การเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ: กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
แรงงานข้ามชาติ, การเข้าถึงบริการสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือ แรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาร์ที่ขึ้นทะเบียนหรือมาอาศัยในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน มีอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป จำนวน 305 คน คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้ค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย ดำเนินการในพื้นที่ 3 ตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ระยะเวลาในการศึกษาอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาด้วยค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อเท่ากับ 1.00 หาความเชื่อมั่นแบบสอบถามปัจจัยการเข้าถึงข้อมูล ปัจจัยการเข้าถึงการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ และการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .89, .95 และ .97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่าการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก (= 3.83, SD = 0.68) และข้อที่อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการเดินทาง (= 4.70, SD = 0.75) รองลงมาได้แก่ด้านการได้รับความรู้การดูแลสุขภาพ (= 4.59, SD = 0.83) และพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยการเข้าถึงข้อมูลของแรงงานข้ามชาติ ในด้านเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง (r = 0.491) และปัจจัยการเข้าถึงการตรวจสุขภาพและการประกันสุขภาพ ในด้านการจัดทำประกันสุขภาพให้กับเด็กช่วงอายุ > 7 ปี และด้านการซื้อประกันสุขภาพ (r = 0.393 และ 0.368 ตามลำดับ)
Downloads
References
Martin. P.Theeconomic contribution of migrant workers to Thailand:Towards policy development. Bangkok: ILO; 2007.
The World Migration Report 2015. Migrants and Cities. New Partnerships to Manage Mobility; 2015.
อัชวัฒน์ คำหวาน. ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. การเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ กรณีศึกษา อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2559;4(3): 359-374
กลุ่มปัญหาแรงงานต่างด้าว. สาระน่ารู้ไลฟ์ สไตล์. [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 15 ธันวาคม 2563].เข้าถึงได้จากจาก: http://community. jobdynamo.com.
สุกัณหา ยิ้มแย้ม. (2555). การเข้าถึงบริการสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านอนามัยเจริญพันธุ์ของแรงงานข้ามชาติสตรีไทยใหญ่. วารสารสาธารณสุข, 42 (3), 68-82.
ศราวุฒิ เหล่าสาย. การเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติชาวพม่าในโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม]. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม. การขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว. ในรายงานการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวปีงบประมาณ 2562-2563. กลุ่มงานประกันสุขภาพ; 2563.
อารีย์ เจตน์ดำรงเลิศ. การเข้าถึงบริการสาธารณสุขของแรงงานข้ามชาติในโรงพยาบาลปาย อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์].เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555.
สมถวิล วิจิตรวรรณา และคณะ. (2556). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: บริษัทเจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สํานักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิชุดา สังขฤกษ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการฝากครรภ์ของแรงงานต่างด้าว ในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดสมุทรสาคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2556
สุภาภรณ์ โคตรมณี, สงครามชัย ลีทองดี และสุทธินันท์ สระทองหน. การพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าวจังหวัดอุดรธานี. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. 2559; 23(2): 88-100
Biswas. Kristiensen. Krasnik. & Norredam. Access to healthcare and alternative health-seeking strategies among undocumented migrants in Denmark. BMC Public Health. 2011; 11: 560-560
เฉิด สารเรือน และนิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. การเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวก่อนก้าวสู่เขตพัฒนาเศรษฐกิจ และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ชายแดนไทย-เมียนมาร์ จังหวัดตาก.วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2558; 29(3): 123-136
โรงพยาบาลแม่สอด. งานสาธารณสุขชายแดน (Border Health). Paper presented at the เอกสารรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข วันที่ 16 มกราคม 2558, โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก; 2558
เฉลิมพล แจ่มจันทร์. ประชากรและการพัฒนาว่าด้วยแรงงานข้ามชาติกับการเข้าถึงบริการทางสุขภาพ. [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [ เข้าถึงเมื่อ 2 มิถุนายน 2558]. เข้าถึงได้จากจาก: http://www.popterms.mahidol.ac.th/newsletter/showarticle.php?articleid=298
ปิยภัส เดชะวงศ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขต่อนโยบายสิทธิแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนประกันสุขภาพ: กรณีศึกษา โรงพยาบาลเชียงแสน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงราย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง; 2556
พรรณรัตน์ อาภรณ์พิศาล และ เพ็ชราภรณ์ ชัชวาลชาญชนกิจ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของ แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า กรณีศึกษา กิจการ ต่อเนื่องประมง จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2558;21(2): 80-89
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช เล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยฯ และคณาจารย์ท่านอื่นในวิทยาลัย ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่อง เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว