ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และทัศนคติเรื่องเพศของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด อายุต่ำกว่า 20 ปี
คำสำคัญ:
ความรู้และทัศนคติเรื่องเพศ, มารดาวัยรุ่นหลังคลอดอายุต่ำกว่า 20 ปีบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และทัศนคติเรื่องเพศของมารดาวัยรุ่นหลังคลอดอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่คลอดระหว่าง วันที่ 1 ตุลาคม 2562 – 30 มีนาคม 2563 ในจังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จำนวน 92 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ chi-square test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 17-19 ปี ร้อยละ 80.40 รองลงมา อายุ 14 -16 ปี ร้อยละ 19.60 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 85.90 อาศัยอยู่กับสามีและบิดามารดา ร้อยละ 59.80 การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 23.90 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 50 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 41.30 มีรายได้ 5,000-10,000 บาท ร้อยละ 35.80 รายได้ของครอบครัวเพียงพอแต่ไม่เหลือเก็บ ร้อยละ 63.10 รายจ่ายในการเลี้ยงดูบุตรมาจาก บิดา มารดาและญาติ ร้อยละ 38.10 การวางแผนเลี้ยงดูบุตรด้วยตนเองกับสามี ร้อยละ 65.20 ส่วนใหญ่มีเพศสัมพันธ์ ครั้งแรกอายุ 17-19 ปี เป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก ร้อยละ 91.30 ก่อนการตั้งครรภ์ไม่ได้คุมกำเนิดป้องกัน ร้อยละ 68.50 ฝากครรภ์ ร้อยละ 100 ในระยะหลังคลอด คุมกำเนิด ร้อยละ 97.80 ฉีดยาคุมกำเนิด ร้อยละ 48.90 ความรู้เรื่องเพศศึกษา ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 77.20 ทัศนคติเรื่องเพศ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 60.90 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และทัศนคติเรื่องเพศ พบว่า อายุมีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องเพศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.000) และพบว่า อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับทัศนคติเรื่องเพศของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด
Downloads
References
กรมอนามัย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. สถิติการคลอดของแม่วัยรุ่นประเทศไทย พ.ศ. 2562 Statistics on Adolescent Births Thailand 2019. นนทบุรี: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรม อนามัย; 2562.
กลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. ข้อมูลสถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2561. นนทบุรี: สำนักนโยบายและ ยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข 2561. .
ปริญญา เอี่ยมสำอาง, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ และ พรนภา หอมสินธุ. ปัจจัยเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ซ้ำที่ ไม่ตั้งใจของวัยรุ่น.วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2556;8(1), 55-67.
ฤดี ปุงบางกระดี่, เอมพร รตินธร. ปัจจัยและผลกระทบจากการตั้งครรภ์ของสตรีวัยรุ่นไทย กรณีศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2557; 32(2): 23.-31.
Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill. 1971.
สุภรณ์ มีแก้ว. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่นหลังคลอดอายุต่ำกว่า 20 ปี. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล; 2561;3(2): 38-48.
จรรยา สืบนุชและ สกาวรัตน์ เทพรักษ์. การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ของหญิงอายุ ต่ำกว่า 20 ปี ในเขตสุขภาพที่5 [อินเตอร์เน็ต ] 2564: [สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2564]. สืบค้นจาก: https://hpc.go.th/rcenter
รัชนี ลักษิตานนท์ และจารุณี จตุรพรเพิ่ม.ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ซ้ำของวัยรุ่น เขตสุขภาพ ที่ 5 [อินเตอร์เน็ต ] 2563: [สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2564]. สืบค้นจาก: https://hpc.go.th/rcenter/
บังอร ศิริสกุลไพศาล และคณะ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ทักษะในการ ป้องกันตนเอง กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. Journal of Nursing Science. 2561;36(4); 78-86.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี จักรีรัช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช เล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยฯ และคณาจารย์ท่านอื่นในวิทยาลัย ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่อง เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว