ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ในพื้นที่อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • รังสรรค์ เชตประพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าช้าง

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ   ในอำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 360 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน มกราคม – กันยายน พ.ศ.2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ ในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ หาคุณภาพเครื่องมือโดยการให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ตรวจความตรงตามเนื้อหา และหาค่าความเที่ยงโดยใช้สูตร Cronbach alpha coeffcient ได้ค่าความเที่ยง .83 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานด้วย ค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product moment correlation coefficient)  ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุ มีความรู้ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 48.89  มีทัศนคติในการดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 53.61 และมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 75.83 โดย เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และการมีโรคประจำตัวไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ส่วนอายุ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในทางลบ ระดับค่อนข้างต่ำ (r = -0.227) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 รายได้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และพบว่าความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง และทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Downloads

Download data is not yet available.

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2560. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม; 2561.

วาทินี บุญชะลักษี. นโยบายและทิศทางนโยบายด้านผู้สูงอายุในอนาคต. กรุงเทพ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2545.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2558.

ไมตรี อินทุสุต. ประเด็นการประชุมบูรณาการการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาสังคม ประจำปี2559, วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 , ณ ห้องประชุม 2 กระทรวงมหาดไทยกรุงเทพมหานคร.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long Term Care) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2559.กรุงเทพ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.): 2559.

นิตยา ภาสุนันท์. มโนทัศน์ในการพยาบาลผู้สูงอายุ: หลักการพยาบาลผู้สูงอายุ; 2545.

สุทธิชัย จิตพันธ์กุล. ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุไทย:สถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติและสำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : 2542.

Fortin M, Bravo G, Hudon C, Vanasse A, Lapointe L.Prevalence of multimorbidity among adults seen infamily practice. Ann Fam Med 2005; 3 (3): 223-8.

Barnett K, Mercer SW, Norbury M, Watt G, Wyke S, Guthrie B. Epidemiology of multimorbidity andimplications for health care, research, and medicaleducation: a cross-sectional study. Lancet 2012; 380 (9836): 37-43.

นภาพร ชโยวรรณ และมาลินี วงษ์สิทธิ. สรุปผลการวิจัยโครงการวิจัยผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคมและประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สถาบันประชากรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2532.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าช้าง, สรุปผลการดำเนินงานการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long Term Care) อำเภอท่าช้าง ปีงบประมาณ 2561; 2562.

พรเพ็ญ ฟุ้งเหล็ง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผ้สูงอายุในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทัพไทย อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว. [สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยปทุมธานี; 2558.

เตือนใจ ทองคำ. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ในอำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาชุมชน] นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2549.

จุรีย์ เลาหพงษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุใน ชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลชลประทาน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษา], มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2549.

เฉลิมพล ทรัพย์อุไรรัตน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของ ผู้สูงอายุในตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 2557:7(2); 186-202.

ปัทมาวดี บุพศิริ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อำเภอท่าอุเทน จังหวัด นครพนม [การศึกษาค้นคว้าอิสระ]. จังหวัดมหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2547.

มาโนชญ์ แสงไสยาศน์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลบางสะแก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม . [วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษา]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-25