ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองด้านการออกกำลังกาย ด้วยวิธีรำวงย้อนยุคและการควบคุมอาหารต่อระดับน้ำตาลในเลือด และสมรรถภาพทางกายในกลุ่มผู้เสี่ยงสูงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ประภาส พยมพฤกษ์ โรงพยาบาลพระสมุทรเจดีย์สวาทยานนท์ จังหวัดสมุทรปราการ
  • ณัฐชนน ผุยนวล คณะพยาบาลศาสตร์ กาญจนบุรี มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • สมพร ลอยความสุข คณะพยาบาลศาสตร์ กาญจนบุรี มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

โปรแกรมการกำกับตนเอง, รำวงย้อนยุค, การควบคุมอาหาร, กลุ่มผู้เสี่ยงสูงโรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกำกับตนเองด้านการออกกำลังกายด้วยวิธีรำวงย้อนยุคและการควบคุมอาหารต่อระดับน้ำตาลในเลือดและสมรรถภาพทางกายในกลุ่มผู้เสี่ยงสูงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 29 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการกำกับตนเองด้านการออกกำลังกายด้วยวิธีรำวงย้อนยุคและการควบคุมอาหาร ระยะเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ ผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และการทดสอบสมรรถภาพทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การทดสอบที สถิติวิลคอกซัน และสถิติแมนวิทนีย์ยู

ผลการวิจัย พบว่าหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยผลต่างระดับน้ำตาลในเลือด (t = 9.15, p = .000)และสมรรถภาพทางกาย คือ เส้นรอบเอว (t = 2.36, p = .021) เปอร์เซ็นต์ไขมัน (t = 4.21, p =.000) ความดันโลหิตตัวบน (z = -2.05 p = .041) ลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ค่าเฉลี่ยผลต่างความดันโลหิตตัวล่างลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (z = -.78, p = .434)

Downloads

Download data is not yet available.

References

International Diabetes Federation [IDF]. Diabetes Atlas 10 [online]. 2021 [cited 2023 Apr 27]. Available from: https://diabetesatlas.org/data/en/world/

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การใช้บริการสาธารณสุข [ออนไลน์]. 2565 [cited 2565 Apr 21]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

วิชัย เอกพลากร และคณะ. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจสุขภาพ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562- 2563 [ออนไลน์]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 12 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hsri.or.th/media/printed-matter/detail/13443

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง. นนทบุรี: สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

อารีย์ เสนีย์. โปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15(2):129–34.

Linder S, Abu-Oma K, Geidl W, Messing S, Sarsha M, K. Reimers A, et al. Physical inactivity in healthy, obese, and diabetic adults in Germany: An analysis of related socio-demographic variables. PLOS ONE 2021;16(2):e0246634.

Hamilton MT, Healy GN, Dunstan DW, Zderic TW & Owen N. Too little exercise and too much sitting: inactivity physiology and the need for new recommendations on sedentary behavior. Curr. Cardiovasc. Risk Rep. 2008;2(4):292-98.

World Health Organization. Fact sheet diabetes [online]. 2016 [cited 2565 Apr 21]. Available from: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs312/en/.

American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes. Diabetes Care 2013;36:4-41.

Hemmingsen B, Gimenez-Perez G, Mauricio D, Roqué FM, Metzendorf MI, Richter B. Diet, physical activity or both for prevention or delay of type 2 diabetes mellitus and its associated complications in people at increased risk of developing type 2 diabetes mellitus (Review). Cochrane Database of Systematic Reviews [online]. 2017 [cited 2565 Apr 21];12. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7429262/

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ พ.ศ. 2561. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

Bandura, A. Social foundation of though and action: A social cognitive theory. Migigan: Prentice-Hall; 1986.

Spring B, Champion K, Acabchuk R, Hennessy EA. Self-regulatory behavior change techniques in interventions to promote healthy eating, physical activity, or weight loss: A metareview. Health Psychol Rev 2021;15(4):508–39.

อรวรรณ คงเพียรธรรม. ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อการออกกำลังกายด้วยห่วงฮูลาฮูป การควบคุมอาหาร และเส้นรอบเอว ของอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีภาวะอ้วนลงพุง [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

ณัฐชนน ผุยนวล. ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองด้านการออกกำลังกายด้วยวิธีรำวงย้อนยุคต่อระดับน้ำตาลในเลือด และสมรรถภาพทางกายในกลุ่มผู้เสี่ยงสูงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561.

กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยการออกกำลังกาย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556.

อรนภา ทัศนัยา, ฤกษ์ชัย แย้มวงษ์. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมที่มีต่อค่าเปอร์เซ็นต์ไขมันและมวลกล้ามเนื้อของหญิงที่มีภาวะน้ำหนักหนักเกินเกณฑ์. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2564;9(1):82-94.

ชนิดา ปโชติการ, ศัลยา คงสมบูรณ์เวช, อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์. อาหารและสุขภาพ. กรุงเทพฯ: เสริมมิตร; 2562.

สุดาสินี สุทธิฤทธิ์, ดวงกมล ปิ่นเฉลียว, ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล. ประสิทธิผลโปรแกรมกำกับตนเองร่วมกับแอพพลิเคชั่นไลน์ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีภาวะนำหนักเกินมาตรฐาน ตำบลท่าโรงช้าง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารพยาบาลตำรวจ 2561;10(2):330-37.

จตุพร เหลืองอุบล, สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์, สุไวรินทร์ ศรีชัย. ประสิทธิผลของการออกกำลังกายและการควบคุมการบริโภคคาร์โบไฮเดรตต่ำในนิสิตระดับปริญญาตรี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2562;26(1):1-8.

ปิยะพร ศิษย์กุลอนันต์, พรสวรรค์ คำทิพย์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองและการติดตามด้วยแอพพลิเคชั่น LINE ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายแกว่งแขนและระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์. วารสารสภาการพยาบาล 2563;35(2):52-69.

สุนทรีย์ คำเพ็ง, อรธิรา บุญประดิษฐ์, อาจารีย์ พรมรัตน์, โยธิน ปอยสูงเนิน. ผลของโปรแกรมผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกายน้ำหนักตัวและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เขตชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2563;29(2):74-85.

ณัฐธยาน์ วิสารพันธ์, จิตร มงคลมะไฟ, นิบพร แสนโท, วราทิพย์ แก่นการ. ประสิทธิผลของการจัดการตนเองและครอบครัวของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในศูนย์สุขภาพชุมชนจังหวัดยโสธร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563;38(4):102-11.

อัจฉราวดี เสนีย์, สมคิด ขำทอง, วงค์ชญพจณ์ พรหมศิลา. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตต่อพฤติกรรมสุขภาพ ดัชนีมวลกาย และระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง. มหาจุฬานาครทรรศน์ 2566;10(4):55-70.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป (ฉบับปรับปรุง) [ออนไลน์]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 12 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihypertension.org/guideline.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-13