปแบบ ฯ จากตัวแทนผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และตัวแทน อสม. จำนวน 30 คน และ 3) ศึกษาประสิทธิผลการใช้รูปแบบ ฯ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 40 คน โดยจัดกิจกรรม 4 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แนวทางสนทนากลุ่ม 2) แนวทางการพัฒนารูปแบบ ฯ 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการส่งเสริมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นของสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟา เท่ากับ .82 - .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีโรคประจำตัวและไม่มีกิจกรรมการออกกำลังกายที่ชัดเจน กิจกรรม ที่ผู้สูงอายุสนใจ คือ กิจกรรมที่มีความสนุกสนานไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ 2) รูปแบบการส่งเสริมการออกกำลังกาย ได้แก่ การให้ความรู้ การเสนอตัวแบบ การสาธิต ฝึกปฏิบัติ และการให้สิ่งชักจูง และ 3) กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีพฤติกรรมการส่งเสริมการออกกำลังกายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < .001
Downloads
References
นิธิรัตน์ บุญตานนท์. (บรรณาธิการ). คู่มือแผนส่งเสริมสุขภาพดี (Wellness Plan). สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2565.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีด้านสาธารณสุข (พ.ศ. 2560 - 2579). ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2; 2561.
คลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center). สถิติประชากรผู้สูงอายุ จังหวัดฉะเชิงเทรา [ออนไลน์]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 26 กรกฎาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. การหกล้มในผู้สูงอายุ [ออนไลน์]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 17 มกราคม 2568]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/th/know/15/548.
Morrow et.al. Supportive care for older people with frailty in hospital: Anintegrative review 2000;255-263.
Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health Promotion in Nursing Practice. (8thed.). New Jersey: Pearson Education, Inc.; 2019.
Lincoln YS, Guba EG. Qualitative research guidelines project [online]. 1985. [cited 2022 May 11]. Available from: http://www.qualres.org/HomeTria-3692.html.
มยุรี ถนอมสุข, ศุภวรรณ วงศ์สร้างทรัพย์, สมบุญ ศิลป์รุ่งธรรม, สุมิตร สุวรรณ, สุพรทิพย์ พูพะเนียด. การสร้างต้นแบบการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุอำเภอกำแพงแสน [ออนไลน์]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 26 กรกฎาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.edu.kps.ku.ac.th/DBresearch/document/DB_RESEARCH/Research48.pdf
Bloom BS. Human characteristics and school learning. New York : Mc Graw-Hill Book; 1976.
Best JW. Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc; 1986.
กาญจนา ปัญญาธร. พฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลและความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการดูแลที่ได้รับ: กรณีศึกษาบ้านหนองตะไก้ จ.อุดรธานี. เอกสารการประชุมใหญ่การนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติเรื่องสหวิทยาการ: ความหลากหลายทางวัฒนธรรมสู่ประชาคมอาเซียน; 2557.
สุรศักดิ์ อธิคมานนท์. การประยุกต์แบบจำลองพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561.
สุปราณี หมื่นยา. ประสิทธิผลของการสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2560;25(1):74–81.
ศราวัลย์ อิ่มอุดม. การประยุกต์รูปแบบพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ถูกต้องในผู้สูงอายุชุมชนบ้านสำราญ ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2560.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช เล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยฯ และคณาจารย์ท่านอื่นในวิทยาลัย ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่อง เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว