ผลของการดูดสิ่งคัดหลั่งเหนือกระเปาะยางสำหรับผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ (Supra-Cuff Suctioning ) ต่อการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วย อายุรกรรมหญิง 100 ปี โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • บุษบา เสริมสุข โรงพยาบาลพหลพยุหเสนา
  • กัญญา เลี่ยนเครือ โรงพยาบาลพหลพยุหเสนา

คำสำคัญ:

ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ, supra-cuff suctioning, แนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (WAPHO)

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ได้รับดูแลตามแนวปฏิบัติการป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจ (WHAPO) ร่วมกับการดูดสิ่งคัดหลั่งเหนือกระเปาะยางสำหรับผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ กับผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเพียงอย่างเดียว กลุ่มตัวอย่าง 60 คนเป็นผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงที่ใส่เครื่องช่วยหายใจใน 4 วันแรก ที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 100 ปี โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี  คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 30 คน ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ และกลุ่มทดลอง 30 คน ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมกับการทำ supra - cuff suctioning โดยพยาบาลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 19 คน ระหว่างเดือน พฤษภาคม  2563 - ตุลาคม 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย แบบรายงานข้อมูลอุบัติการณ์ปอดอักเสบจาการใช้เครื่องช่วยหายใจ วิธีการทำ supra-cuff suctioning ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย มีค่า IOC = .94  วิธีการทำ supra-cuff suctioning มีค่า CVI = 1.00 เก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มควบคุมในช่วงวันที่ 16 พฤษภาคม 2563 – วันที่ 15 กรกฎาคม  2563  กลุ่มทดลองในช่วงวันที่ 16 กรกฎาคม - วันที่ 31 ตุลาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการคำนวณอุบัติการณ์ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มควบคุมเกิด EVAP 6 ครั้ง คิดเป็น 13.33 ครั้ง/1,000 วันใช้เครื่องช่วยหายใจ กลุ่มทดลองเกิด EVAP 4 ครั้ง คิดเป็น 9.41 ครั้ง /1,000 วันใช้เครื่องช่วยหายใจ จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า supra - cuff suctioning ช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ

Downloads

Download data is not yet available.

References

CDC. Pneumonia (ventilator-associated [VAP] and non-ventilator-associated pneumonia [PNEU]) event. New englandjournal of medicine2018;379:1732-44.

Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Infection Control Committee. Surveillance database of Ramathibodi Hospital, 2013. Ramathibodi Hospital (Thailand): MahidolUniversity;2013.

Hariger DM. Pneumonia associated a ventilator mechanical. Pulmoa RJ2009;2:37-45

TrouilletJL,Chastre J, VuagnatA,Joly –Guillou ML, CombauxD,Dombret MC , et al. Ventilator –associated Pneumonia cuused by protential drug resistant bacteria. AmmJRespirCrit Care Med1998;157(2):531

อะเคื้อ อุณหเลขกะ. แนวทางการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล.เชียงใหม่: มิ่ง เมืองนวรัตน์;2560.

Girard, T. D., Kress, J. P., Fuchs, B. D., Thomason, J. W. W., Schweickert, W. D, & Ely, E. W. Efficacy and safety of a patient sedation and ventilator weaning protocol for mechanically ventilated patients in intensive care (awakening and breathing controlled trial) : a randomized controlled trial Lancet 2008; 371: 128-134.

Michael, K., Richard, B., Eric, C. E., Linda, R. G., Michael, D. H., Grace, L., Shelley, S.M., Lisa, L. M., Gregory, P. P., Kathleen, S., Deborah, S. Y., & Sean, M. B. Strategies to prevent ventilator associated pneumonia in acute care hospitals : 2014 update. Infection control and hospital epidemiology 2014;35(8):915-936.

เบญจมาศ ทำเจริญตระกูล และดลวิวัฒน์ แสนโสม.การดูดสิ่งคัดหลั่งเหนือกระเปาะยาง สำหรับผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ (Supra–cuff Suctioning ): นวัตกรรมเพื่อป้องกันปอดอักเสบ ที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา.2561; 24(1): 130-142.

Frost, S. A., et al. Subglottic secretion drainage for preventing ventilator associated pneumonia: A meta-analysis. Australian Critical Care 2013;26(4):180-188.

กลุ่มงานการพยาบาลด้านการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. รายงานอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล ปีงบประมาณ 2562.กาญจนบุรี; โรงพยาบาล พหลพลพยุหเสนา;2562

สุวิมล ว่องวาณิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย. แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์. กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.

เบญจมาศ ทำเจริญตระกูล และดลวิวัฒน์ แสนโสม. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการ พยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยแผนกอายุรกรรม. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2562; 25 (1): 25-40.

Jena,S. et al. Comparisonofsuctionabove cuff and standard endotracheal tubes inneurologicalpatients for theincidence of ventilator-associated pneumonia andin-hospital outcome: A randomized controlled pilot study. Indian Journal of Critical Care Medicine 2016; 20(5):264-266.

Ranjan,N.Chaudhary,U.Chaudhry,D.&Ranjan, P.K. Ventilator-associated pneumoniainatertiarycareintensivecare unit: Analysis of incidence, risk factors and mortality. Indian Journal of Critical Care Medicine2014; 18(4):200-204.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-25