ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความเสี่ยงในงานห้องผ่าตัด โรงพยาบาล ในจังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • สุจิตรา กิตติหัช โรงพยาบาลนภาลัย จังหวัดสมุทรสงคราม

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีอิทธิพล, การบริหารความเสี่ยง, ห้องผ่าตัด

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีีวัตถุุประสงค์์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความเสี่ยงของบุคลากรห้องผ่าตัดโรงพยาบาลในจังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรที่ปฏิบัติงานที่ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลในจังหวัดสมุทรสงคราม ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2566 เลือกแบบเจาะจงจำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล เจตคติต่อการบริหารความเสี่ยง การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยง และการบริหารความเสี่ยง ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง .67-1.0 โดยมีีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ .93, .91 และ .97 ตามลำดับ สถิติิที่่ใช้้ในการวิิเคราะห์์คือ ความถี่่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 90.00 อายุุ 56-60 ปี ร้อยละ 20.00 การศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 71.43 เป็นพยาบาลห้องผ่าตัด ร้อยละ 68.57 ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดนาน 6-10 ปี ร้อยละ 31.43 ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ร้อยละ 70.00 เคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง ร้อยละ 82.86 เจตคติต่อการบริหารความเสี่ยง การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยง และการบริหารความเสี่ยงของบุคลากรห้องผ่าตัด อยู่ในระดับมาก (=4.08, SD=0.43, =4.06, SD=0.53 และ =4.01, SD=0.53) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความเสี่ยงของบุคลากรห้องผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติิที่่ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านการศึกษา (= 0.137) เจตคติต่อการบริหารความเสี่ยง (= 0.335) และการบริหารความเสี่ยงแบบมีส่วนร่วม (= 0.551)

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี (ภาษาไทย) ปรับปรุง มกราคม 2558 [ออนไลน์]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 21 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.doitaohospital.com/blog_pharmacy/file/HA%20standard%2058.pdf.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยของประเทศไทย พ.ศ. 2561 [ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 30 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://bit.ly/3xX4fWK

ราชกิจจานุเบกษา: ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง มาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ระดับทุติยภูมิและระดับตติยภูมิ เล่ม 112 ตอนที่ 94 ง. [ออนไลน์]. 2548 [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/P122.PDF

ศยามล ภู่เขม่า, วรรณชนก จันทชุม. ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยกับคุณภาพบริการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศรีนครินทร์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561;36(3):51–60.

Borie F, Mathonnet M, Deleuze A, Millat B, Gravié JF, Johanet H, Lesage JP, & Gugenheim J. Risk management for surgical energy-driven devices used in the operating room. JVS 2018;155(4):259–264. https://doi.org/10.1016/j.jviscsurg.2017.12.003

Joint Commission International. International patient safety goals [online]. 2015 [cited 2023 Oct 1]. Available from: http://www.jointcommissioninternational.org/improve/international–patient–Safety–goals.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). OPEN DATA: สถิติรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง [ออนไลน์]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 30 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://data.ha.or.th/dataset/risk_nrls

Wilson J, Tingle J. Clinical risk modification: a route to clinical governance. Oxford: Butterworth-Heinemann; 1999.

Gibson JL, Ivancevich JM, Donnelly JH. Organizations: behavior, structure, processes. 10th ed. Boston: Irwin/Mc Graw–Hill; 2000.

Swansburg RC, Swansburg RJ. Introduction to management and leadership for nurse managers. 3rd ed. Sudbury: Jones & Bartlett; 2002.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพ ฯ: สุวีริยาสาส์น; 2560.

กัลยา วานิชย์บัญชา. สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2566.

ศิริลักษณ์ ฤทธิ์ไธสง. การบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาล ในบริบทของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข 2560;3(1):77-87.

จุฑารัตน์ ช่วยทวี, ณิชกานต์ ทรงไทย. ปัจจัยที่มีผลต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2560;11(3):42-51.

ภัทราพรรณ อาษานาม, สมปรารถนา ดาผา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความเสี่ยงทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศูนย์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2565;25(3):133-142.

จรัญ โดยเจริญ, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, วิริณธิ์ กิตติพิชัย. การจัดการความเสี่ยงทางคลินิกของบุคลากรการแพทย์ โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข 2565;8(3):416-425.

บุศรินทร์ จงใจสุรธรรม, ขนิษฐา นาคะ, วิภา แซ่เซี้ย. การปฏิบัติพยาบาลของพยาบาลห้องผ่าตัดที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้สูงอายุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2560;37(2):27-40.

สุภิดา สุวรรณพันธ์, มะลิวรรณ อังคณิตย์, อาริยา สอนบุญ. สมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดและปฏิบัติบริการพยาบาลที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563;38(3):51-60.

นันทัชพร เนลสัน, จุฬาภรณ์ ศักดิ์สิงห์, เอื้อมพร ชมภูมี, สุลักขณา จันทวีสุข, อรดี ตอวิวัฒน์. การพัฒนารูปแบบบริหารความเสี่ยงการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมดลูกผ่านหน้าท้อง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2563;43(3):68-78.

รจนา เล้าบัณฑิต, ปริญญาภรณ์ ธนะบุญปวง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารความเสี่ยงทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลสามร้อยยอด ประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต 2564;1(1):25–36.

เชาวรัตน์ ศรีวสุธา. ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงด้านคลินิกของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี. [วิทยานิพนธ์]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2558.

นงเยาว์ คำปัญญา, จิตภินันท์ ศรีจักรโคตร. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความเสี่ยงทาคลินิกของพยาบาลวิชาชีพงานห้องคลอดโรงพยาบาลชุมชนเขต 7 กระทรางสาธารณสุข. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562;37(3):154–163.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-29